- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
เศรษฐกิจพม่ากลับสู่ขาขึ้น

ด้วยพม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้าน มีความใกล้ชิดกับไทย ความเคลื่อนไหวสำคัญที่เกิดขึ้นในพม่า จึงเป็นประเด็นที่ชวนติดตาม
เรื่องของ “ปากท้อง” ที่เกี่ยวโยงกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจ เป็นความเคลื่อนไหวหนึ่งในพม่าที่มีแง่มุมน่าสนใจ
โดยเฉพาะการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ที่มองว่า เศรษฐกิจของพม่าปีนี้กลับสู่ช่วงขาขึ้น มีแนวโน้ม “เด้งแรง” แซงหน้าประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนทั้งหมด
ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นปีแรกที่รัฐบาลพลเรือน นำโดยนางอองซาน ซูจี (เป็นผู้นำตัวจริงในภาคปฏิบัติด้านประสานงานกับนานาชาติ) เข้าบริหารประเทศแทนรัฐบาลทหาร เศรษฐกิจของพม่าค่อนข้างซบเซา จีดีพี (GDP : Gross Domestic Product) ขยายตัวเพียง 6.4% ลดลงจากปีก่อน 0.9%
นอกจากนั้น ยอดการลงทุนตรงจากผู้ประกอบการต่างชาติ (Foreign Direct Investment : FDI) ก็ซบเซาเช่นกัน รวมมูลค่า 6,640 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปีก่อนประมาณ 30% เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 4 ปี
ส่วนปีนี้ บริษัทวิเคราะห์เศรษฐกิจนานาชาติ FocusEconomics แห่งสเปน คาดว่าเศรษฐกิจของพม่าจะเติบโต 7.4% และไต่ระดับสู่ 7.6% ในปีหน้า
ขณะธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) มองเชิงบวกมากกว่า โดยคาดว่าจะขยายตัว 7.7% สูงสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน และพุ่งทะลุ 8% ในปีหน้า
ตัวเลขคาดการณ์ดังกล่าว ดูเหมือนจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตของชาวบ้านสดใสตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์สื่อภาษาอังกฤษ “Frontier Myanmar” แห่งนครย่างกุ้ง ระบุว่า ชาวพม่ายังคงมีความรู้สึกเชิงลบต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ชาวนาปลูกข้าวคนหนึ่งบอกว่า ชีวิตมีความลำบากไม่ต่างจากเดิม แม้รัฐบาลปรับปรุงโครงการสินเชื่อใหม่ ช่วยให้ชาวนากู้เป็นทุนทำนาได้ง่ายขึ้น แต่ราคาข้าวก็ตกต่ำ ทำให้รายได้ไม่ดีไปกว่าเดิม
“มนุษย์เงินเดือน” ในนครย่างกุ้ง ก็สะท้อนความรู้สึกในทิศทางเดียวกัน บอกว่าเงินเดือนไม่ปรับเพิ่ม สวนทางกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้ชีวิตยังคงฝืดเคืองไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ให้สัมภาษณ์เชื่อว่า เศรษฐกิจพม่าตอนนี้ยังไม่ฟื้น คาดว่าคงต้องใช้เวลาอีก 3-4 ปี จึงจะปรับขึ้นดีขึ้น
ถ้าความจริงเป็นอย่างที่ชาวบ้านสะท้อนออกมา ย่อมหมายถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของพม่า ยังกระจายลงไปไม่ถึงชาวบ้านทั่วไป หรือคืบคลานถึงในระดับน้อยมาก ทำให้ไม่รู้สึกถึงเปลี่ยนแปลง
ดังนั้น ตัวเลขจีดีพี จึงไม่มีความหมายสำหรับชาวบ้านในพม่า
You must be logged in to post a comment Login