- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
สิ่งที่หายไป
คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น
“การปรองดองจะปรองดองด้วยใคร ผมไปบังคับได้หรือ ที่ผ่านมาเราก็อำนวยความสะดวกในเรื่องปรองดอง ซึ่งการปรองดองก็คือการร่วมมือกันของทุกฝ่าย ทุกขั้ว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักการเมือง หรือกลุ่มการเมืองใดๆก็แล้วแต่ ก็ต้องไปดูว่า 10 ประเด็นเหล่านี้จะทำให้เป็นรูปธรรมได้อย่างไร จะต้องทำอะไรบ้าง ประเด็นสำคัญคือการประท้วง การชุมนุมอะไรต่างๆ ที่เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ก็ต้องดูด้วยว่าสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่ต้องไม่ละเมิดกฎหมายด้วย รับกันได้หรือไม่ ก็ใช่ที่รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลัก แต่ก็กฎหมายลูกเยอะแยะไปหมด ตรงนี้เป็นสิ่งที่จะต้องชัดเจนในการลงนาม คนที่รับผิดชอบหากปรองดองไม่สำเร็จก็คือคนไทยทั้งประเทศ ที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน”
“บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พูดถึงเรื่องการสร้างความปรองดองที่คณะทำงานสรุปแนวทางออกมาได้ 10 ข้อ
ฟังจากน้ำเสียงท่านผู้นำยังหวังว่าจะมีการลงนามร่วมกันในสัญญาปรองดองที่เขียนขึ้นมา
ฟังจากน้ำเสียงท่านผู้นำเทน้ำหนักให้ความวุ่นวายในบ้านเมืองเกิดจากการชุมนุมที่ไม่เคารพกฎหมาย อ้างแต่สิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่ละเมิดกฎหมายอื่นโดยไม่สนใจผลกระทบที่เกิดจากการชุมนุม
ไม่ต่างจากหัวแรงใหญ่ที่ทำให้เกิดร่างสัญญาปรองดองอย่าง “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่แสดงท่าทีพอใจต่อเสียงตอบรับร่างสัญญาปรองดองที่กำลังนำออกไปทำความเข้ากับประชาชนทุกภูมิภาคอยูในตอนนี้
แน่นอนว่าร่างสัญญาปรองดองที่ทำออกมานั้นย่อมได้รับคำชมว่าดีเมื่อออกมาตามหลักการที่ประชาชนทุกคนรู้ดีว่าหากอยากให้ประเทศสงบสุขเกิดความสามัคคีต้องทำอย่างไร แต่การที่นำเสนออยู่ในหลักการก็ถูกมองว่าเป็นข้อเสนอที่กว้างเกินไป ที่สำคัญคือใครจะเป็นคนนำในการปฏิบัติ
“ร่างสัญญาประชาคมดังกล่าวยังเป็นเพียงข้อเสนอแนะกว้างๆที่ทุกคนพึงปฏิบัติ ยังขาดในส่วนของแนวทางการปฏิบัติ หรือกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่จะร่วมกันแก้ปัญหาและสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นจริง เพื่อให้ร่างสัญญาที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมสามารถจับต้องได้โดยเร็วและสอดคล้องกับสถาณการณ์ของประเทศ คณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง และรัฐบาลจะต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นในแนวทางการปฏิบัติและก่อให้เกิดกระบวนเรียนรู้ร่วมกันของคนไทย”
เป็นข้อเสนอแนะจาก นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา โฆษกพรรคชาติพัฒนา
ไม่ต่างจากมุมมองของ นายชวลิต วิชยสุทธิ์ อดีตรักษาการรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ที่ตั้งคำถามว่าร่างสัญญาปรองดองจะถูกนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร เพราะไม่มีแผนขั้นตอนในการปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม นอกจากไม่มีแผนนำไปสู่การปฏิบัติแล้ว ยังไม่มีเนื้อหาที่ระบุถึงการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองและการเปิดเผยข้อเท็จจริงผลการสอบสวนเหตุการณ์ต่างๆ ในร่างสัญญาปรองดองมุ่งเน้นแต่การไม่ละเมิดกฎหมาย
นั่นคือสิ่งที่ขาดหายไป ร่างสัญญาปรองดองต้องการให้ลืมอดีต มุ่งแต่ไม่ให้ก่อปัญหาใหม่ในอนาคตด้วยการไม่ละเมิดกฎหมาย
You must be logged in to post a comment Login