- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
“มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม” ชูนวัตกรรมจิตอาสาวิถีสุขภาวะทางปัญญา ช่วยส่งเสริมป้องกันและแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
นางสาวสุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง ผู้จัดการโครงการพัฒนาสมรรถนะจิตอาสาและเครือข่ายด้วยวิถีการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากการเชิญชุมชนทั้ง 6 ชุมชน จาก3เขตของกรุงเทพมหานคร มาร่วมศึกษาเรียนรู้ ฝึกทักษะด้านการทำงานป้องกันปัญหาความรุนแรงเพื่อให้มีความเข้าใจรับรู้ถึงผลกระทบสำคัญที่ไม่ใช่เพียงผู้หญิงที่ถูกกระทำเท่านั้น ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมได้รับรู้ถึงปัญหาของเด็ก เยาวชนที่ก้าวพลาด ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาเด็กที่ถูกนำไปเลี้ยงที่บ้านเด็กอ่อนของภาครัฐ การฝึกให้ทบทวนตนเองของแกนนำชุมชนว่ามองตนเองกับคนอื่นมองเราเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
กิจกรรมครั้งนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมได้ลงมือทำเองในชุมชน หลังการฝึกอบรม เกิดข้อค้นพบมิติจิตอาสา ไม่เพียงตนเองเปลี่ยน เกิดความร่วมมือที่ดีต่อกัน ร่วมมือคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันดูแลจัดการสุขภาวะถิ่นฐานที่อยู่ ดูงามตา ที่สำคัญผู้สูงอายุเดิมอยู่แต่ในห้อง ก็สามารถออกมาร่วมงานของชุมชนได้ และที่ต้องเอ่ยถึงคือมีผู้ชายรายหนึ่งก่อนเข้าร่วมมีพฤติกรรมมีกิ๊กหลายคน แต่เมื่อมาเข้าร่วมกิจกรรมเห็นปัญหาและเกิดความตระหนักว่าสิ่งที่กระทำนั้นผิดต่อครอบครัวขาดจริยธรรมต้องเปลี่ยน และการเปลี่ยนที่สำคัญ คือ ทำที่ตนเอง และสร้างเป้าหมายร่วมของครอบครัว ส่วนชุมชนก็เช่นกัน ถ้าแกนนำมีความตระหนักเข้าใจปัญหา ก็สามารถยุติปัญหาได้ตั้งแต่ต้นทางที่ครอบครัว
นางสาวเนตินาฏ ยวงสะอาด ทนายจิตอาสา กล่าวว่า เริ่มทำงานเป็นทนายจิตอาสากับทางมูลนิธิฯมาตั้งแต่ปี30 แรงบันดาลใจที่อยากให้ทำงานด้านนี้คือ อยากให้ผู้ประสบปัญหาที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมได้หลุดพ้น เหมือนเราได้ทำบุญได้ช่วยเหลือเขา ซึ่งคดีความที่ผู้เสียหายเข้ามาขอความช่วยเหลือมากที่สุดคือ 90% เป็นการหึงหวง สามีมีเมียน้อย ถูกสามีทำร้ายร่างกาย บังคับทารุณทางเพศ ขอเลิกไม่ยอมเลิก ลูกมีปัญหา ถูกทอดทิ้ง ซึ่งส่วนใหญ่เลือกที่จะหย่า หลายรายเครียดคิดสั้นกินยาฆ่าตัวตาย เป็นโรคซึมเศร้า และคดีที่ได้ช่วยเหลือมีมากกว่า80ราย ที่เป็นข่าวดัง คือ ภรรยาถูกสามีที่เป็นนายกฯอบต.จ้างวานฆ่า เนื่องจากฝ่ายหญิงทนพฤติกรรมไม่ไหวขอเลิกแต่ผู้ชายไม่ยอม ซึ่งขณะนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งคดีนี้หากไม่หาเบาะแสไม่หาข้อมูลจะทำให้ผู้ชายลอยนวล อย่างไรก็ตาม จะทำหน้าที่ทนายจิตอาสาต่อไป เพราะมันมีค่ามากกว่าเงินทอง มีความสุขที่ได้เป็นผู้ให้ ทั้งนี้อยากฝากถึงผู้ที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงขอให้ลุกขึ้นสู้ ออกมาปกป้องศักดิ์ศรีของตัวเอง
