- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
จีนรุกธุรกิจออนไลน์อาเซียน

บริษัทธุรกิจออนไลน์รายใหญ่แดนมังกร เข้ามายึดอาเซียนเป็นฐานที่มั่นนอกประเทศ ด้วยเห็นว่าเป็นภูมิภาคมีศักยภาพสูง เป็นตลาดเกิดใหม่ที่ธุรกิจออนไลน์ มีแนวโน้มเติบโตรวดเร็วและต่อเนื่อง
ค่ายเทคโนโลยีระดับยักษ์ของจีน ที่เข้ามาเปิดตลาด นำโดย Alibaba Group Holding ของแจ๊ค หม่า บริษัท Ant Financial ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ Alibaba และ Tencent Holdings แห่งนครเซินเจิ้น เจ้าของแอปพลิเคชัน WeChat และเว็บไซต์ QQ.com
การประกอบธุรกิจในอาเซียน ใช้วิธีดำเนินการผ่านบริษัทท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็นสตาร์ทอัพ (Startup) ซึ่งบริษัทจีนเข้าซื้อกิจการ หรือบางกรณีก็ทำสัญญาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกัน
ค่ายยักษ์ด้านอีคอมเมิร์ซ Alibaba สยายปีกคลุมภูมิภาคอาเซียน ด้วยการซื้อกิจการ Lazada Group ครองสัดส่วนหุ้น 83%
ส่วน Ant Financial ผู้ให้บริการธุรกรรมทางการเงินรายใหญ่ ปัจจุบันบริษัทมีสินทรัพย์มูลค่ารวม 60,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (2.04 ล้านล้านบาท) ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของ Alibaba เจาะตลาดกลุ่มอาเซียน
Ant Financial ซื้อกิจการสตาร์ทอัพท้องถิ่น 3 ประเทศ ประกอบด้วยการเข้าถือหุ้นบริษัท Ascend Money ในไทย บริษัท Mynt ในฟิลิปปินส์ และบริษัท M-Daq ในสิงคโปร์
ด้าน Tencent Holdings ทำสัญญาถือหุ้นบริษัท Go-Jek ในอินโดนีเซีย โดยทุ่มเงินลงทุนไปแล้วอย่างน้อย 100 ล้านเหรียญสหรัฐ (3,400 ล้านบาท) นอกจากนั้น ยังร่วมงานกับบริษัท ABC360 ในฟิลิปปินส์ และบริษัท Ookbee U รวมทั้งเว็บไซต์ Sanook ในไทย
CB Insights บริษัทวิจัยเกี่ยวกับธุรกิจออนไลน์และสตาร์ทอัพ แห่งนครนิวยอร์ก สหรัฐ ระบุว่า บริษัทเทคโนโลยีของจีน ควักเงินลงทุนไปแล้วอย่างน้อย 3,270 ล้านเหรียญสหรัฐ (111,180 ล้านบาท) นับจากเข้ามาปักหลักในประเทศอาเซียนได้ปีกว่า เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2015 เป็นต้นมา
CB Insights อธิบายว่า ที่บริษัทเทคโนโลยีจีนเข้ามาลงทุนในอาเซียน เนื่องจากมองว่าเป็นภูมิภาคมีอัตราการใช้สมาร์ทโฟน รวมทั้งทำธุรกรรมผ่านสมาร์ทโฟน ขยายตัวต่อเนื่อง อีกทั้งประชากรกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ซึ่งมีมากถึง 600 ล้านคน มีสัดส่วนคนวัยหนุ่มสาวจำนวนมาก และการทำธุรกรรมทางการเงิน มีแนวโน้มจะเติบโตแบบก้าวกระโดด
ธุรกิจที่บริษัทจีนเห็นว่า เป็นช่องทางทำรายได้สำคัญที่สุดในอาเซียน คือบริการ “Digital wallet” แอปพลิเคชันที่ช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินหลายอย่างสะดวกสบาย อยู่ที่ไหนก็สามารถทำได้ด้วยสมาร์ทโฟน
สำหรับความเคลื่อนไหวเท่าที่ผ่านมา ถือว่าอยู่ในช่วงเริ่มต้น นักวิเคราะห์คาดว่า ยังมีบริษัทจีนอีกหลายค่าย ที่วางแผนเข้ามาปักหลัก ยึดอาเซียนเป็นฐานที่มั่นในอนาคต
You must be logged in to post a comment Login