- ปีดับคนดังPosted 45 mins ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 day ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 2 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 3 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 6 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 7 days ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 1 week ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
ยุคใหม่การค้าออนไลน์ / โดย ณ สันมหาพล
คอลัมน์ : โลกไม่หยุดนิ่ง
ผู้เขียน : ณ สันมหาพล
เขียนถึงการใช้สื่อหลากหลายช่องของทีมอเมริกันฟุตบอลอาชีพ เพื่อให้ผู้เข้าชมการแข่งขันได้รับความสนุกสนาน ความสะดวกสบายทุกด้าน ตั้งแต่การเดินทาง ระหว่างดูการแข่งขัน และหลังการแข่งขัน ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของการปรับเปลี่ยนทางดิจิทัลหรือ digital transformation ที่กำลังเกิดขึ้นกับทุกวงการในโลก โดยใช้สื่อหลากหลายช่อง แต่วัตถุประสงค์โดยรวมคือ ให้การดำเนินงานทุกด้านมีการเก็บข้อมูลแบบเดียวกัน ทั้งการประมวลผล การบันทึก และการเผยแพร่
ยกตัวอย่างงานสาธารณสุขที่การบริหารจัดการอาจทำได้จนถึงขั้นทุกอย่างถูกเตรียมพร้อม กรณีเกิดโรคระบาดฉับพลันจะมีการประเมินความต้องการในทุกกรณีไว้ก่อน แต่การใช้สื่อหลากหลายช่องทางยังไม่แพร่หลาย เพราะมีปัญหาเรื่องความรู้ งบประมาณ และบุคลากร จึงมักใช้กับเรื่องไม่ใหญ่ ที่นิยมมากคือ การแจกของสมนาคุณลูกค้า ไม่ใช่เพื่อแสดงความขอบคุณอย่างเดียว แต่ทำให้ทราบชื่อและนำไปเก็บในฐานข้อมูลเพื่อให้เป็นลูกค้าประจำ
ขณะที่การใช้กับเรื่องใหญ่ที่กำลังเป็นข่าวคือ การต่อยอดกิจการออนไลน์ที่มีเสียงเรียกร้องให้เปิดร้านที่ลูกค้าสัมผัสได้ เพราะที่ผ่านมามีแค่การค้นหาสินค้า สั่งซื้อ และจัดส่งสินค้า ต้องเพิ่มการบริหารร้านและดูแลลูกค้าให้มากขึ้น ซึ่งสามารถพบกันครึ่งทาง นั่นคือเปิดร้านให้ลูกค้าได้สัมผัส แต่เป็นร้านขนาดเล็กมาก ไม่ว่าจะอยู่ตามอาคารหรือตามมุมร้านค้าขนาดใหญ่ แต่วัตถุประสงค์เหมือนกันคือ ให้ลูกค้าได้สัมผัสสินค้าและทดลองใช้ ถ้าสนใจก็ซื้อผ่านแอพฯ เช่น 3 กิจการเป็นตัวอย่างคือ
Bonobos ผู้จำหน่ายเสื้อผ้าผู้ชายออนไลน์ เปิดมา 10 ปีแล้วและประสบความสำเร็จ จน 5 ปีที่แล้วต้องเปิดร้านจริงตามคำเรียกร้องของผู้ที่อยากเห็นของจริงและลองสวมก่อน จึงมีการระดมความคิดว่าจะให้ร้านมีลักษณะอย่างไร ผลที่ออกมาคือ เป็นตู้โชว์มากกว่าสถานที่จำหน่าย โดยตั้งชื่อว่า Guideshop หรือมัคคุเทศก์นำท่องอาณาจักร Bonobos ซึ่งผู้สนใจสามารถสัมผัสและทดลองสวมเสื้อผ้าตัวอย่างที่นำไปแขวนโชว์ได้ ถ้าพอใจก็สั่งซื้อผ่านแอพฯแล้วรอรับของที่บ้าน
