- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
‘ออสซี่’คุมเข้มก่อการร้าย
ออสเตรเลียเป็นประเทศหนึ่ง ที่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า เป็นเป้าหมายโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายและกลุ่มหัวรุนแรง ทำให้ออสเตรเลียดำเนินการป้องกันเข้มงวดเป็นพิเศษ
ออสเตรเลียใช้มาตรการจริงจัง สกัดต่างชาติต้องสงสัยเป็นสมาชิกกลุ่มก่อการร้าย ไม่ให้เข้าประเทศมานาน และหากประเมินจากสถานการณ์เท่าที่ผ่านมา ถือว่ามาตรการนี้ใช้ได้ผลระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม เมื่อ 3 ปีที่แล้ว (ปี 2014) ออสเตรเลีย “พลาดท่า” ให้กลุ่มก่อการร้ายจนได้ โดยกลุ่มคนร้ายที่อ้างตัวว่าเป็นสมาชิกของไอเอส บุกยึดคาเฟ่แห่งหนึ่งในนครซิดนีย์ ควบคุมผู้คนเป็นตัวประกัน
เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาคลี่คลายสถานการณ์กว่า 17 ชั่วโมง มีผู้เสียชีวิต ซึ่งรวมคนร้ายด้วย 3 ราย
ล่าสุด ออสเตรเลีย “พลาดท่า” อีกครั้ง เมื่อวันจันทร์ที่ 5 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยมือปืนที่กลุ่มไอเอสอ้างภายหลังว่าเป็นสมาชิกของตน ก่อเหตุเดี่ยวกราดยิงเหยื่อเสียชีวิต 1 ราย และจับผู้หญิงเป็นตัวประกัน ที่อพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งในนครเมลเบิร์น รัฐนิวเซาท์เวลส์ ก่อนถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรม
ข้อมูลสำคัญส่วนหนึ่งที่ออสเตรเลียได้จาก 2 เหตุการณ์ดังกล่าว คือคนร้ายที่ก่อเหตุได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ อยู่ระหว่างการคุมประพฤติ และเป็นสมาชิกกลุ่มก่อการร้าย ที่เป็นพลเมืองภายในประเทศ ไม่ใช่ต่างชาติ
จากข้อมูลดังกล่าว ออสเตรเลียจึงเพิ่มมาตรการควบคุมผู้ต้องขังคดีก่อการร้ายเข้มข้นขึ้น ประกอบด้วยการก่อสร้างเรือนจำพิเศษในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ใช้คุมขังสมาชิกกลุ่มก่อการร้ายโดยเฉพาะ เรียกว่าเรือนจำ “Supermax II” เฟสแรกรองรับผู้ต้องขังได้ 54 คน
“Supermax II” เป็นเรือนจำคุมขังกลุ่มก่อการร้ายโดยเฉพาะแห่งแรกของออสเตรเลีย กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จ ปลายปีหน้า
มาตรการอีกส่วนหนึ่ง คือการแก้กฎหมาย ยกเลิกแผนให้อภัยโทษผู้ต้องขังคดีก่อการร้าย โดยให้คุมขังอย่างไม่มีกำหนด หากเจ้าหน้าที่เห็นว่า เป็นบุคคลอันตรายต่อสังคม
ขณะรัฐนิวเซาท์เวลส์ ปรับแผนอนุญาตให้ตำรวจวิสามัญฆาตกรรมสมาชิกกลุ่มก่อการร้ายที่ก่อเหตุได้ทันที
นอกจากนั้น ออสเตรเลียยังมีแผนเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่อีก 300 นาย ในระยะ 4 ปี ทำหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังผู้อยู่ในข่ายต้องสงสัยสมาชิกกลุ่มก่อการร้าย หรือกลุ่มหัวรุนแรง ซึ่งปัจจุบันมีผู้ต้องสงสัย ที่ต้องเฝ้าระวังประมาณ 400 คน
ออสเตรเลียจริงจังกับการป้องกันการก่อการร้ายมานาน แม้จะพลาดท่าไปบ้าง แต่จากการปรับปรุงการปฏิบัติงาน และเพิ่มมาตรการใหม่ที่เห็นว่าสำคัญอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ออสเตรเลียมั่นใจว่า สามารถป้องกันการก่อการร้ายได้แบบ “เอาอยู่”
You must be logged in to post a comment Login