- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ปัญหาการพัฒนาเศรษฐกิจพม่า
กรณีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายในไทย แห่กลับประเทศภูมิลำเนา เป็นเหตุการณ์ได้รับความสนใจจากนานาชาติในวงกว้าง
อีกทั้งเป็นความเคลื่อนไหว ที่กระตุ้นให้สื่อหันไปมองการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศแรงงานกลุ่มนี้ ซึ่งมีพม่ารวมอยู่ด้วย
สถาบันชั้นนำมองเศรษฐกิจของพม่าปีนี้ในทางบวก โดยธนาคารโลก (World Bank) คาดว่าจะขยายตัว 6.9% เพิ่มขึ้นจาก 6.5% ในปีที่แล้ว ขณะธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) คาดว่าจะขยายตัว 7.7% สูงสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน
ตัวเลขดังกล่าว สะท้อนถึงผู้คาดการณ์มองว่าภาวะเศรษฐกิจในพม่าคึกคัก ทั้งด้านการลงทุนและจ้างงาน
ตรงกันข้ามกับความเป็นจริง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญพม่ามองว่า สถานการณ์เศรษฐกิจพม่ายังคงซบเซา แทบไม่มีสัญญาณดีขึ้นเลย นับจากรัฐบาลพลเรือน นำโดยนางอองซาน ซูจี เข้าบริหารประเทศแทนรัฐบาลทหารผ่านไปปีกว่า
ซูจี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาแห่งรัฐ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ แต่เป็นผู้นำตัวจริงในภาคปฏิบัติ ยอมรับว่า ยังทำงานได้ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน เนื่องจากมีอุปสรรคหลายอย่างที่หมักหมมมานาน พร้อมกับเรียกร้องประชาชนอดทน และให้โอกาสรัฐบาลพิสูจน์ฝีมือต่อไป
แต่จากการตั้งความหวังไว้สูง ทำให้ประชาชนรู้สึกผิดหวัง เมื่อเห็นภาวะเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงจากเดิมไม่มากนัก ชาวบ้านยังคงใช้ชีวิตอย่างฝืดเคืองเหมือนเดิม เนื่องจากราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ ค่าแรงต่ำ ขณะราคาสินค้าอุปโภคบริโภคพุ่งสูง
เซอร์เก ปัน นักธุรกิจมหาเศรษฐกิจพม่า โจมตีรัฐบาลว่าล้มเหลวในการกำหนดแผนปฏิรูปเศรษฐกิจ เนื่องจากไม่ใส่ใจที่จะพัฒนาเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ไม่เข้าใจถึงความสำคัญของเศรษฐกิจ
เซอร์เก ปัน เรียกร้องรัฐบาลสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มากกว่าที่เป็นอยู่ โดยต้องปรับระบบราชการ และออกกฎหมายให้เอื้อต่อการลงทุน
นักธุรกิจมหาเศรษฐกิจพม่าระบุว่า การพัฒนาเศรษฐกิจที่มีความหวัง คือเครื่องมือทรงประสิทธิภาพที่สุด ในการยุติปัญหาความขัดแย้งกับชนกลุ่มน้อย
ส่วนคิน หม่อง นิว นักเศรษฐศาสตร์ มองว่าพม่ามีปัญหา เพราะคณะรัฐมนตรีอ่อนประสบการณ์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งไม่สามารถขจัดอุปสรรคนานัปการที่รัฐบาลทหารสร้างขึ้นและทิ้งไว้
คิน หม่อง นิว ระบุว่ารัฐบาลพม่ามีแผนกระตุ้นให้มีการจ้างงานจำนวนมาก แต่สถานการณ์ที่เป็นอยู่ยังห่างไกลเป้าหมาย
สถานการณ์ดังกล่าว เป็นที่มาของพลังผลักดันให้แรงงานพม่า ต้องเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ ที่มีความหวังมากกว่า โดยพลังส่วนนี้มีแนวโน้มคงอยู่อีกนาน
You must be logged in to post a comment Login