- ปีดับคนดังPosted 5 hours ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 day ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 3 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 3 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 7 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 1 week ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
Fact กับ Truth สื่อโซเชียลและประวัติศาสตร์ / โดย เรืองยศ จันทรคีรี
คอลัมน์ : กรีดกระบี่บนสายธาร
ผู้เขียน : เรืองยศ จันทรคีรี
สัปดาห์นี้นำข้อคิดเกี่ยวกับปัญหาการแสวงหาความจริงและข้อเท็จจริง ซึ่งดูจะกลายเป็นปัญหามากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่ผ่านโลก social media
ผมยังจำคำพูดของสุภา ศิริมานนท์ ได้ดีที่กล่าวให้ข้อคิดครั้งที่ผมเริ่มจับงานสื่อสารมวลชนใหม่ๆ โดยอาจารย์สุภาบอกว่า “ในเรื่องของข้อเท็จจริงคือ truth นั้นมันมี fact อยู่ และเราต้องเข้าใจว่า fact นั้นย่อมมีทั้งจริงและไม่จริงรวมกัน เพราะเป็นข้อเท็จจริงจึงย่อมมีอยู่รวมกันทั้งเท็จทั้งจริงผสมกัน ตรงนี้คนเป็นสื่อสารมวลชนจำเป็นต้องแยกแยะให้ได้ด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง”
ในข่าวสารที่เราเห็นว่าเป็นความจริงนั้น ต้องตระหนักให้ชัดว่าใน truth ย่อมประกอบไปด้วย fact และเมื่อเป็น fact ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง ก็แสดงว่าต้องประกอบทั้งเท็จและจริง ดังนั้น ในการหา truth จึงจำเป็นต้องแยกกันให้ออกว่าอะไรคือ “เท็จ” และอะไรคือ “จริง”?
ในโลกปัจจุบันซึ่งเป็นสังคม social media ยิ่งกลายเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก เพราะในโลกโซเชียลนั้นยิ่งจำเป็นต้องแยกแยะข้อมูลที่เป็นเท็จและจริงค่อนข้างหนักหนามากทีเดียว จึงจะเห็นได้ว่ามีการรณรงค์เรื่อง “ชัวร์ก่อนแชร์” และ “เช็กก่อนแชร์”
เมื่อไม่นานที่ผ่านมามีข่าวสารหนึ่งที่เป็นสีสันไม่น้อยในโลก social media คือการตอบโต้ไปมาหรือวิวาทะจนกลายเป็นวิวาทระหว่าง “วงดนตรีคาราวาน” กับผู้ใช้นามว่า “ใบตองแก้ว” ในเฟซบุ๊ค ซึ่งอ้างตัวเป็นทายาทของอดีตนายทหารการข่าวและเคยเป็นบรรณาธิการหนังสือภายในฉบับหนึ่งของกองทัพบกคือ พันโทโกศล สาระสินธุ์ ระบุว่าคือผู้แต่งเพลง “เซิ้งอีสาน” ซึ่งเป็นหนึ่งในจำนวนเพลงดังของวงคาราวาน
ประเด็นการวิวาทะคือ ใครกันแน่ที่เป็นผู้แต่งเพลงเซิ้งอีสาน เพราะขณะที่ใบตองแก้วยืนยันว่าผู้แต่งเพลงนี้คือบิดาของเธอ แต่ถ้าถามความเห็นของผม ไม่ใช่ผมจะไปปกป้องวงคาราวานเพราะหงา คาราวาน คือเพื่อนเก่าของผม ผมคิดว่าในโลก social ที่จะหาความจริงไปถึง reality นั้น จำเป็นต้องมองไปจาก realm หรือขอบเขตหรือบริบทที่แท้จริง ประเด็นที่อยู่ในบริบทจึงเป็น fact ซึ่งมีทั้งเท็จและจริง อันนี้ผมมิได้บอกว่าใบตองแก้วกล่าวเท็จ เพราะนั่นคือ fact หนึ่งใน realm เพื่อโยงไปสู่การหา reality นี้
