- ปีดับคนดังPosted 5 hours ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 day ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 3 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 3 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 7 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 1 week ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
กระดูกสันหลังคด / โดย รศ.นพ.สุรินทร์ ธนพิพัฒนศิริ
คอลัมน์ : พบหมอศิริราช
ผู้เขียน : รศ.นพ.สุรินทร์ ธนพิพัฒนศิริ
หลายคนสอบถามเรื่องกระดูกสันหลังคด ไม่แน่ใจว่าลูกหลานเป็นโรคนี้หรือไม่ มาฟังคำตอบกัน
โรคกระดูกสันหลังคด หมายถึง การผิดรูปของแนวกระดูกสันหลังที่มีการคดออกไปด้านข้าง สาเหตุที่ทำให้กระดูกสันหลังคด ได้แก่ การเจริญเติบโตที่ผิดปรกติของกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด กล้ามเนื้อหรือระบบประสาทผิดปรกติ เกิดร่วมกับโรคท้าวแสนปม และสาเหตุอื่นๆ ที่พบบ่อยที่สุดประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดทุกชนิดคือ กระดูกสันหลังคดชนิดที่ไม่พบสาเหตุ มักพบในช่วงอายุระหว่าง 10-15 ปี
อาการของผู้ป่วยคือ มีแนวกระดูกสันหลังไม่ตรง ระดับหัวไหล่ 2 ข้างไม่เท่ากัน ระดับเอวไม่เท่ากัน ด้านหลังนูน คิดว่าหลังโก่ง ผู้ป่วยหรือผู้ปกครองมักมาพบแพทย์ด้วยความกังวลเกี่ยวกับรูปร่าง มีส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจมีอาการปวดหลัง
นอกจากตรวจดูลักษณะที่ผิดรูปแล้ว แพทย์จะตรวจการทำงานของระบบประสาท และส่งตรวจทางรังสีเพื่อการวินิจฉัย ประเมินระดับความรุนแรงของกระดูกสันหลังคด และพิจารณาให้การรักษา ซึ่งแบ่งเป็น 3 แนวทางคือ การสังเกตอาการ การใส่เสื้อเกราะ และการผ่าตัด
การสังเกตอาการ ในกรณีที่มีความคดน้อยกว่า 20-30 องศา แพทย์จะนัดตรวจติดตามอาการอย่างใกล้ชิดทุก 4-6 เดือน หากมีความคดมากกว่า 30 องศา ควรใส่เฝือกหรือเสื้อเกราะให้รัด กระชับ เพื่อดัดกระดูกสันหลัง ป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังคดมากขึ้น โดยใส่ประมาณ 23 ชั่วโมงต่อวัน ยกเว้นเวลาอาบน้ำ การใส่เสื้อเกราะ ต้องใส่จนกว่าผู้ป่วยหยุดการเจริญเติบโต และค่อยๆลดจำนวนชั่วโมงที่ใส่ลง จนแน่ใจว่ากระดูกสันหลังไม่คดมากขึ้นจึงหยุดใส่ ส่วนการรักษาด้วยการผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่มีกระดูกคดมากกว่า 45 องศาในวัยกำลังเจริญเติบโต หรือมากกว่า 50-55 องศาในวัยที่หยุดการเจริญเติบโต โดยใช้โลหะดามกระดูกสันหลัง จัดกระดูกสันหลังให้ตรงขึ้น และเชื่อมข้อกระดูกสันหลังให้ติดแข็งในแนวที่จัดไว้ หลังผ่าตัดควรงดกิจกรรมที่เคลื่อนไหวด้วยกระดูกสันหลังประมาณ 6-9 เดือน เช่น การก้ม บิดตัว แล้วออกกำลังกายที่ไม่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
You must be logged in to post a comment Login