วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ออกคำสั่งมาตรา 44 เร่งรัดรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-โคราฃ

On June 19, 2017

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560  เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 30/2560 ลงนามโดย  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. เรื่อง มาตรการเร่งรัดและเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา มีรายละเอียดระบุว่า โดยที่มีความจําเป็นต้องพัฒนาระบบคมนาคมให้ก้าวหน้า ทันสมัย และสอดคล้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะการขนส่งทางราง ซึ่งรวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทยในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 – 2565 แต่การดําเนินการดังกล่าวยังมีปัญหาและอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะข้อจํากัดตามกฎหมาย ซึ่งมีผลกระทบต่อการขับเคลื่อนโครงการและกรอบระยะเวลาการดําเนินการ และด้วยเหตุที่การดําเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงนี้เป็นการดําเนินการในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล ซึ่งโดยสภาพของข้อเท็จจริงย่อมจําเป็นต้องยกเว้นการปฏิบัติตามกฎระเบียบบางเรื่อง ในขณะที่จะต้องดําเนินการด้วยความรอบคอบรัดกุม โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และสามารถเร่งรัดการดําเนินโครงการให้แล้วเสร็จได้โดยเร็ว จึงจําเป็นต้องกําหนดขั้นตอนและหลักเกณฑ์วิธีการไว้เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้ใช้บริการ รวมทั้งเป็นการรักษาประโยชน์ของรัฐ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบคมนาคมของประเทศนําไปสู่การพัฒนาโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจ ยกระดับศักยภาพการแขงข่ ัน และลดความเหลื่อมล้ําตามยุทธศาสตร์ของประเทศ

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 265 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้า คสช. โดยความเห็นชอบของ คสช. จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในคําสั่งนี้“คณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน” หมายความว่าคณะกรรมการบริหารร่วมฝ่ายไทย เพื่อกํากับดูแลการดําเนินการ ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทยในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 – 2565

“โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา” หมายความว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ที่ดําเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทยในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 – 2565

ข้อ 2 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยทําสัญญาจ้างรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นตัวแทนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีประสบการณ์ตรงด้านการพัฒนารถไฟความเร็วสูงที่ได้รับการรับรองคุณภาพและประสิทธิภาพจาก National Development and Reform Commission แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อดําเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา ดังต่อไปนี้ (1) งานออกแบบรายละเอียดโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา (2) งานที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา (3) งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร

รัฐวิสาหกิจตามวรรคหนึ่งและบุคลากรของรัฐวิสาหกิจนั้นทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลหากต้องดําเนินการในลักษณะของการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรม ให้ได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับมาตรา 45 มาตรา 47 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 และมาตรา 45 มาตรา 47 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพ ให้กระทรวงคมนาคมประสานให้สภาวิศวกรและสภาสถาปนิกจัดให้มีหลักสูตรฝึกอบรมและทดสอบแก่บุคลากรดังกล่าวตามความเหมาะสมในการกําหนดมูลค่าโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา ค่าจ้าง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง การจัดทําร่างสัญญาจ้างและเงื่อนไขอื่นในการทําสัญญาจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยใช้ผลการเจรจาต่อรองของคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และผลประชุมของคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน มาเป็นกรอบในการพิจารณา โดยจะต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ

ทั้งนี้ ให้วงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติสําหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา ถือเป็นราคากลางตามมาตรา 103/7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ในกรณีที่ไม่อาจดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามวรรคสาม ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยรายงานผลการดําเนินการ รวมทั้งสาเหตุของความล่าช้าไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณา ในการนี้ นายกรัฐมนตรีอาจพิจารณาขยายระยะเวลาออกไปได้อีกตามที่เห็นสมควรหากนายกรัฐมนตรีไม่พิจารณาให้มีการขยายระยะเวลาออกไปตามวรรคสี่ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยยุติการดําเนินการ และให้กระทรวงคมนาคมรายงานผลการดําเนินการไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไปการดําเนินการตามข้อนี้ ให้คํานึงถึงประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้บริการ ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการดําเนินกิจการและการใช้ทรัพยากรของรัฐ ทั้งนี้ ให้นําหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางในการใช้ระบบข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2558 มาใช้กับการดําเนินการด้วย

ข้อ 3 ในการดําเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา และการทําสัญญาจ้างตามข้อ 2 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบดังต่อไปนี้ (1) กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดหาผู้ประกอบการและการเสนอราคา (2) กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (3) คําสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 11/2560 เรื่อง การกํากับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ ลงวันที่ 23 ก.พ. พ.ศ. 2560 (4) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (5) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 (6) ระเบียบการรถไฟแห่งประเทศไทยว่าด้วยการจ้าง พ.ศ. 2544 (7) ระเบียบการรถไฟแห่งประเทศไทยว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2544

