- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
‘ค้าทราย’ท่ามกลางเสียงต้าน
มีความเคลื่อนไหวหนึ่ง ในแวดวงการค้าระดับนานาชาติ ซึ่งไม่ค่อยปรากฏเป็นข่าวมากนัก แต่มีความน่าสนใจในตัว นั่นคือ ธุรกิจซื้อขายทราย
ทรายที่ว่า คือ ทรายสำหรับถมที่ดิน และใช้เป็นส่วนผสมซีเมนต์ในการก่อสร้าง
ปัจจุบัน งานก่อสร้างอาคาร ถนน และอีกหลายอย่าง ขยายตัวในหลายประเทศ ขณะที่ทรายหายากขึ้น ทำให้ราคาสินค้าประเภทนี้ค่อนข้างสูง
บางช่วงเคาะกัน 1 ตัน แพงกว่าราคาน้ำมันดิบ 1 บาร์เรล อธิบายความง่ายๆ ก็คือ เป็นช่วงที่ทรายแพงกว่าน้ำมัน
เว็บไซต์ประมวลข้อมูล Observatory of Economic Complexity แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology) สหรัฐ เผยแพร่สถิติล่าสุดของธุรกิจค้าทราย ซึ่งเป็นข้อมูลในรอบปี 2015
โดยระบุว่า ประเทศส่งออกทรายมากสุดในโลก 3 อันดับแรก ประกอบด้วย (1) สหรัฐ รวมมูลค่าส่งออก 385.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (2) เนเธอร์แลนด์ 182.7 ล้านเหรียญสหรัฐ และ (3) เยอรมนี 126 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนประเทศนำเข้าทรายมากสุดในโลก 3 อันดับแรก ประกอบด้วย (1) สิงคโปร์ นำเข้า 13% ของยอดขายทรายทั่วโลก (2) แคนาดา 11% และ (3) เบลเยียมรวมกับลักเซมเบิร์ก 9%
สำหรับสิงคโปร์ นอกจากนำเข้ามากที่สุดในโลกแล้ว ยังเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ที่ตระเวนกว้านซื้อทราย จากประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน
สาเหตุที่สิงคโปร์ต้องการทรายจำนวนมาก เนื่องจากมีโครงการถมทะเลเพื่อขยายพื้นที่ประเทศ เป็นโครงการใหญ่ เริ่มมาตั้งแต่ปี 1822 ขณะยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และดำเนินการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน รวม 195 ปี ขยายพื้นที่ของประเทศได้แล้ว 141 ตารางกิโลเมตร เทียบเท่ากับความกว้างของสนามฟุตบอลมาตรฐานรวมกันประมาณ 1,880 สนาม
สิงคโปร์ตั้งเป้าไว้ว่า ในระยะ 13 ปี นับจากปีนี้ถึงปี 2030 จะถมทะเลเพิ่มพื้นที่ให้ได้อีก 52 ตารางกิโลเมตร ทำให้ต้องนำเข้าทรายจำนวนมากต่อไป
ก่อนหน้านี้ มีกลุ่มอาเซียน 6 ประเทศ ที่ขายทรายให้สิงคโปร์ ประกอบด้วยมาเลเซีย อินโดนีเซีย กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และพม่า
แต่มาเลเซีย อินโดนีเซีย และกัมพูชา ได้ยกเลิกสัญญาในเวลาต่อมา เนื่องจากถูกคัดค้านต่อเนื่อง โดยกลุ่มต่อต้านระบุว่า การทำเหมืองทรายเชิงพาณิชย์ ทำให้ธรรมชาติและระบบนิเวศน์เสียหายในวงกว้าง
ขณะฟิลิปปินส์ เวียดนาม และพม่า ถูกกดดันเช่นกัน แต่ยังคงขายทรายให้สิงคโปร์ต่อไป
ทำให้สิงคโปร์ยังพอหาทรายได้ใกล้บ้าน ท่ามกลางกระแสต่อต้านที่แรงขึ้นตามลำดับ
You must be logged in to post a comment Login