- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
หมดเครดิต
คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น
การใช้อำนาจพิเศษมาตรา 44 เร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าไทย-จีน ที่ตีกรอบเวลาจะต้องลงนามในสัญญากันให้ได้ภายใน 3-4 เดือนนับจากนี้ แต่ดูเหมือนกระบวนการทำให้เกิดการมีส่วนร่วมยังถูกปิดกั้น
นอกจากรายละเอียดตามประกาศใช้อำนาจมาตรา 44 เกี่ยวกับการละเว้นกฎหมายหลายฉบับเพื่อผลักดันโครงการให้เดินหน้าไปได้ตามเป้าหมายแล้ว รายละเอียดด้านอื่นเกี่ยวกับตัวโครงการประชาชนยังไม่มีโอกาสได้รับทราบเท่าที่ควร
เมื่อรายละเอียดที่เกี่ยวกับเนื้อหาโครงการไม่เป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะ (อาจเป็นเพราะการเจรจายังไม่สะเด็ดน้ำ) จึงทำให้เกิดคำถาม เกิดข้อสงสัยเป็นเรื่องธรรมดา โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นความโปร่งใส ความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างฝ่ายไทยกับจีน
ในประเด็นเหล่านี้แม้ว่าประชาชนจะมีความสงสัย แต่คำชี้แจงดูเหมือนไม่มีอะไรมากไปกว่าคำยืนยันจากผู้มีอำนาจว่าโครงการนี้จะเป็นไปอย่างโปร่งใสและสัญญาที่จะลงนามจะไม่ทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบฝ่ายจีนแน่นอน
สิ่งที่ชัดเจนที่สุดที่ส่งออกมาจากผู้มีอำนาจถึงประชาชนก็คือขอให้เชื่อมั่น อย่าขัดขวางการทำโครงการ
“ไม่ใช่เช่นนั้น เพราะทางกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการทุกอย่างเรียบร้อยแล้วโดยพิจารณาว่าสิ่งใดเหมาะสมและไม่เหมาะสม ดังนั้นไม่ต้องเป็นห่วงว่าเราจะเสียเปรียบ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าโครงการนี้ไม่มีการได้เปรียบหรือเสียเปรียบอย่างแน่นอน”
เป็นคำกล่าวของ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนล่าสุดหลังจากถูกตั้งคำถามว่าสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงฝ่ายไทยให้สิทธิประโยชน์กับฝ่ายจีนมากเกินไป
ทั้งนี้ แม้การเจรจายังไม่มีข้อสรุปขั้นสุดท้าย แต่เมื่อดูจากโมเม้นต์ของผู้มีอำนาจผ่านการชี้แจงและความตั้งใจที่จะเร่งผลักดันโครงการแล้วทำให้ประมาณการได้ว่าการเจรจาน่าจะมีความคืบหน้าไปมากกว่า 70-80% แล้ว
ประเด็นคือทำไมไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดการเจรจากับประชาชน
มองในแง่มุมของผู้มีอำนาจอาจมองว่าหากเปิดเผยรายละเอียดก่อนที่การเจรจาจะสำเร็จ อาจทำให้เกิดปัญหาจนส่งผลกระทบต่อการเจรจาได้
แต่หากมองในแง่มุมของการมีส่วนร่วม ความโปร่งใส การเปิดกว้างให้มีการตรวจสอบ การเปิดเผยรายละเอียดระหว่างที่ยังไม่ได้ลงนามนับว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างมาก
เพราะเมื่อรายละเอียดโครงการถูกเปิดเผยออกมาเป็นประเด็นสาธารณะจะทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมทางความคิดในสังคม ที่จะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองได้อีกทางหนึ่งเหมือนกับที่เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมทางความคิดอย่างกว้างขวางหลังการใช้อำนาจมาตรา 44 ผลักดันโครงการโดยการละเว้นการบังคับใช้กฎหมายอื่นหลายฉบับ
การเคลื่อนไหวแสดงความเห็นจากหลายกลุ่มหลายองค์กรทำให้เกิดการรับรองว่าจะมีกระบวนการถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีจากฝ่ายจีนให้กับวิศวกรของไทย โดยกระบวนการถ่ายทอดความรู้นั้นจะไม่ตีกรอบแค่เรื่องการบำรุงรักษาเส้นทาง การบริหารจัดการเดินรถ แต่ต้องเป็นองค์ความรู้ที่ทำให้ไทยสามารถสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงได้เองในอนาคต
การเจรจามาแบบปิดที่ทำกันเองเฉพาะในกลุ่มผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องจะไม่เกิดกระบวนการเหล่านี้ ที่สำคัญการเลือกไม่เปิดเผยข้อมูลกับประชาชน เมื่อเจรจาเสร็จ และ ลงนามในสัญญาแล้ว เมื่อข้อมูลถูกเปิดเผยออกมาไม่เป็นไปตามที่ให้คำมั่นไว้ อาจส่งผลย้อนกลับในทางลบต่อผู้เจรจา ผู้ลงนามในสัญญาได้
แม้ตัวสัญญาต้องดำเนินไปตามผลผูกมัดที่ลงนามไปแล้ว
แต่คนทำให้เกิดสัญญา คนลงนามในสัญญาอาจมีปัญหาได้
You must be logged in to post a comment Login