- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 1 month ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
‘โสม-ไต้หวัน’พึ่งคนต่างชาติ

เกาหลีใต้และไต้หวัน เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed country) ที่ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน รวมทั้งบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่สามารถแก้ปัญหาสำคัญนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นักวิเคราะห์แห่ง Nikkei Asian Review ของญี่ปุ่น มองว่าเกาหลีใต้และไต้หวันปรับตัวแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวได้เร็วที่สุดในเอเชีย
ทำให้การขับเคลื่อนประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการศึกษา ไม่เผชิญภาวะชะงักงัน
เกาหลีใต้แก้ปัญหาด้วยการลดขั้นตอนในการรับแรงงานด้อยฝีมือ และทำข้อตกลงจัดส่งแรงงานกับรัฐบาล 16 ประเทศ ซึ่งมีประเทศอาเซียนรวมอยู่ด้วย 5 ชาติ คือไทย เวียดนาม กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ทำให้ได้แรงงานต่างชาติเข้าไปเติมเต็มช่องว่างที่เกิดขึ้นได้เพียงพอ
ทั้งนี้ เกาหลีใต้ทำข้อตกลงรับแรงงานที่ไม่ใช่นักวิชาชีพ จากประเทศอาเซียน 5 ชาติ ทั้งหมด 260,000 คน
ส่วนใหญ่เข้าไปทำงานที่เรียกว่างาน “3-D” ซึ่งคนท้องถิ่นแดนโสมไม่นิยมทำ ประกอบด้วยงานยาก (Difficult) เสี่ยงอันตราย (Dangerous) และงานที่ต้องใช้กำลังและความพยายามสูง (Demanding)
นอกจากลดเงื่อนไขรับแรงงานแล้ว เกาหลีใต้ยัง “สมนาคุณ” แรงงานต่างด้าว ด้วยการให้สิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมทั้งค่าจ้างขั้นต่ำ เท่าเทียมกับแรงงานท้องถิ่น
อีกโครงการหนึ่งของเกาหลีใต้ คือแผนดึงนักวิชาชีพ และบุคลากรที่มีทักษะความชำนาญเฉพาะด้าน (Skilled employee) เข้าประเทศ โดยใช้มาตรการจูงใจหลายอย่าง
ซึ่งหนึ่งในมาตรการจูงใจ ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ผู้เข้าไปทำวิจัยระดับปริญญาเอก ที่อยู่ในเกาหลีใต้แล้ว 1 ปี สามารถยื่นขออยู่ในประเทศอย่างถาวรได้
แม้ปีนี้ เกาหลีใต้จะลดโควตารับแรงงานต่างชาติด้อยฝีมือลงจาก 58,000 คน ในปีที่แล้ว เหลือ 56,000 คน แต่ไม่มีแผนตัดโควตาของนักวิชาชีพ
ไต้หวันแก้ปัญหาด้วยมาตรการคล้ายกับเกาหลีใต้ แต่มีรายละเอียดแตกต่างกันเล็กน้อย ประเด็นสำคัญอยู่ที่การให้สิทธิขั้นพื้นฐานเท่าเทียมกับพลเมืองท้องถิ่น และล่าสุด ได้เพิ่มแรงจูงใจด้วยการปรับค่าแรงขึ้นอีก 7% ทำให้รายได้ขั้นต่ำ เพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 17,000 เหรียญไต้หวัน (19,400 บาท)
ปัจจุบัน มีต่างชาติทุกอาชีพทำงานอยู่ในไต้หวันประมาณ 620,000 คน คิดเป็น 2.6% ของประชากรไต้หวันทั้งหมด
นักวิเคราะห์แห่ง Nikkei Asian Review ฝากความห่วงใยไปยังรัฐบาลญี่ปุ่น หลังมองพัฒนาการของเพื่อนบ้าน 2 ประเทศ โดยเสนอให้ญี่ปุ่นเปิดกว้างในการรับบุคลากรต่างชาติมากกว่าที่เป็นอยู่
จุดประสงค์เพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไม่ตกเป็นรองประเทศเพื่อนบ้าน
You must be logged in to post a comment Login