ข้อ 4 เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยจัดทําร่างสัญญาจ้างตามข้อ 2 วรรคสาม เสร็จแล้วให้การรถไฟแห่งประเทศไทยส่งข้อตกลงการจ้างและร่างสัญญาจ้างให้รัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัดพิจารณาเห็นชอบก่อนส่งให้สํานักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา โดยให้สํานักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาร่างสัญญาจ้างให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างสัญญาจ้าง และเมื่อสํานักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาร่างสัญญาจ้างเสร็จแล้ว ให้กระทรวงเจ้าสังกัดนําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีไม่เห็นชอบกับร่างสัญญาจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งเรื่องคืนไปยังรัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัดเพื่อพิจารณาทบทวนและเสนอความเห็นประกอบเรื่องทั้งหมดต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ ในกรณีที่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างสัญญาจ้าง ให้ส่งร่างสัญญาจ้างให้สํานักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อนนําเสนอคณะรัฐมนตรีด้วย โดยให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมเมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยลงนามในสัญญาจ้างต่อไป

ข้อ 5 ในกรณีที่มีปัญหาหรืออุปสรรคในการดําเนินงานตามคําสั่งนี้และการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่สามารถหาข้อยุติได้ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยรายงานปัญหาหรืออุปสรรคดังกล่าวให้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน เพื่อพิจารณาหาข้อยุติต่อไป

หากคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ไม่อาจหาข้อยุติได้ ให้ประธานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีนเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัยปัญหาหรือสั่งการตามสมควร

ข้อ 6 ในกรณีเห็นสมควรหรือมีปัญหาขัดข้องในการดําเนินการ หรือกรณีมีข้อจํากัดทางกฎหมายอื่นใด นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้ คสช. แก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้

ข้อ 7 คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

 

สำหรับ ข้อกฎหมายดังกล่าวประกอบด้วย

พ.ร.บ.วิศวกร 2542

มาตรา 45 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนพร้อมจะประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาใด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตในสาขานั้นจากสภาวิศวกร
มาตรา 47 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้คำหรือข้อความที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็น ผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ทั้งนี้ รวมถึงการใช้ จ้างวานหรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำดังกล่าวให้ตน เว้นแต่ผู้ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมสาขานั้น ๆ จากสภาวิศวกรหรือสถาบันที่สภาวิศวกรรับรอง หรือผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิศวกร
มาตรา 49 ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิศวกร
ผู้ขอรับใบอนุญาตที่เป็นบุคคลธรรมดาต้องเป็นสมาชิกสามัญหรือสมาชิกวิสามัญของสภาวิศวกรและถ้าขาดจากสมาชิกภาพเมื่อใดให้ใบอนุญาตของผู้นั้นสิ้นสุดลง
ผู้ขอรับใบอนุญาตที่เป็นนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลซึ่งมีทุนเป็นของคนต่างด้าวจำนวนเท่าใด นิติบุคคลนั้นอย่างน้อยต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
( 1 ) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักร
( 2 ) ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วน กรรมการของบริษัท หรือสมาชิกในคณะผู้บริหารของนิติบุคคลจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง หรือหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน กรรมการ ผู้จัดการของบริษัท หรือผู้มีอำนาจบริหารแต่ผู้เดียวของนิติบุคคลเป็นผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัตินี้
พ.ร.บ.สถาปนิก 2543
มาตรา 45 หามมิใหผูใดประกอบวิชาชีพสถาปตยกรรมควบคุมหรือแสดงดวยวิธีใดๆ ใหผูอื่นเขาใจวาตนพรอมจะประกอบวิชาชีพสถาปตยกรรมควบคุมสาขาใดเวนแตจะไดรับใบอนุญาตในสาขา นั้นจากสภาสถาปนิก
มาตรา 47 หามมิใหผูใดใชคําหรือขอความที่แสดงใหผูอื่นเขาใจวาตนเปนผูมีความรูความ ชํานาญในการประกอบวิชาชีพสถาปตยกรรมควบคุม ทั้งนี้รวมถึงการใชจางวาน หรือยินยอมใหผูอื่น กระทําดังกลาวใหแกตน เวนแตผูไดรับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติเปนผูมีความรูความชํานาญในการ ประกอบวิชาชีพสถาปตยกรรมสาขานั้นๆ จากสภาสถาปนิกหรือสถาบันที่สภาสถาปนิกรับรอง หรือผูไดรับ ใบอนุญาต ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในขอบังคับสภาสถาปนิก
มาตรา 49 ผูขอรับใบอนุญาตตองมีคุณสมบัติและไมมีลักษณะตองหามตามที่กําหนดในขอบังคับสภาสถาปนิก
ผูขอรับใบอนุญาตที่เปนบุคคลธรรมดาตองเปนสมาชิกสามัญหรือสมาชิกวิสามัญของสภาสถาปนิก และถาขาดจากสมาชิกภาพเมื่อใดใหใบอนุญาตของผูนั้นสิ้นสุดลง
ผูขอรับใบอนุญาตที่เปนนิติบุคคลไมวาจะเปนนิติบุคคลซึ่งมีทุนเปนของคนตางดาวจํานวนเทาใด นิติบุคคลนั้นอยางนอยตองมีคุณสมบัติดังตอไปนี้
(1) มีสํานักงานใหญตั้งอยูในราชอาณาจักร
(2) ผูเปนหุนสวนของหางหุนสวน กรรมการของบริษัท หรือสมาชิกในคณะผูบริหารของนิติบุคคล จํานวนไมนอยกวากึ่งหนึ่งหรือหุนสวนของผูจัดการของหางหุนสวน กรรมการผูจัดการของบริษัทหรือผูมี อํานาจบริหารแตผูเดียวของนิติบุคคลเปนผูซึ่งไดรับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้

You must be logged in to post a comment Login