วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2568

ดาวอังคารมีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว / โดย ทีมข่าวการเมือง

On August 21, 2017

คอลัมน์ : เรื่องจากปก
ผู้เขียน : ทีมข่าวการเมือง

ผ่านไปอีกคดีสำหรับกรณี “ไผ่ ดาวดิน” นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย เมื่อศาลจังหวัดขอนแก่นได้อ่านคำพิพากษาลับตัดสินจำคุกเป็นเวลา 5 ปี แต่ลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือ 2 ปี 6 เดือน โดยรายงานข่าวระบุว่า “ไผ่” ให้การรับสารภาพพร้อมน้ำตาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อนหน้านี้ “ไผ่” ได้ขอประกันตัวถึง 10 ครั้ง แต่ศาลไม่อนุญาต

“ไผ่” เป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2559 ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและละเมิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการแชร์บทความ “พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10” ของ “บีบีซีไทย” ไว้บนเฟซบุ๊คส่วนตัวเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2559 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวมีผู้แชร์บทความเดียวกันประมาณ 2,600 ราย แต่ปรากฏว่า “ไผ่” ถูกดำเนินคดีเพียงคนเดียว แม้แต่ “บีบีซีไทย” ที่เผยแพร่บทความก็ไม่ถูกดำเนินคดี

จนล่าสุดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม “ไผ่” ได้ตัดสินใจรับสารภาพ ซึ่งนายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในฐานะทนายความของ “ไผ่” กล่าวว่า “ไผ่” ตัดสินใจรับสารภาพ “โดยสมัครใจและไม่มีแรงบีบคั้น” โดยให้เหตุผลว่า “หากสืบพยานต่อไปอาจมีผลสะเทือนในหลายเรื่อง” ซึ่งอาจสืบเนื่องจากการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน และศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีโดยลับ ซึ่ง “ไผ่” ยังมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน

กรณีของ “ไผ่” ถูกกดดันด้วยวิธีการต่างๆมาโดยตลอด ซึ่งเป็นอุปสรรคในการต่อสู้คดีเป็นอย่างมาก แม้แต่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีโดยตรงอย่างนักกิจกรรมที่มาให้กำลังใจก็ถูกดำเนินคดีละเมิดอำนาจศาลจากการทำกิจกรรมที่ทางเท้าบริเวณด้านหน้าศาล

นอกจากคดีนี้แล้ว “ไผ่” ยังมีคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณาอีก 1 คดีคือ คดีชูป้ายและชู 3 นิ้วต่อต้าน 1 ปีรัฐประหารระหว่างที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กำลังมอบนโยบายให้กับเจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภาคอีสานบริเวณศาลากลางจังหวัดขอนแก่น

จากอิสรภาพ “ไผ่” ถึงเสรีภาพ “เนติวิทย์”

กรณีของ “ไผ่” สะท้อนถึงการต่อต้านรัฐประหารของนักศึกษาและนักวิชาการด้วยการแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ แม้จะเป็นไปอย่างสงบ หรือแม้แต่ยืนเฉยๆ ก็ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาต่างๆ ช่วง 3 ปีที่ผ่านมาการจัดกิจกรรมของนักศึกษาและนักวิชาการถูกจับตาอย่างใกล้ชิดจากรัฐบาลทหารและ คสช. รวมทั้งผู้บริหารของมหาวิทยาลัย

เช่นเดียวกับกรณีของนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานสภานิสิตจุฬาฯ พร้อมด้วยเพื่อนสภานิสิตจุฬาฯอีก 7 คน ที่ถูกโยงว่าเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่มที่ต่อต้านรัฐประหาร ทั้งที่เป็นเหตุการณ์ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นนิสิตจุฬาฯ ซึ่งเกิดความชุลมุนกรณีอาจารย์ “ล็อกคอ” 1 ในสภานิสิตจุฬาฯ จนกลายเป็นประเด็นร้อนในสังคมออนไลน์ไปทั่ว

ที่สำคัญไม่ปรากฏเป็นข่าวว่ามีการสอบสวนด้านจรรยาบรรณกับอาจารย์ที่ “ล็อกคอนิสิต” หรือไม่ อย่างไร แต่นายเนติวิทย์และเพื่อนกลับถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนและลงโทษทางวินัยว่าแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยเจตนาเดินออกจากแถวขณะประกอบพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นนิสิตจุฬาฯ ซึ่งจะมีการตัดสินในวันที่ 25 สิงหาคมนี้

โดยเฉพาะนายเนติวิทย์ถูกตั้งกรรมการสอบสวนเพิ่มอีก 1 กรณีคือ ใช้สถานที่ราชการจัดประชุมโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากทำประชาพิจารณ์ (Public Hearing) รับฟังปัญหาความเดือดร้อนของผู้ค้าสวนหลวงสแควร์

