- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
เงื่อนไขการถอดถอน‘ทรัมป์’

สัปดาห์ที่ผ่านมา มี “พายุการเมือง” ค่อนข้างแรงเกิดขึ้นในสหรัฐ ทำให้นักลงทุนตื่นตระหนกแห่เทขายหุ้น ฉุดดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลงต่ำสุดในรอบ 8 เดือน
“พายุ” ดังกล่าว เกิดจากกระแสหวั่นกันว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ อาจถูกยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่ง กรณีถูกกล่าวหาว่าขัดขวางกระบวนการยุติธรรม จากการปลดเจมส์ โคมีย์ ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ (เอฟบีไอ)
โคมีย์เปิดเผยต่อสื่อสหรัฐในเวลาต่อมาว่า สาเหตุที่ถูกปลดเนื่องจากปฏิเสธข้อเสนอของทรัมป์ ที่ขอให้ยุติการสอบสวนไมเคิล ฟลินน์ อดีตที่ปรึกษาสภาความมั่นคง ที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่าแอบไปขอแรงรัสเซียให้ช่วยแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ช่วยให้ทรัมป์ชนะเลือกตั้ง
กระทรวงยุติธรรมไม่นิ่งเฉยต่อปฏิบัติการของทรัมป์ โดย “สวน” ด้วยการแต่งตั้งโรเบิร์ต มูลเลอร์ อดีตผู้อำนวยการเอฟบีไอ เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายเฉพาะกิจ รับหน้าที่ดำเนินการสอบสวนข้อสงสัยแทนโคมีย์
ที่นักลงทุนตลาดหุ้นและตลาดการเงินผวา เนื่องจากไม่มั่นใจสถานภาพของทรัมป์ ซึ่งส่วนหนึ่งมองว่าทรัมป์น่าจะผิดจริง
บวกกับชื่อเสียงของมูลเลอร์ ที่รับทำงานเพื่อสร้างความกระจ่างในเรื่องนี้ เป็นเจ้าหน้าที่สอบสวนฝีมือดี ได้รับความเชื่อถือในวงกว้าง และทำหน้าที่สอบสวนเรื่องนี้เป็นอิสระโดยผู้นำสหรัฐไม่มีอำนาจสั่งการได้
อีกหนึ่งความเคลื่อนไหว ที่ทำให้กระแสเรื่องนี้ร้อนแรงเพิ่มขึ้น ได้แก่ กรณีนายอัล กรีน ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน เดโมแครต จากรัฐเทกซัส เสนอในที่ประชุมสภาฯ เรียกร้องให้ยื่นอภิปรายถอดถอนทรัมป์ โดยเป็น ส.ส.คนแรก ที่เสนอเรื่องนี้ในที่ประชุมสภาฯ
ด้านนักวิเคราะห์ และแกนนำส.ส.ฝ่ายค้านส่วนหนึ่ง มองว่าสถานการณ์ยังไม่สุกงอมพอที่จะยื่นถอดถอนทรัมป์ได้
เนื่องจากยังขาดองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่าง คือหลักฐานการสอบสวนข้อสงสัย คะแนนเสียงสนับสนุนจาก ส.ส.พรรครัฐบาล คือรีพับลีกัน ที่ครองเสียงข้างมากในสภาฯ และคะแนนเสียงจากสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ซึ่งต้องโหวตเห็นชอบจำนวน 2 ใน 3 ร่างถอดถอนจึงจะผ่านสภาคองเกรส และมีผลบังคับใช้
ดังนั้น การเดินแผนถอดถอนจริง จึงน่าจะเริ่มหลังทราบผลการสอบสวนของมูลเลอร์ ซึ่งต้องใช้เวลาทำงานพักใหญ่
หากผลการสอบสวนพบว่า รัสเซียไม่ได้แทรกแซงการเลือกตั้งตามที่ถูกกล่าวหา เรื่องนี้เป็นอันจบไป
ในทางตรงกันข้าม หากผลการสอบสวนชี้ชัดว่า รัสเซียดำเนินการจริง
ความผิดจะโยงถึงทรัมป์ กลายเป็นชนวนขับอุณหภูมิการเมืองของสหรัฐให้ร้อนระอุขึ้นอีกครั้ง
You must be logged in to post a comment Login