- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
ผู้นำอินโดฯ สั่งยิงทิ้งนักค้ายา

อินโดนีเซียเป็นอีกหนึ่งประเทศ ที่ประสบปัญหายาเสพติด “เกลื่อน” เมือง ถึงขั้นประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ไฟเขียวให้ตำรวจวิสามัญฆาตกรรมผู้ค้าที่ขัดขืนการจับกุมได้ทันที
การสั่งให้ตำรวจใช้ไม้ตายของผู้นำอินโดฯ ครั้งนี้ มีขึ้น 1 สัปดาห์ หลังจับกุมแก๊งค้ายาเสพติดชาวไต้หวัน 4 คน และวิสามัญฯ เสียชีวิต 1 คน พร้อมกับยึดของกลาง ยาไอซ์ ได้จำนวนมากเป็นสถิติใหม่ 1 ตัน ที่ย่านชานกรุงจาการ์ตา
ผู้นำอินโดฯ กล่าวกับตำรวจว่า ต้องทำงานอย่างหนักแน่นเด็ดเดี่ยว หากผู้ค้าต่อสู้ขัดขืนการจับกุม โดยเฉพาะชาวต่างชาติ ให้ “ยิงทิ้ง” ได้ทันที โดยไม่ต้องรีรอ ระบุสถานการณ์ยาเสพติดในอินโดฯ ปัจจุบันอยู่ในขั้นวิกฤต
อาญาสิทธิ์ของผู้นำอินโดฯ สร้างความฮือฮาในวงกว้าง หลายฝ่ายมองว่า เป็นมาตรการทำสงครามกำจัดยาเสพติดที่ดุดันรุนแรง เช่นเดียวกับแผนของประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตร์เต้ แห่งฟิลิปปินส์ ซึ่งตำรวจฟิลิปปินส์วิสามัญฯ ผู้ค้าและผู้ที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพติดไปแล้วกว่า 5,200 คน นับตั้งแต่เริ่มปฏิบัติการ เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว เป็นต้นมา
กลุ่มสิทธิมนุษยชนคัดค้าน “แผนโหด” ของผู้นำฟิลิปปินส์มาต่อเนื่อง รวมทั้งห่วงใยสถานการณ์ในอินโดฯ หลังผู้นำไฟเขียวให้ตำรวจเด็ดชีพผู้ค้า
อินโดฯ ใช้บทลงโทษหนัก คือโทษประหารชีวิตผู้ค้ายาเสพติดมานาน แต่ปัญหาไม่คลี่คลาย ในทางตรงกันข้าม ยาเสพติดกลับระบาดรุนแรงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
สำนักงานปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติอินโดฯ ระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ติดยาเสพติดในประเทศประมาณ 6 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 255 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงจาการ์ตาประมาณ 1.2 ล้านคน
ผู้ตกเป็นทาสยาเสพติดส่วนใหญ่ เป็นคนรุ่นใหม่วัยทำงาน อายุระหว่าง 25-30 ปี
ด้าน พิตัน ดัสลานี ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการแห่งชาติ (Managing the Nation Institute) กรุงจาการ์ตา ระบุว่า การลงโทษประหารชีวิตผู้ค้ายาเสพติดของอินโดฯ ถือว่าล้มเหลว เพราะไม่สามารถจำกัดผู้ค้าให้หมดได้
ดัสลานีเห็นว่าการวิสามัญฯ หรือสังหารผู้ค้าทุกกรณี เป็นมาตรการไร้ประโยชน์เช่นเดียวกับการลงโทษประหารชีวิต เนื่องจากไม่ใช่วิธีแก้โจทย์ที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ ดัสลานีมองว่า สาเหตุสำคัญของปัญหา อยู่ที่ “ดีมานด์-ซัพพลาย” เมื่อมีผู้เสพ ปล่อยสินค้าได้คล่อง ย่อมมีผู้ขายเสมอ
ดัสลานีแนะสูตรสำเร็จแบบง่ายๆ ในการแก้ปัญหาว่า สิ่งแรกที่ต้องจัดการคือ ต้องไม่ให้มีผู้เสพ
ข้อเสนอของดัสลานีไม่ใช่งานง่ายแน่นอน แต่ถ้าภาครัฐตั้งหน่วยงานรับผิดชอบอย่างจริงจัง ก็ไม่น่าเกินความสามารถที่จะทำได้สำเร็จ
You must be logged in to post a comment Login