แม้นายเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จะโพสต์ความเห็นว่า เป็นแค่ข้อหาเบาทั้ง 2 ข้อ ถ้าถูกตัดสินว่าผิดก็แค่ถูกตัดคะแนนความประพฤติไม่มาก ไม่มีผลต่อการจบหรือเกียรตินิยม อย่ากังวลมากนัก และยังอุทธรณ์ผลหลังจากนั้นได้ด้วย แต่ปรากฏว่าคณาจารย์และนักวิชาการไทยถึง 128 คนจากหลายสถาบันในนามของ “เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.)” ได้ออกแถลงการณ์แสดงความวิตกกังวลต่อสิทธิเสรีภาพของนิสิตที่ถูกสอบสวนและเกียรติภูมิของจุฬาฯ จึงเรียกร้องให้ผู้บริหารจุฬาฯเข้าใจและเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งแนะว่าควรใช้โอกาสนี้สร้างปัญญาให้แก่คนในประชาคมและสังคมด้วยการเปิดพื้นที่ให้มีการถกเถียงอย่างมีสติ เพื่อให้เห็นข้อดีข้อเสียของทั้งสองฝ่ายและแสวงหาแนวทางแก้ไขต่อไป ไม่ใช่แก้ปัญหาด้วยการใช้อำนาจกับนิสิต ทั้งพิธีกรรมถวายสัตย์ฯก็เป็นเพียงสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อราว 20 ปีที่แล้วเท่านั้น

“การก้าวไปข้างหน้าให้ทันตามพลวัตของโลกยุคใหม่ จารีตประเพณี ค่านิยมและความเชื่อในทุกสังคม รวมทั้งสังคมไทย ล้วนต้องปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป และปัญญาชนคนรุ่นใหม่มักมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ส่วนผู้มีอำนาจที่ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงและใช้อำนาจดิบลงโทษผู้ที่เห็นต่างนั้นมักประสบกับการต่อต้านอย่างรุนแรง”

แถลงการณ์ยังให้ผู้บริหารของจุฬาฯตระหนักถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคที่พื้นที่สิทธิเสรีภาพในสังคมไทยหดแคบลงทุกขณะ มหาวิทยาลัยจะยังเป็นพื้นที่ที่อนุญาตให้สมาชิกของประชาคมได้มีสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานเหลืออยู่บ้าง

ที่สำคัญนายเนติวิทย์ได้โพสต์ภาพจดหมายจากศาสตราจารย์นอม ชอมสกี้ (Noam Chomsky) นักภาษาศาสตร์และนักวิชาการจากสหรัฐ ผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว (14 สิงหาคม)  ที่ส่งมาให้กำลังใจโดยมีรายละเอียดว่า “ได้ทราบข่าวอย่างหดหู่เกี่ยวกับการปฏิบัติอย่างน่ารังเกียจ ซึ่งคุณ (เนติวิทย์) ตกเป็นเหยื่อและการคุกคามต่อคุณอย่างรุนแรงจากการที่คุณยืนหยัดเพื่อความยุติธรรมและสิทธิขั้นพื้นฐาน ประเทศไทยกำลังตกอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ผู้คนอย่างคุณคือคนที่จะถางทางประเทศไปสู่อนาคตที่สดใสได้ หวังและเชื่อว่าการกระทำอันอยุติธรรมต่อคุณจะสิ้นสุดไปโดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะสามารถก้าวดำเนินต่อไปด้วยความพยายามอันน่าเคารพและกล้าหาญของคุณเพื่อนำประเทศให้ก้าวเดินต่อไป”

นายเนติวิทย์ได้กล่าวขอบคุณผู้ให้กำลังใจในช่วงเวลาที่ยากลำบาก และจะไม่ย่อท้อที่จะฝ่าฟันไปให้ได้ เพราะถ้าไม่มีตรงนี้ (จุฬาฯ) ประชาธิปไตยและเสรีภาพก็ไม่มี ทั้งที่ตนและเพื่อนแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น

เมื่อมาตรา 44 เปิดทางตั้งอธิการบดี “คนนอก” ได้

ประเด็นสิทธิเสรีภาพยังถูกจับตามากยิ่งขึ้น เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ได้ใช้อำนาจมาตรา 44 ร่วมกับมาตรา 256 ออกคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 37/2560 เปิดทางให้ “คนนอก” เป็นอธิการบดีและผู้บริหารในมหาวิทยาลัย อ้างว่าเพื่อไม่ให้การบริหารงานของสถานศึกษาต้องหยุดชะงักจนไม่สามารถขับเคลื่อนสถานศึกษาได้อย่างเป็นระบบ ขาดความต่อเนื่อง และเกิดความล่าช้า โดยเพิ่มอำนาจที่สำคัญคือ

“…เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษาให้มีความต่อเนื่องและเกิดประสิทธิภาพ ให้สถาบันอุดมศึกษามีอํานาจแต่งตั้งบุคคลใดที่มิได้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาหรือเป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษามาดํารงตําแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะได้