นางสาวศรีจันทร์ แสงหิรัญวัฒนา ที่ปรึกษาชุมชนชาวชูชีพ กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้ได้เข้ามาร่วมในโครงการนี้ คือส่วนตัวเป็นคนที่ทำงานช่วยเหลือสังคม และเป็นจิตอาสามาก่อนหน้านี้อยู่แล้ว โดยมีประธานกลุ่มฯคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ แม้ตอนแรกจะยังไม่เข้าใจงานด้านนี้ แต่พอทำไปเรื่อยๆก็เริ่มซึมซับ และได้ร่วมทำกิจกรรมต่างๆ เห็นถึงความสำคัญ เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นในสังคม แล้วได้มองเห็นศักยภาพของตัวเองว่าเราก็ทำได้และทำออกมาได้ดี และเริ่มเต็มใจที่จะเข้ามาช่วยอย่างสนิทใจ เมื่อได้ช่วยเหลือก็รู้สึกภูมิใจ
ที่ผ่านมาได้ไปช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ เช่นล่าสุดได้ฝึกอบรมห้องเรียนผู้สูงอายุ ทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุ เช่น งานประดิษฐ์ การทำอาหาร ทำให้เห็นว่าผู้สูงอายุมีแนวคิดที่เป็นประโยชน์ นำมาปรับใช้ได้ จะเห็นว่าผู้สูงอายุเขาไม่ได้สนใจเรื่องของวิชาการ แต่เขาสนใจด้านงานประดิษฐ์ กิจกรรมที่ได้ลงมือทำ เพื่อเขาจะนำวิชาที่ได้ไปต่อยอดหาเลี้ยงครอบครัวได้ การมาเป็นจิตออาสาทำให้ได้เห็นถึงความสามัคคี จากเมื่อก่อนเห็นหน้ากันก็ไม่ทักทายไม่มีมนุษยสัมพันธ์ แต่ตอนนี้บรรยากาศเปลี่ยนไป ได้มิตรภาพที่ดีๆเกิดขึ้น
นายละมัย อินทมหรรณ์ รองประธานชุมชนหลังโรงเจ และผู้รับผิดชอบโครงการส่งคืนความสุขผู้สูงอายุ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ใช้ชีวิตไปแบบวันๆ รักสนุก ไม่สนใจครอบครัว มีบ้านเล็กบ้านน้อยมาตลอด และเป็นคนที่เจ้าชู้มาก มีภรรยามาแล้วถึง8คน คบๆเลิกๆ อยู่กันได้ไม่นาน กระทั้งทำให้ได้รู้ว่าการมีชีวิตแบบนี้ไม่ได้มีความสุขเลย เพราะต้องหวาดระแวงกลัวจะถูกจับได้ มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งตลอด และภรรยาเองก็รู้มาตลอดว่าตนเองมีบ้านเล็กบ้านน้อย ภรรยาไม่เคยมีความสุขเลย เพราะต้องอดทนกับพฤติกรรม กระทั่งได้รับคำแนะนำจากสำนักงานเขตจตุจักร และได้เข้าร่วมโครงการนี้ จนทำให้เปลี่ยนแปลงความคิด เปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง สงสารครอบครัว สงสารภรรยา จนกลับมาเป็นคนใหม่ รักเดียวใจเดียว ขอสัญญาว่าจะเลิกพฤติกรรมมีกิ๊กเด็ดขาด อีกทั้งได้ชักชวนภรรยาให้เข้าร่วมโครงการด้วยกัน
ได้ทำกิจกรรมจนเกิดความชื่นชอบ เพราะสามารถมองเห็นประโยชน์ต่อส่วนร่วม และผลที่ได้รับสะท้อนกลับมามันเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อคนอื่น โครงการนี้ได้ให้สิ่งดีๆมากมาย เช่น ได้มาทำกิจกรรมออกกำลังกายของผู้สูงวัย ห่อข้าวต้มมัดทุกวันวันเสาร์ ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมอื่นๆร่วมกัน จนเกิดเป็นความสามัคคี เกิดมิตรภาพที่ดี และหวังว่าจะได้มำโครงการดีๆแบบนี้อย่างต่อเนื่อง
You must be logged in to post a comment Login