- ปีดับคนดังPosted 5 hours ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 day ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 3 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 3 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 7 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 1 week ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
เอกภาพของสิ่งตรงกันข้าม ยุคมืดประวัติศาสตร์ไทย! / โดย เรืองยศ จันทรคีรี
คอลัมน์ : กรีดกระบี่บนสายธาร
ผู้เขียน : เรืองยศ จันทรคีรี
เรื่องที่จะเขียนถึงนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เป็นเรื่องของปรัชญา คือเป็นวิธีการทำความเข้าใจต่อโลก แต่มิใช่เพียงเข้าใจเท่านั้น ยังเป็นเรื่องการแก้ไขปัญหาของโลกด้วย
ปรัชญาในโลกที่ได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุดได้แก่ ปรัชญามาร์กซิสต์ รากฐานของปรัชญามาร์กซิสต์คือวิธีการคิดแบบทฤษฎีวัตถุนิยมวิภาษวิธี ซึ่งเป็นเรื่องของสรรพสิ่ง (Thing) และความคิด (Ideal) กล่าวคือ ถ้าเป็นความคิดแบบจิตนิยมจะถือว่าสรรพสิ่งต่างๆที่เป็นไปนั้นเกิดจากความคิดของเราเอง แต่ในทฤษฎีของมาร์กซิสต์มองว่าวัตถุมีส่วนกำหนดจิต ความคิดและความเห็นต่างๆเป็นผลมาจากการสะท้อนความจริงไปจากสรรพสิ่งต่างๆที่อยู่รอบข้าง ตลอดจนประสบการณ์ต่างๆของโลก จึงถือว่าความขัดแย้งนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะความขัดแย้งจะเกิดวิภาษวิธีจากข้อเสนอและข้อสนองจนกลายเป็นข้อสรุป
ด้วยความขัดแย้งนี้เองทำให้สรรพสิ่งและโลกเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นคือ รากฐานของทฤษฎีมาร์กซิสต์ซึ่งเป็นปรัชญาวัตถุนิยมเกี่ยวข้องทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และเศรษฐศาสตร์ เป็นรากฐานการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ
ในทฤษฎีวัตถุนิยมวิภาษวิธีมีอยู่สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ การกล่าวว่า “ทุกสรรพสิ่งย่อมเป็นสองเสมอ” ชีวิตที่ดำเนินไปมีทั้งความเป็นและความตาย ซึ่งความจริงแล้วก็คือสิ่งเดียวกัน แต่อยู่กันคนละขั้ว เช่นเดียวกับความดีและความชั่วก็คือสิ่งที่อยู่คนละขั้วของการดำเนินชีวิตที่จะต้องมีดุลยภาพ ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เรียกว่า “เอกภาพของสิ่งตรงกันข้าม” ซึ่งแปลผลส่งซึ่งกันและกัน
เมื่อเราเข้าใจความหมายของเอกภาพในสิ่งตรงกันข้ามแล้ว เราก็โยงมาถึงยุคมืดของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับยุคทองของประวัติศาสตร์ไทยเช่นกัน ยุคมืดของประวัติศาสตร์ไทยคือช่วงระหว่าง พ.ศ. 1760-1893 ประมาณว่าเป็นช่วงหลังการสวรรคตของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หรืออาจเรียกอีกอย่างว่าหลังยุคบายน บรรดานักประวัติศาสตร์หลายท่านได้สรุปถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคมืดของประวัติศาสตร์ดังนี้
