- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
อินเดียเร่งสร้างถนนสู่อาเซียน
อินเดียเริ่มพัฒนาเส้นทางไตรภาคี เชื่อมต่อระหว่างอินเดีย พม่า และไทย เมื่อปี 2001 หรือเมื่อ 16 ปีที่แล้ว ตั้งเป้าแล้วเสร็จใช้สัญจรได้ในปีนี้
แต่ด้วยประสบปัญหาหลายอย่างทั้งในอินเดียและพม่า ทำให้โครงการล่าช้า “พลาดเป้า” ที่กำหนดไว้
เส้นทางไตรภาคีสายนี้ รวมระยะทางประมาณ 3,200 กิโลเมตร เชื่อมต่อระหว่างเมืองโมเรห์ รัฐมณีปุระ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย กับอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งระยะทางส่วนใหญ่อยู่ในประเทศพม่า
อินเดียพยายามแก้ปัญหาและผลักดันโครงการในเวลาต่อมาค่อนข้างเชื่องช้า ก่อนจะ “ปรับทัศนคติ” ใส่เกียร์เดินหน้าอย่างจริงจังอีกครั้งในปีนี้
เหตุผลหนึ่งที่อินเดียกลับมามุ่งมั่นผลักดันโครงการนี้ให้สำเร็จ คือต้องการแข่งกับจีน โดยจีนดำเนินโครงการทางรถไฟเชื่อมต่อลาว ไทย และมาเลเซีย ตามแผน “หนึ่งแนวเขตหนึ่งเส้นทาง” (One Belt and One Road) ค่อนข้างเป็นรูปธรรมกว่า
อินเดียมองว่า ตกอยู่ในสถานการณ์เป็นรองจีน และมีแนวโน้มจะแพ้จีนแบบหมดทางสู้ ใน “ศึก” ชิงกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นพันธมิตรทางการค้าการลงทุน จึงฮึดขับเคลื่อนโครงการรอบใหม่ โดยมีไทยเป็นประเทศแนวหน้าให้ความร่วมมือ
การพัฒนาช่วงสุดท้ายอยู่ในพม่า อินเดียใช้งบช่วยเหลือพม่า 256 ล้านเหรียญสหรัฐ (8,550 ล้านบาท) และเข้าไปดำเนินการเอง งานส่วนใหญ่เป็นการขยายและปรับปรุงถนนที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งซ่อมสะพานเดิม 69 แห่ง
อินเดียมั่นใจว่า โครงการจะแล้วเสร็จใช้สัญจรได้ต้นปี 2019 นับคร่าวๆก็อีกประมาณ 1 ปี 4 เดือน ช่วยให้การเดินทางขนส่งสินค้าและท่องเที่ยวสะดวกขึ้น โดยใช้เวลาเดินทางระหว่างเมืองโมเรห์กับแม่สอด ประมาณ 14 ชั่วโมง
หลังโครงการเฟสแรกแล้วเสร็จ อินเดียวางแผน “ฮึดก๊อก 2” ร่วมมือกับไทยและประเทศที่เกี่ยวข้อง ดำเนินโครงการเฟส 2 ต่อจากพม่าสู่เวียดนาม
โครงการเฟส 2 ดำเนินการตามแผน “ระเบียงเศรษฐกิจตามแนวตะวันออก-ตะวันตก” (East-West Economic Corridor) หรือแผน “เส้นทาง R9” ระยะทาง 1,450 กิโลเมตร เริ่มจากท่าเรือเมืองเมาะละแหม่ง (Mawlamyine) ของพม่า เชื่อมต่อกับเส้นทางเฟสแรก เข้าสู่แม่สอดพาดยาวสู่มุกดาหาร ข้ามพรมแดนไปยังลาว และไปสิ้นสุดที่เมืองดานัง เวียดนาม
เมื่อเปิดใช้งานโครงการเฟส 2 เส้นทางเชื่อมต่อจะขยายจาก “อินเดีย-ไทย” เป็น “อินเดีย-เวียดนาม”
ทั้งนี้ อินเดียคาดหวังว่า เส้นทางนี้จะเป็นยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านธุรกิจและการค้า ที่ช่วยให้อินเดียมีบทบาทในอาเซียนพอสู้กับจีนได้
You must be logged in to post a comment Login