- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
เวเนซุเอลาลุกฮือฝ่าวิกฤต

ภาวะวิกฤตในเวเนซุเอลา ถือเป็นประวัติศาสตร์สำคัญกรณีหนึ่งของโลก ซึ่งมีแง่มุมหลากหลายที่สามารถใช้เป็นบทเรียน เพื่อไม่ให้พลาดท่า นำพาประเทศซ้ำรอยสังคมที่เต็มไปด้วยความรุนแรง และสิ้นหวัง
เวเนซุเอลาเป็นประเทศเคยรวยจากการส่งออกน้ำมัน และเคยเป็นประเทศผลิตน้ำมันอันดับ 5 ของโลก ทำให้มีฐานะมั่งคั่งอันดับต้นๆในทวีปอเมริกาใต้
แต่ปัจจุบัน เวเนซุเอลาเผชิญภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจรุนแรง ทั้งภาวะเงินเฟ้อสูง ราคาสินค้าแพง อาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค และเวชภัณฑ์ ขาดแคลนอย่างหนัก
ในขณะเดียวกัน ปัญหาอาชญากรรม “ลักวิ่งชิงปล้น” เกิดขึ้นอย่างชุกชุม ชีวิตและทรัพย์สินตกอยู่ในภาวะเสี่ยงภัย
นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งมองว่า ปัญหาดังกล่าว เกิดจากการบริหารประเทศด้วยอุดมการณ์แบบสังคมนิยมของประธานาธิบดีอูโก ชาเวซ
นั่นคือแผนลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ด้วยการใช้นโยบาย “ประชานิยม” ช่วยเหลือคนจน เช่น นำรายได้จากการขายน้ำมันมาแทรกแซงราคาสินค้าให้ถูกลง ขายน้ำมันให้ประชาชนในราคาต่ำ และสร้างบ้านให้คนจนกว่า 1 ล้านครอบครัว
หลังชาเวซเสียชีวิต และประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร ที่ขึ้นเป็นผู้นำแทนตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา ได้สานต่อนโยบายดังกล่าว ก่อนยกเลิกไปในปี 2014 หลังราคาน้ำมันตกต่ำ ทำให้รายได้เข้าประเทศทรุดตามไปด้วย
ด้านนายดิเอโก โมยาโอคัมโปส นักวิเคราะห์อาวุโส แห่งสถาบันนานาชาติ IHS Markit มองว่า หายนะของเวเนซุเอลา เกิดจากการบริหารเศรษฐกิจผิดพลาด
โมยาโอคัมโปสมองว่า แผนประชานิยมและราคาน้ำมันตกต่ำ เป็นสาเหตุส่วนหนึ่ง
แต่ตัวแปรสำคัญที่สุด คือการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ ซึ่งรวมทั้งการควบคุมหนี้ภาครัฐ (หนี้สาธารณะ) ที่เริ่มมีปัญหาตั้งแต่ราคาน้ำมันยังพุ่งสูง เวเนซุเอลายังมีรายได้จากการขายน้ำมัน
ปัญหาทั้งหมด กลายเป็นชนวนทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรง และนำไปสู่การชุมนุมขับไล่ผู้นำประเทศยืดเยื้อมาตั้งแต่เดือนเมษายน
สถานการณ์การชุมนุมเพิ่มระดับความตึงเครียด และรุนแรงขึ้นตามลำดับ มีผู้ชุมนุมเสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 75 ราย
ความขัดแย้งแบ่งเป็นฝักฝ่าย และการแย่งชิงอำนาจ ที่ดำเนินไปอย่างดุเดือดแบบ “เลือดเข้าตา” ไม่มีทีท่าว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะลดราวาศอก
ทำให้เศรษฐกิจของประเทศ ที่เผชิญภาวะวิกฤตอยู่แล้ว ยิ่งทรุดหนัก ขณะประชาชนก็ยิ่งเครียดกับความอัตคัดขัดสนที่รุมเร้า
นักสังเกตการณ์มองในมุมเดียวกันว่า ทางออกที่จะนำไปสู่จุดเริ่มต้น “สร้างบ้านแปลงเมือง” ฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ และช่วยเหลือประชาชนให้พ้นจากความอดอยากแร้นแค้น
มีทางเดียวคือ ต้องยุติความขัดแย้ง
You must be logged in to post a comment Login