- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
หลังคำพิพากษา
คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น
แม้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะมีคำพิพากษายกฟ้องคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น. ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เนื่องจากเห็นว่าร่วมกันออกคำสั่งให้ตำรวจสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่บริเวณหน้าอาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 เนื่องจากเห็นว่าการสลายการชุมนุมไม่เป็นไปตามหลักสากลเกินกว่าเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 รายบาดเจ็บ 417 คน
แต่เรื่องนี้ยังไม่จบ
ภาคต่อแรกของเรื่องเกิดความเคลื่อนไหวของแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯที่นัดรวมตัวเพื่อประชุมหารือกันเพื่อทำข้อเสนอไปยังป.ป.ช.ให้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลฎีกาฯโดยให้เหตุผลว่าเมื่อรัฐธรรมนูญใหม่เปิดช่องให้ทำได้ ก็ต้องใช้สิทธิให้ถึงที่สุดเพื่อความเป็นธรรม
กรณีนี้ป.ป.ช.มีเวลายื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วันหลังศาลฎีกามีคำพิพากษา
ภาคต่อถัดมาคือความเห็นแตกเป็นสองทางว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาฯจะสามารถใช้เป็นบรรทัดฐานควบคุมการชุมนุมทางการเมืองหรือการจัดชุมนุมทางการเมืองในอนาคตได้หรือไม่
บ้างเห็นว่าใช้เป็นบรรทัดฐานได้ เพราะสิ่งใดที่พันธมิตรฯทำแล้วศาลฎีกาฯเห็นว่าไม่ถูกต้อง สิ่งใดที่เจ้าหน้าที่ทำในขณะสลายการชุมนุมแล้วศาลฎีกาฯเห็นว่าทำถูกต้อง จะทำให้แกนนำ ผู้เข้าร่วมชุมนุมตระหนักมากขึ้นว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ ในขณะที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่ก็จะมีความมั่นใจมากขึ้นว่าอะไรที่ทำแล้วจะไม่เกิดโทษกับตัวเองในภายหลัง
ส่วนคนที่เห็นว่าใช้เป็นบรรทัดฐานไม่ได้ เพราะการชุมนุม การสลายการชุมนุมแต่ละครั้งนั้นมีรายละเอียดต่างกัน การจะพิจารณาว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ ทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมและฝ่ายเจ้าหน้าที่อยู่ที่บริบท อยู่ที่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ทั้งนั้นความเห็นต่างเป็นเรื่องปรกติ แต่หน้าที่ตัดสินว่าอะไรถูกผิดก็เป็นเรื่องของศาลที่จะชี้ขาด
อย่างไรก็ตาม มีประเด็นน่าสนใจที่ต้องพิจารณาว่าเมื่อศาลไม่ได้มีศาลเดียว ถ้าจะยึดคำตัดสินเป็นบรรทัดฐาน หากกรณีเดียวกันแต่ศาลตัดสินออกมาไม่เหมือนกันควรจะยึดถือคำตัดสินของศาลใด
นี่คือปัญหาที่ต้องร่วมกันหาคำตอบ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
กรณีการชุมนุมของพันธมิตรฯมีความย้อนแย้งในคำตัดสินของแต่ละศาลอยู่พอสมควร
ยกตัวอย่างเช่น ศาลฎีกาฯยกฟ้องเพราะเห็นว่าการสลายการชุมนุมทำตามหลักสากล แต่ศาลปกครองกลางเคยตัดสินคดีนี้เอาไว้เมื่อปี 2555 ว่าการสลายการชุมนุมไม่เป็นไปตามหลักสากลที่คำสั่งให้สำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานตำรวจแห่งชาติจ่ายค่าเสียหายแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมรวม 32 ล้านบาท
ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดซึ่งคาดว่าจะมีคำพิพากษาออกมาเร็วๆนี้ ซึ่งน่าสนใจว่าคำพิพากษาจะออกมาทำนองเดียวกับศาลฎีกาฯหรือศาลปกครองกลาง
นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญและอาญาเคยมีคำพิพากษาในคดีที่ฟ้องร้องกันก่อนหน้านี้ว่าการชุมนุมของพันธมิตรฯเป็นไปโดยสงบ ใช้สิทธิชุมนุมตามรัฐธรรมนูญและเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะไม่ใช่เพื่อตัวเองทำให้ยกฟ้องมาหลายคดี
แต่คำตัดสินของศาลฎีกาฯเห็นว่าไม่ได้เป็นการชุมนุมโดยสงบจึงยกฟ้องนายสมชาย พล.อ.ชวลิต พล.ต.อ.พัชรวาท และพล.ต.ท.สุชาติ
ที่ยกเรื่องนี้ขึ้นมาก็เพื่อให้ช่วยกันหาคำตอบว่าหากต้องการสร้างบรรทัดฐานให้การชุมนุมทางการเมืองที่จะมีขึ้นต่อไปในอนาคตข้างหน้า สร้างบรรทัดฐานให้การปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมของเจ้าหน้าที่
เราจะใช้อะไรสร้างบรรทัดฐานให้ทุกฝ่ายยึดถือปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบ้านเมือง
You must be logged in to post a comment Login