- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ยังไม่สุดทาง
คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น
ความเคลื่อนไหวของแกนนำม็อบเหลือง-แดงกลับมาอยู่ในความสนใจของประชาชนอีกครั้ง
เป็นความสนใจอันเนื่องมาจากการสลายการชุมนุมของทั้งสองกลุ่ม
กลุ่มหนึ่งมีคดีความขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งศาลฎีกาฯเพิ่งตัดสินไปไม่กี่วันนี้ว่าให้ยกฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐที่ถูกกล่าวหาร่วมกันออกคำสั่งให้สลายชุมนุมเกินกว่าเหตุไม่เป็นไปตามหลักสากล
กลุ่มหนึ่งไม่มีคดีความขึ้นสู่การพิจารณาคดีของศาลฎีกาฯเพราะกระบวนการยุติธรรมชั้นต้นอย่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตีตกคำร้องให้สอบเอาผิดผู้ร่วมกันออกคำสั่งสลายการชุมนุมที่ทำให้มีคนบาดเจ็บล้มตาย
หลังศาลฎีกาฯตัดสินยกฟ้อง นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตผบ.ตร.กับอดีตผบช.น. แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนัดประชุมกันเพื่อยื่นเรื่องให้ป.ป.ช.ใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คดี
คำร้องให้ป.ป.ช.อุทธรณ์คดีต่อศาลฎีกาฯถูกส่งถึงป.ป.ช.อย่างเป็นทางการแล้วโดยแสดงเหตุผล 7 ข้อ
ทั้ง 7 ข้อเมื่อพิจารณาแล้วไม่มีอะไรใหม่ไปกว่าเดิมเป็นการยืนยันหลักคิดว่าทำไมจึงเห็นว่านายสมชาย พล.อ.ชวลิตและพวกควรมีความผิด
ส่วนจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่อยู่ในอำนาจตัดสินใจของป.ป.ช.ซึ่งมีเวลา 30 วันหลังจากศาลมีคำพิพากษาไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
อย่างที่ทราบกันว่าหลังศาลตัดสินมีหลายฝ่ายออกมาเรียกร้องให้ป.ป.ช.ยื่นอุทธรณ์คำตัดสินส่วนเหตุผลสนับสนุนแยกได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ไม่ถูกใจคำตัดสินของศาล กลุ่มที่เห็นว่าเมื่อมีสิทธิอุทธรณ์คดีได้ก็ควรใช้สิทธิ และกลุ่มที่เห็นว่าเมื่อยังไม่สุดทางก็ไปให้สุดสถานีปลายทาง หลังคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ไม่ว่าจะออกมาอย่างไรเรื่องจะได้จบเพราะสุดทางของกระบวรการยุติธรรมแล้ว
เมื่อพิจารณาจากเหตุผลก็สมควรยื่นอุทธณ์เพราะเมื่อไปสุดทางแล้วต่อให้ใครไม่พอใจอย่างไรก็ต้องยอมจบ ต้องยอมรับในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งจะทำให้หมดข้ออ้างที่จะใช้เคลื่อนไหวต่อไป
เช่นเดียวกับกรณีการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่ป.ป.ช.ชุดเก่ามีมติยกคำร้องก็สมควรปัดฝุ่นหยิบยกขึ้นมาพิจารณาใหม่ เพราะทั้งแกนนำและมวลชนฝ่ายนี้ยังมีความแคลงใจผลการพิจารณาอยู่
แม้ป.ป.ช.ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมต้นน้ำจะมีอำนาจตัดสินใจได้ว่าจะรับเรื่องไว้พิจารณาหรือไม่ก็ได้ หรือพิจารณาแล้วจะชี้มูลความผิดผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่ก็ได้
แต่เมื่อยังมีกระบวนการให้ไปต่อได้ก็ควรไปให้สุดสถานีปลายทางเช่นเดียวกับกรณีสลายการชุมนุมของม็อบพันธมิตรฯที่ป.ป.ช.ตัดสินใจยื่นฟ้องคดีเองโดยตรงต่อศาลฎีกาฯทั้งที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้องเนื่องจากเห็นว่าสำนวนไม่สมบูรณ์
หากป.ป.ช.ยื่นอุทธรณ์คดีสลายม็อบพันธมิตรฯก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่รื้อเรื่องสลายชุมนุมม็อบเสื้อแดงขึ้นมาพิจารณาใหม่
ถ้ายื่นอุทธรณ์คดีหนึ่งแล้งเพิกเฉยต่ออีกกรณีหนึ่งจะยิ่งเพิ่มความแคลงใจต่อประชาชน แน่นอนว่าไม่เป็นผลดีต่อบรรยากาศปรองดอง
อยากให้เรื่องจบแบบถึงจะกังขาก็ทำอะไรไม่ได้ก็ต้องไปให้สุดสถานีปลายทางของกระบวนการยุติธรรมทั้งสองกรณี
You must be logged in to post a comment Login