1.มีการแผ่เข้ามาของศาสนาพุทธนิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ ซึ่งตีความได้ว่าเดิมคนไทยโบราณต่างนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน 2.มีการอพยพเข้ามาในสุวรรณภูมิของคนที่พูดภาษาไทยกะได 3.รัฐใหญ่ๆในสุวรรณภูมิได้เสื่อมสลายลง ทั้งศรีวิชัย พุกาม และอังกอร์ หรืออาณาจักรเมืองพระนคร 4.ชาติต่างๆในสุวรรณภูมิพยายามขยับขยายตัวเองเพื่อจะเชื่อมโยงเครือข่ายทางการค้า เช่น โอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่งงานกับราชธิดาของกษัตริย์แห่งศรีลังกา เพื่อจะมีการเชื่อมโยงเครือข่ายทางการค้าและอาณาจักรให้มากที่สุด โดยเฉพาะการค้ากับจีนคือ ฝ่ายอาณาจักรอยุธยา
ในสภาวะยุคมืดของประวัติศาสตร์ไทยอาจมองได้ว่ามีความขัดแย้งกันในทางศาสนาและความเชื่อระหว่างศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธมหายานกับศาสนาพุทธนิกายเถรวาทสายลังกาวงศ์ที่เพิ่งเข้ามาใหม่ และเป็นไปในกลุ่มคนที่มีเชื้อสายไทยทั่วไป ซึ่งในช่วงเวลานั้นพระเจ้าวิกรมพาหุที่ 1 มีการปรับปรุงศาสนาพุทธในลังกากันอย่างจริงจัง แต่ความจริงน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการค้าขายอย่างแยกไม่ออก เพราะในช่วงดังกล่าวศรีลังกามีการค้าช่างกับทางพุกาม
ความหมายยุคมืดของประวัติศาสตร์มีความหมาย 2 ประการคือ ประการแรก การขาดแคลนหลักฐานและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เหมือนมีความพยายามจงใจที่จะไม่ให้มีข้อมูลและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประการที่ 2 เป็นการตีความยุคสมัยอย่างผิดพลาด เปรียบเสมือนเกิดจากวาทกรรมของประวัติศาสตร์ เป็นประวัติศาสตร์ไทยที่ถูกนำเสนอโดยไม่คำนึงถึงประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน เพราะความจริงแล้วประวัติศาสตร์ไทยคือส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์อาเซียน และประวัติศาสตร์อาเซียนคือส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย โดยเฉพาะประวัติศาสตร์เขมรกับประวัติศาสตร์ไทยไม่อาจแยกออกจากกันได้เลย แม้แต่เรื่องภาษาศาสตร์ เพราะภาษาไทยเป็นผลผลิตของหลากหลายภาษาผสมกัน โดยเฉพาะภาษาเขมร
จากข้อสรุปตรงนี้จึงกล่าวได้ว่า ยุคมืดของประวัติศาสตร์ไทยคือการที่ทฤษฎีศิลปะโบราณคดีมีบทบาทกำหนดยุคสมัย เช่น การเขียนหนังสือของยอร์ช เซเดส์ เรื่องโบราณวัตถุไทยในพิพิธภัณฑ์พระนคร ซึ่งได้กำหนดพระพุทธรูปแบบอู่ทองขึ้นมา แล้วก็เริ่มแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์จากงานศิลปกรรมต่างๆ หนังสือที่เซเดส์เขียนคือประวัติศาสตร์ขององค์เจดีย์สยาม เล่มที่ 2 คือประวัติศาสตร์โบราณวัตถุไทยในพิพิธภัณฑ์พระนคร จะเริ่มเห็นว่าเซเดส์ได้ใช้คำว่า “ไทย” ภายหลังที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เข้าไปมีตำแหน่งงานรับผิดชอบในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
นี่คือคำตอบที่บอกได้ว่า ยุคมืดทางประวัติศาสตร์ไทยคือยุคมืดของประวัติศาสตร์เชิงวาทกรรมที่ถูกครอบงำความคิดจากทฤษฎีศิลปกรรมโบราณคดี ซึ่งเกิดจากการทำงานควบคู่กันของยอร์ช เซเดส์ กับกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เขียนถึงเรื่องยุคมืดของประวัติศาสตร์ไทยโดยพิจารณาจากเอกภาพของด้านตรงกันข้าม
นึกถึงปัจจุบันนี้ไม่รู้เราจะบอกว่ากำลังจะเป็นยุคมืดของประชาธิปไตยหรือเป็นยุคทองของประชาธิปไตยในอนาคต ใครดูเป็นมืดหรือเป็นทองก็พิจารณาเอาเอง?
You must be logged in to post a comment Login