- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
1ประเทศ2รัฐบาล

คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น
แม้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะบังคับใช้มากกว่าสองเดือนแล้ว แต่ยังคงมีสภาพบังคับใช้ได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้บรรยากาศบ้านเมืองไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างดำเนินไปประดุจเมื่อการรัฐประหารเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวานที่ผ่านมา
วันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณายาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นปีที่ 85 ก่อนถึงวันครบรอบฝ่ายความมั่นคงทั้งทหารตำรวจเกาะติดนักกิจกรรมทางการเมืองเพื่อไม่ให้มีการเคลื่อนไหวใดๆ ที่คิดว่าจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาลทหารคสช.
85 ปีที่ผ่านจึงถือว่าเสียเปล่า เสียของ ประเทศไทยยังไม่เดินเฉียดเข้าใกล้ความเป็นประชาธิปไตยแม้แต่น้อย
หลังพ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ และ พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ด้วยเสียงเอกฉันท์ ประเทศจะต้องเดินตามยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลทหารคสช.ไข่ทิ้งไว้ไปอีก 20 ปี
ความน่าสนใจของการจัดทำยุทธศาสตร์อยู่ที่ ประชาชนจะมีส่วนร่วมมากน้อยแค่ไหน หรือว่าจะให้สิทธิแค่กรรมการปิดประตูมโนวาดภาพฝันกันไปเองว่าอยากเห็นประเทศเป็นอย่างไรในอีก 20 ปีข้างหน้า
แน่นอนว่าการทำงานของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ เพราะจะมีรายงานที่ผ่านการศึกษาของ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่พ้นสภาพไปตอนที่ร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกถูกคว่ำ และผลการศึกษาของ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่จะหมดสภาพไปในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
แต่การศึกษาเพื่อจัดวางแนวทางยุทธศาสตร์แต่ละด้านที่ผ่านมาทั้งของ สปช.และสปท.นั้น ประชาชนมีส่วนร่วมน้อยมาก และมีโอกาสรับรู้เนื้อหาที่เป็นผลการศึกษาน้อยมาก ทั้งที่รัฐกุมสื่อไว้ในมือจำนวนมาก
ประชาชนและพรรคการเมืองที่จะลงแข่งขันเพื่อเป็นรัฐบาลบริหารประเทศในช่วงหลายปีหน้าจึงตกอยู่ในสภาพถูกมัดมือชกเหมือนกัน
เมื่อยุทธศาสตร์ชาติถูกทำคลอดออกมาแล้วทั้งประชาชนและพรรคการเมืองมีหน้าที่อย่างเดียวคือต้องปฏิบัติตาม
“ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติจะติดตามหรือมอนิเตอร์เป็นเวลา 5 ปีว่าใครไม่ปฏิบัติตามจะได้ฟ้องหรือรายงานมา ยุทธศาสตร์ชาติถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ถ้าฝ่าฝืน ทำผิด หรือขัดแย้ง เรื่องจะไปถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ศาลรัฐธรรมนูญ ถึงขั้นติดคุกติดตะราง ต้องถอดถอนกัน”
เป็นคำกล่าวของมือกฎหมายรัฐบาลอย่าง นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
สรุปคือรัฐบาลนี้เป็นผู้คิดทำยุทธศาสตร์เอง และตั้งคณะกรรมการที่จะมีอายุการทำงานต่อไปอีก 5 ปีเพื่อติดตามเฝ้าดูว่ารัฐบาลหน้าจะเดินตามทิศทางที่วางไว้หรือไม่ หากไม่ทำก็จะดำเนินการฟ้องร้องมีโทษถึงติดคุกหรือถอดถอนออกจากตำแหน่งห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
พรรคการเมืองไม่ต้องเสียสมองคิดนโยบายเพราะถ้าไม่สอดคล้องก็เอามาใช้ปฏิบัติไม่ได้
รัฐบาลทหารคสช.ไม่ต้องเหนื่อยหาเสียง เพราะนโยบายในรูปยุทธศาสตร์ชาติที่ไข่ทิ้งไว้จะมีคนเอาไปฟักให้เกิดเป็นตัวแน่นอน แถมไม่ต้องเปลืองตัวกับคำครหาต่างๆที่จะตามมาในฐานะผู้ปฏิบัติ
สภาพบ้านเมืองหลังเลือกตั้งจึงเหมือนมีรัฐบาลซ้อนรัฐบาล หนึ่งคือรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งมีหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติ สองคือรัฐบาลที่อยู่ในรูปของคณะกรรมการยุทธศาสตร์มีหน้าที่กำหนดนโยบายและกำกับดูแลการปฏิบัติของรัฐบาลเลือกตั้งอีกชั้นหนึ่ง
1 รัฐ 2 รัฐบาล ไม่ต่างจากอำนาจเหนืออำนาจที่ยกให้มาตรา 44 ใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญทั้งฉบับในปัจจุบันนั่นเอง
You must be logged in to post a comment Login