- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 1 month ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
การจ้างงานสหรัฐยุค‘ทรัมป์’

นโยบายสำคัญอย่างหนึ่งในแผน “America First” ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ คือการสร้างตำแหน่งงานใหม่ ให้ชาวอเมริกันมีงานทำเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 25 คน ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐ
การจูงใจและขอความร่วมมือจากบริษัทท้องถิ่นให้จ้างงานชาวอเมริกัน เป็นมาตรการสำคัญของนโยบายนี้ ซึ่งคล้ายจะเป็นแนวทางที่ทำได้ไม่ยากนัก
ทรัมป์ประสบความสำเร็จเรื่องนี้เป็นกรณีแรก คือการเกลี้ยกล่อมบริษัทแอร์คอนดิชั่น Carrier ให้ระงับแผนย้ายฐานผลิตจากรัฐอินดีแอนาไปเม็กซิโก ซึ่ง Carrier ยินยอมตามข้อเสนอของทรัมป์ ช่วยให้ลูกจ้าง 1,100 คน ไม่ตกงาน
อย่างไรก็ตาม สื่อท้องถิ่นตรวจสอบข้อมูล ช่วงทรัมป์ดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐครบ 100 วันแรก นับถึงวันที่ 29 เมษายน ที่ผ่านมา พบว่าบริษัทสหรัฐยังคงย้ายตำแหน่งงาน หรือไปเปิดรับลูกจ้างในสาขาที่ต่างประเทศต่อเนื่องเหมือนเดิม
รัฐบาลสหรัฐไม่เปิดเผยสถิตินี้ สื่อที่ตรวจสอบข้อมูล จึงวิเคราะห์จากการยื่นขอเบี้ยยังชีพให้ลูกจ้างกรณีว่างงาน เนื่องจากบริษัทย้ายตำแหน่งงานไปต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดโครงการทีเอเอ (TAA) เยียวยาผู้ว่างงานในกรณีนี้
พบว่า ช่วงทรัมป์ปฏิบัติหน้าที่ผู้นำสหรัฐ 100 วันแรก มีผู้ประกอบการในสหรัฐกว่า 270 บริษัท ยื่นขอเบี้ยยังชีพจากโครงการทีเอเอให้ลูกจ้างกว่า 10,000 คน
โดยมีการย้ายฐานผลิตและตำแหน่งงานในช่วงดังกล่าวประมาณ 4,000 ตำแหน่ง ส่วนที่เหลือย้ายก่อนหน้าทรัมป์เข้าดำรงตำแหน่ง แต่เพิ่งมายื่นขอเบี้ยยังชีพ และคาดว่าจะมีการเลิกจ้าง โดยย้ายตำแหน่งงานไปต่างประเทศอีกประมาณ 2,000 ตำแหน่ง ในช่วงเดือนหรือ 2 เดือนข้างหน้า
ประเทศที่บริษัทสหรัฐโยกตำแหน่งงานไปมากสุด 5 อันดับแรก ประกอบด้วยอินเดียประมาณ 2,500 ตำแหน่ง ตามด้วยเม็กซิโก 2,000 ตำแหน่ง ฟิลิปปินส์ 1,000 ตำแหน่ง แคนาดา 700 ตำแหน่ง และจีน 600 ตำแหน่ง
สถิติดังกล่าว เป็นจำนวนไม่มากนัก แต่ถือเป็นสถานการณ์ที่บั่นทอนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับหนึ่ง ซึ่งหากความเคลื่อนไหวไม่แย่ไปกว่าที่เป็นอยู่ แน่นอว่า จะมีผลกระทบต่อการจ้างงานและเศรษฐกิจน้อย
อย่างไรก็ตาม สื่อท้องถิ่นมองว่า เป็นความเคลื่อนไหวที่อยู่ในเกณฑ์เสี่ยง และเป็นความท้าทายที่รัฐบาลควรแก้ให้คลี่คลายลง
เพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจทรงพลังขึ้น อีกทั้งยังเป็นหลักฐานยืนยันฝีมือของทรัมป์ว่า ทำได้จริงตามที่ให้คำมั่นไว้
You must be logged in to post a comment Login