- ปีดับคนดังPosted 16 hours ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 2 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 3 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 4 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 7 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
มาตรฐาน?
คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น
ผ่านเส้นตายวันสุดท้ายไปเรียบร้อยสำหรับสมาชิกแม่น้ำสายปฏิรูปที่อยากลงเล่นการเมืองแบบเข้าตามตรอกออกตามประตู เสนอตัวให้ประชาชนเลือกใช้งาน เท่าที่ดูตัวเลขการยื่นลาออกมีค่อนข้างน้อย
คนที่ลาออกไปแต่งตัวเตรียมลงสนามเลือกตั้งส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่เคยสวมเสื้อพรรคการเมืองลงเลือกตั้งมาก่อน หรือไม่ก็พวกนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ส่วนพวกทหาร ตำรวจ ข้าราชการยังนั่งติดเก้าอี้เหมือนเดิม ทำให้ข่าวลือเรื่องพรรคทหารที่จะตั้งมารองรับการสืบทอดอำนาจดูมีน้ำหนักน้อยลง
ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีพรรคนอมินีให้นักการเมืองเกรดสองเกรดสามที่ขยันลงสมัครแต่สอบตกมากกว่าสอบได้มารวมตัวกัน โดยมีแม่ทัพนายกองคอยคัดท้ายอยู่เบื้องหลัง
อย่างไรก็ตาม คนที่ยังนั่งทับเก้าอี้อำนาจอยู่ก็ใช่ว่าจะอยู่ได้อย่างสบายใจ โดยเฉพาะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 90 คน ที่ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีถูกร้องเรียนมีคุณสมบัติขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 186 ประกอบมาตรา 187 และมาตรา 170(5) เรื่องไปถือครองหุ้นขัดกันแห่งผลประโยชน์ โดยคณะอนุกรรมการมีเวลาไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนสรุปเสนอที่ประชุมกกต.ลงมติว่าจะส่งเรื่องต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดหรือไม่ 60 วัน
กรณีนี้ถือว่าเป็นเรื่องท้าทายจริยธรรมคุณธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญใหม่ที่กำหนดสเปกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเอาไว้ค่อนข้างสูงว่าจะใช้มาตรฐานไหนกำกับดูแลหลักการขัดกันซึ่งผลประโยชน์
มุมหนึ่งมีคนเห็นว่าผู้ที่ซื้อหรือถือครองหุ้นมาก่อนเข้ารับตำแหน่ง หรือขายไปก่อนที่รัฐธรรมนูญใหม่ประกาศใช้ไม่ถือว่ามีคุณสมบัติขัดกับรัฐธรรมนูญ
มุมหนึ่งก็มีคนตั้งคำถามว่าหากใช้หลักการนี้ ทำไมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ผ่านการสรรหาผ่านการแต่งตั้งมาอย่างถูกต้องก่อนรัฐธรรมนูญใหม่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายนที่ผ่านมาจึงต้องถูกโละเพราะมีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่รัฐธรรมนูญใหม่กำหนด
ถ้าใช้หลักเกณฑ์เองคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญใหม่เซตซีโร่กรรมการองค์กรอิสระ เช่น กกต. คณะกรรมการสิทธิมนุษยบนแห่งชาติ (กสม.) ก็ควรใช้หลักการเดียวกันนี้กับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกคน ทุกองค์กร
นอกจากสนช. 90 คนที่ถูกกกต.ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วยังมีรัฐมนตรีในรัฐบาลทหารคสช.อีก 9 รายที่ถูกยื่นให้กกต.สอบในเรื่องเดียวกันนี้ด้วย
หากมองในมุมการเมืองบางคนอาจมองว่านี่เป็นการเอาคืนของกกต.ที่ถูกเซตซีโร่ให้กระเด็นจากเก้าอี้อำนาจเพราะคุณสมบัติไม่ถึงตามที่รัฐธรรมนูญใหม่กำหนด
แต่หากเลือกมองอีกแง่มุมหนึ่งก็มองได้ว่านี่จะเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่จะใช้ต่อไปในอนาคตข้างหน้าหลังจากนี้ด้วยว่าการถือครองหุ้นในบริษัทที่มีสัมปทานกับรัฐ ทั้งการถือครองมาก่อนเข้ารับตำแหน่ง หรือว่าขายไปหลังรับตำแหน่งจะถือว่ามีคุณสมบัติขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
ถ้าสุดท้ายเรื่องถูกส่งไปศาลรัฐธรรมนูญแล้วศาลชี้ว่าขัดต้องพ้นจากตำแหน่ง หรือชี้ว่าไม่ขัดไม่ต้องพ้นจากหน้าที่จะเป็นบรรทัดฐานให้ถือปฏิบัติต่อไปในอนาคต
อย่างไรก็ตาม หากกกต.ส่งเรื่องต่อไปที่ศาลรัฐธรรมนูญกว่าเรื่องนี้จะรู้ผลน่าจะเป็นช่วงปลายหรือไม่ก็เลยไปถึงต้นปีหน้า ยังไม่มีผลกระทบอะไรต่อการทำงานของ สนช.และรัฐบาล
แม้ความน่าสนใจจะอยู่ที่หากสนช. 90 คนต้องพ้นจากหน้าที่ จะทำให้สนช.ที่ตามกฎหมายกำหนดให้มี 250 คน (ปัจจุบันมี 217คน) เหลือเพียง 127 คน เมื่อเทียบกับเวลาที่เหลือตามโรดแม็พหัวหน้าคสช.จะใช้อำนาจแต่งตั้งคนใหม่เข้ามาแทนที่ หรือว่าให้ทำงานเท่าที่เหลือจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง
แต่ที่สำคัญจะเป็นบรรทัดฐานให้กกต.สบายใจด้วยว่าคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ได้บังคับแต่เฉพาะกกต.และกสม.เท่านั้น แต่บังคับใช้เป็นการทั่วไปกับทุกคนทุกองค์กร
You must be logged in to post a comment Login