- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 5 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 7 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
3ชาติชูแผน‘มีลูกมากช่วยชาติ’
สังคมสูงวัย เป็นปัญหาที่หลายประเทศวิตก เนื่องจากเสี่ยงส่งผลกระทบต่อโครงสร้างสังคม และการขับเคลื่อนประเทศในด้านอื่นๆ
ปัญหากรณีนี้มาจากอัตราประชากรเกิดใหม่ต่ำ ไม่เพียงพอต่อการทำงานแทนผู้สูงวัยที่เกษียณไป
หลายประเทศจึงเร่งแก้ด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้ง “แนวทางตามธรรมชาติ” คือกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่แต่งงานตามวัยที่เหมาะสม และผลิตทายาท ยิ่งมีลูกได้มากยิ่งดี
ชาติที่ส่งเสริม “แนวทางตามธรรมชาติ” มีอย่างน้อย 3 ประเทศ คือสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โดยญี่ปุ่นรณรงค์ให้ผู้ประกอบการลดชั่วโมงทำงาน เพื่อให้ลูกจ้างมีเวลาส่วนตัวมากขึ้น เพิ่มสถานที่ดูแลทารก และลดภาษีเงินได้ผู้ทำงานพาร์ทไทม์ เพื่อให้แม่มีรายได้ขณะดูแลลูกเล็ก
ส่วนสิงคโปร์ทุ่มงบรณรงค์กว่า 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ (44,200 ล้านบาท) ดำเนินมาตรการจูงใจหลายอย่าง เช่น ให้ลาคลอดได้ 4 เดือน โดยได้รับเงินเดือนปรกติ และให้เงินช่วยเหลือสูงสุด 18,000 เหรียญสหรัฐ (612,000 ล้านบาท) แก่ครอบครัวที่มีลูก 5 คนขึ้นไป
ด้านเกาหลีใต้รณรงค์แบบ “จัดหนักจัดเต็ม” ด้วยแผนจูงใจหลายรายการ ใช้งบเฉพาะปีนี้ 19.84 ล้านเหรียญสหรัฐ (675 ล้านบาท) ครอบครัวมีลูก 4 คนขึ้นไป รับค่าเลี้ยงดูทันที 1,700 เหรียญสหรัฐ (57,800 บาท)
นอกจากนั้น ฝ่ายบริหารท้องถิ่นหลายเมือง ยังตบเงินรางวัลเพิ่มอีกจำนวนหนึ่ง
ทั้ง 3 ประเทศ ผลักดันแผนเพิ่มประชากรมาต่อเนื่องหลายปี แต่ผลงานล่าสุดในรอบปีที่ผ่านมาพลาดเป้าทั้งหมด โดยสิงคโปร์มีเด็กเกิดปีที่แล้ว 33,161 คน ลดลงจากสถิติปีก่อนประมาณ 600 คน ถือว่าต่ำกว่าเป้าเล็กน้อย
ส่วนญี่ปุ่นพลาดเป้าไปไกล มีเด็กเกิดต่ำสุดเป็นสถิติใหม่จำนวน 976,979 คน ลดลงจากปีก่อน 28,698 คน โดยเป็นปีแรกที่อัตราการเกิดต่ำกว่า 1 ล้านคน นับตั้งแต่มีการบันทึกสถิติจากปี 1899 เป็นต้นมา รวมระยะเวลา 117 ปี (นับถึงปีที่แล้ว)
เกาหลีใต้วืดเป้าไกลเช่นกัน มีเด็กเกิดต่ำสุดเป็นสถิติใหม่เพียง 406,300 คน ลดลงจากปีก่อน 32,100 คน
ตัวแปรสำคัญที่ทำให้แผนรณรงค์เข็นไม่ขึ้น ได้แก่ ค่านิยมด้านฐานะ คิดว่าต้องหาเงินต้องรวยก่อนมีครอบครัว และภาระค่าเลี้ยงดูลูก รวมทั้งเงื่อนไขการจ้างงาน ที่เน้นให้ลูกจ้างผลิตผลงานได้เยอะๆ และมีคุณภาพดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำให้ลูกจ้างหมกมุ่นอยู่กับงาน
แม้ผลการรณรงค์ที่ผ่านมา ไม่เป็นไปตามเป้า แต่ทั้ง 3 ประเทศยังคงผลักดันเรื่องนี้ต่อ เพราะเห็นว่าเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่สำคัญ ในการป้องกันประเทศอ่อนแอ จากการขาดกำลังคนรุ่นใหม่ขับเคลื่อน
You must be logged in to post a comment Login