กิจการที่สองคือ Rebecca Minkoff สำนักออกแบบเสื้อผ้าสตรีของนักออกแบบชาวนิวยอร์ก ซึ่งเมื่อ 2 ปีที่แล้วได้เปิดร้าน Shop of the Future ร้านแห่งอนาคต ขนาด 186 ตารางเมตร ภายในมีจอสัมผัสแสดงเสื้อผ้าทั้งหมดที่มีจำหน่าย ปรกติเป็นกระจกเงาให้ผู้เข้าร้านสำรวจใบหน้าและเสื้อผ้าที่กำลังสวม เมื่อสัมผัสจอจะกลายเป็นตู้โชว์เพื่อให้ลูกค้าเลือกเสื้อผ้าและดึงออกมาดู ถ้าสนใจลองก็จะพาไปห้องลองเสื้อเสมือนจริง
ระหว่างเข้าชมในร้านยังสามารถสั่งเครื่องดื่มได้โดยไม่คิดค่าเครื่องดื่ม แต่มีข้อแม้คือ ต้องแจ้งหมายเลขโทรศัพท์พกพา เพื่อให้พนักงานขายติดต่อระหว่างอยู่ในร้านเพื่อสอบถามความต้องการและเสนอขายสินค้า ถ้าลูกค้าสนใจซื้อจะนำไปยังห้องลองเสื้อที่เป็นห้องจริง ภายในห้องจะไม่มีกล้องบันทึกภาพเพื่อไม่ให้เป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัว แต่มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่นๆที่สามารถเก็บข้อมูลทุกด้านเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่อไป
ขณะที่ทางสำนักงานก็จะรู้ว่าคนที่กำลังจะเป็นลูกค้ามีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ชอบเสื้อผ้าแบบไหน สีอะไร ซึ่งมีหมายเลขโทรศัพท์ที่จะติดต่อกลับได้ หากมีสินค้าที่คิดว่าลูกค้าจะสนใจหรือถูกใจ พนักงานก็จะโทรแจ้งให้ทราบ
กิจการสุดท้ายคือ Sephora ร้านขายเครื่องสำอางสัญชาติฝรั่งเศส รูปแบบต่างจาก 2 กิจการก่อนหน้านี้ นอกจากใช้สื่อออนไลน์หลากหลายช่องแล้ว ยังมีการลงทุนเป็นเรื่องเป็นราว รวมทั้งกำหนดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายชัดเจนว่าต้องเป็นสุภาพสตรีที่มีธุระยุ่ง แต่ละวันไม่มีเวลาออกไปซื้อของ
เห็นโจทย์แบบนี้คงเดาออกว่ากิจการนี้จะออกแบบการขายอย่างไร คือการขายเริ่มที่เคาน์เตอร์เครื่องสำอางออนไลน์ ซึ่งมีเครื่องสำอางทุกชนิดให้เลือกซื้อ โดยผู้สนใจสามารถทดลองใช้ทางออนไลน์ได้เช่นกัน อย่างการทดลองแต่งหน้า รับรองว่าผลที่ออกมาเห็นแล้วจะต้องทึ่ง เพราะคนที่คอยดูแลเป็นผู้เชี่ยวชาญการแต่งหน้าระดับศิลปิน แต่ไม่ใช่คนจริงๆ เป็นเพียงคนเสมือนจริงที่มีความสามารถไม่ต่างกัน
การเปิดร้านกิจการออนไลน์แบบนี้กำลังเป็นเทรนด์ใหม่ที่มาแรง เพราะมีตัวเลขยืนยันผู้เข้าร้านจริง หลังเลือกสินค้าแล้วจะซื้อมากกว่าเปลี่ยนใจ คือ 6 ใน 10 คนจะซื้อ ซึ่งในอดีตการขายผ่านทางออนไลน์จะมีสัดส่วน 3 ใน 10 คนที่ซื้อ
You must be logged in to post a comment Login