- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
น้ำหยดลงหิน
คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น
รัฐบาลทหารคสช.ที่ถูกมองว่ามีความแข็งแกร่งประดุจหินผากำลังเสียขบวน
แม้ไม่มีเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่กัดกร่อนอำนาจของรัฐบาลทหารคสช.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่กลับมีหลายเรื่องประเดประดังเหมือนดั่งน้ำหยดลงหิน หยดทุกวันหินย่อมมีผุกร่อนเป็นธรรมดา
ความผุกร่อนในอาจที่มีก่อนหน้านี้ถูกสัมทับด้วยการเปลี่ยนหมุดคณะราษฎรเป็นหมุดหน้าใส ตามติดด้วยความพยายามออกกฎหมายควบคุมสื่อ และเรื่องการจัดซื้อเรือดำน้ำ
เรื่องหมุดหน้าใสไม่มีใครยอมรับว่าเป็นคนทำ แต่หมุดนั้นก็ยังอยู่และอยู่ในสถานะที่แตะต้องไม่ได้
เรื่องกฎหมายควบคุมสื่อและเรื่องซื้อเรือดำน้ำแม้จะถูกต่อต้านหนักต่อก็ยังอยู่และเดินหน้าต่อไปโดยไม่กริ่นเกรงว่าจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ
กรณีกฎหมายคุมสื่อนั้นปฏิกิริยาจากสื่อและนักการเมือง นักวิชาการชัดเจนว่าไม่เห็นด้วย แต่คนออกกฎหมายยังยืนกระต่ายขาเดียวเดินหน้าต่อ
กรณีเรือดำน้ำขณะนี้สังคมพลิกประเด็นจากจำเป็นหรือไม่มาตรวจสอบว่าเรือดำน้ำจากจีนคุ้มค่าคุ้มราคาเหมาะสมกับภารกิจที่จะนำมาใช้หรือไม่ โดยเริ่มมีข้อสงสัยตั้งเป็นคำถามรอคำตอบจากผู้เกี่ยวข้องอยู่หลายกรณีทั้งเรื่องขนาดเรือ สมรรถนะ อุปกรณ์ส่วนควบที่ได้รับ เมื่อเทียบกับเรือดำน้ำจากประเทศอื่น
ของเดิมยังเคลียร์ไม่จบมีเรื่องใหม่ที่ต้องเคลียร์เพิ่มนิ่งไม่ได้เพราะเป็นการชี้วัดการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่ามีสถานะเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศจริงหรือไม่
กรณีนี้เกิดจาก นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อส่อต่อศาลรัฐธรรมนูญตีความคุณสมบัติรัฐมนตรีในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 9 คนว่าต้องพ้นจากตำแหน่งหรือไม่เพราะมีคุณสมบัติขัดต่อรัฐธรรมนูญใหม่ชัดเจน
หลังจากที่รัฐธรรมนูญ 2560 มีผลใช้บังคับ ในบทเฉพาะกาล มาตรา 264 วรรคสอง บัญญัติว่า หากรัฐมนตรีใดมีลักษณะต้องห้าม ต้องพ้นจากตำแหน่ง
ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 170 (5) บัญญัติว่า ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อกระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 186 หรือมาตรา 187 ซึ่งแยกได้ 2 กรณี คือ
หนึ่ง กรณีการกระทำอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 186 ซึ่งโยงไปถึงมาตรา 184 (2) ที่ระบุว่า รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
สอง กรณีการกระทำอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 187 ที่ระบุว่า รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไปตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ และต้องไม่เป็นลูกจ้างของบุคคลใด
ทั้งนี้ได้ตรวจพบรัฐมนตรี 9 คน แสดงบัญชีทรัพย์ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เข้าข่ายต้องห้ามตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2560
วันนี้ประเด็นนี้อาจยังไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่เมื่อถึงวันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาซึ่งหากเป็นไปตามแนวทางเดิมที่เคยมีคำวินิจฉัยไว้แล้วเชื่อว่าจะเกิดแรงกระเพื่อมในรัฐบาลทหารคสช.ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน
แม้จะหาคนมาทำงานแทนได้ไม่ยาก แต่ประเด็นคงไม่ได้อยู่ที่หาใครมาแทน
You must be logged in to post a comment Login