ผู้ที่สร้างสรรค์งานเพื่อส่วนรวมมีความจำเป็นต้องใจกว้างในการให้งานนั้นออกไปเผยแพร่สู่สังคม เพลงเซิ้งอีสานจะเผยแพร่โดยไขแสง สุกใส หรือวงคาราวาน ย่อมเท่ากับได้ตอบสนองต่อเจตนารมณ์ของผู้ผลิตผลงานออกมาแล้ว ผมจึงไม่เห็นด้วยในวิวาทะว่าเพลงเซิ้งอีสานนั้นใครคือผู้แต่ง ขั้นตอนนี้หากจะสรุปก็ต้องไปพิสูจน์ด้วยกระบวนการยุติธรรรมสถานเดียว
จะเป็นอุทัย มหาวงศ์ หรือพันโทโกศล สาระสินธุ์ เป็นผู้แต่ง ก็มีใจปรารถนาให้เพลงนี้ถูกสื่อสารถึงสังคมด้วยกันทั้งสิ้น
เมื่อพิจารณาบริบทของความจริงดังนี้ ผมจึงเห็นว่าวงคาราวานไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์อะไรทั้งสิ้น แต่บริบทที่เป็นประเด็นในฐานะของ realm น่าจะโยงไปถึงธุรกิจเอกชนที่มีรายได้และผลกำไรจากเพลงนี้ควรเป็นจำเลยหลักมากกว่า คาราวานเพียงแต่เชื่อมโยงแล้วประสานให้ผลนั้นปรากฏออกมาเป็นแบบ win win ให้ได้มากกว่า
ประการสำคัญควรเป็นหน่วยงานรัฐที่ต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ ไม่ใช่ปล่อยให้เอกชนทะเลาะและขัดแย้งกันเองจนสังคมไขว้เขว ไม่รู้ว่าอะไรดีเลวหรือผิดถูกอย่างไร?
ข้อสรุปในเรื่องของความจริงมิใช่เฉพาะเรื่องข้อมูลข่าวสารในวงการ social media ที่เป็นเช่นนี้เท่านั้น ในวงการประวัติศาสตร์เมื่อจะหาความจริงหรือพิสูจน์ข้อมูลข้อเท็จจริง ผมว่าไม่ต่างกันที่เราต้องเริ่มต้นแยก fact ของความจริงและเท็จให้ได้ ซึ่งเป็นการสะสางการหาความจริงในขั้นแรก ต่อมาก็เป็นขั้นที่สองซึ่งต้องมองบริบทหรือ realm เพื่อนำไปสู่ reality และสุดท้ายคือความจริงในขั้นที่สามคือ truth เป็นความจริงในระดับที่เรียกว่าสัจธรรม
ความขัดแย้งในโลกนี้มาจากสิ่งที่เราแยกแยะกันไม่ออก จึงฝากแง่คิดให้ไปวิวาทะต่อในความจริง 3 ระดับในวงการประวัติศาสตร์หรือข้อมูลข่าวสารก็ตาม โดยเฉพาะในสังคมสุดขั้ว bipolar แบบไทยๆ ที่คนในโลกอยากเห็นเฉพาะสิ่งที่ตัวเองอยากให้เป็นและไม่รู้จักแยกแยะหา reality อย่าไปพูดถึงการหา truth เลย
โดยเฉพาะสิ่งที่เรียกว่า arrogance หรือ spiritual sickness คือป่วยทางจิตวิญญาณจนยากเยียวยา พวกนี้จะมีอาการโอหังกำแหงเห็นว่าตนเท่านั้นที่มีความรู้เหนือกว่าทุกคน และอยากฟังแต่สิ่งที่ถูกใจตนเองเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นนักประวัติศาสตร์หรือสารพัด doctor จะทำการวิจัยในเรื่องเหล่านี้เพียงใดก็ตาม จึงอยากฝากเรื่องของความจริง 3 ระดับให้ไปพิจารณา โดยเฉพาะโลก social media ที่แบ่งแยกกันชัดเจนขณะนี้ ซึ่งพวกที่อันตรายที่สุดคงไม่ใช่เหลืองหรือแดงหรือทหาร แต่เป็นพวก arrogance หรือพวกผู้ป่วยทางจิตวิญญาณที่มีมากขึ้นทุกวันใน social media!
You must be logged in to post a comment Login