ในการดําเนินการเพื่อให้มีสภาคณาจารย์ตามกฎหมายจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา ให้คณาจารย์และบุคลากรอื่นของสถาบันอุดมศึกษานั้น ซึ่งมิได้เป็นคณาจารย์ แต่เป็นข้าราชการหรือพนักงานของสถาบันอุดมศึกษานั้น มีสิทธิเลือกและดํารงตําแหน่งในสภาคณาจารย์ได้เช่นเดียวกัน

ในกรณีเห็นสมควร นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้…”

คำสั่งของหัวหน้า คสช. ฉบับนี้ ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในการพยายามนำ “การทหาร” มาครอบงำ “โลกวิชาการและการศึกษา” ซึ่งเป็นแนวความคิดที่สวนทางอย่างยิ่งกับกระแสของโลกปัจจุบันหรือโลกยุค 4.0 ที่ “ทั่นผู้นำ” พยายามกรอกหูสร้างภาพให้รัฐประหารครั้งนี้ “ไม่เสียของ-เสียเปล่า” ทั้งที่ผ่านมากว่า 3 ปี รัฐบาลทหารและ คสช. ล้มเหลวเกือบทุกเรื่อง ไม่ว่าเรื่องเร่งด่วนที่จะสร้างความปรองดอง การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ รวมถึงการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งยังจมปลักกับระบบและค่านิยมเดิมๆ แล้วยังจะดึงให้สถาบันอุดมศึกษาซึ่งถือเป็นสถานที่ทางวิชาการที่จะบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ให้เป็นอนาคตของประเทศและประชาชน เพราะมหาวิทยาลัยถือเป็นพื้นที่แสวงหาและเรียนรู้ พื้นที่ของเสรีชนที่ต้องมีอิสระที่จะคิดและสร้างสรรค์อย่างแท้จริง

แต่วันนี้กลับกำลังถอยหลังไปเหมือนยุครัฐบาลเผด็จการทหารในอดีตที่มหาวิทยาลัยหรือนักวิชาการและคนในประเทศเหมือน “หุ่นยนต์” ที่ต้องรับคำสั่งจากผู้มีอำนาจเท่านั้น เพราะประกาศฉบับนี้ให้อำนาจกับ คสช. อย่างเต็มที่ในการตั้ง “คนนอก” มาดำรงตำแหน่งบริหารในมหาวิทยาลัยได้ทั้งหมด รวมถึงควบคุมในส่วนของ “สภาคณาจารย์” ซึ่งระบุชัดเจนว่าอำนาจในการจะแย้งหรือแก้ไขการแต่งตั้งใดๆอยู่ที่นายกรัฐมนตรี ซึ่งก็คือหัวหน้า คสช. นั่นเอง

หลังจากคำสั่ง คสช. ประกาศและมีผลบังคับใช้ทันทีในวันที่ 9 สิงหาคม ก็เกิดปฏิกิริยาจากคณาจารย์และนักวิชาการ 260 คน ซึ่งไม่ใช่แค่กลุ่มนักวิชาการที่มีจุดยืนต่อต้านการรัฐประหารมาโดยตลอดเท่านั้น ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ในนามของ “เครือข่ายคณาจารย์และบุคลากรอุดมศึกษาไทย” เรียกร้องให้หยุดแทรกแซงเสรีภาพในมหาวิทยาลัย เพราะคำสั่ง คสช. ถือเป็นความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะแทรกแซงความเป็นอิสระของสถาบันอุดมศึกษา นับตั้งแต่มีการดึงผู้บริหารของมหาวิทยาลัยของรัฐเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐผ่านการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

ขณะที่เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้ได้แถลงการณ์ให้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวและหยุดแทรกแซงมหาวิทยาลัยในทุกรูปแบบในทันที เพราะเป็นการอ้างปรากฏการณ์เพียงบางส่วนของมหาวิทยาลัยมาใช้แบบ “เหมารวม” เพื่อควบคุม กำกับ และแทรกแซงอำนาจทางการบริหาร ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยสูญเสียความเป็นอิสระ ขาดเสรีภาพทางวิชาการและการเป็นสถาบันที่เป็นฐานที่มั่นสำคัญในการสร้างปัญญาของสังคม ทั้งทำให้มหาวิทยาลัยตกเป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจทางการเมือง อันจะทำให้เกิดการสูญเสียความศักดิ์สิทธิ์และเป็น “พิษร้ายทำลายจิตวิญญาณของมหาวิทยาลัย” ในอนาคต

ทหารที่เคยเป็น“อธิการบดี” จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

เมื่อย้อนกลับไปในอดีตจะพบว่ามีนายทหารเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยรัฐหลายคน ซึ่งเป็นยุคที่ปกครองด้วยรัฐบาลเผด็จการทหารทั้งสิ้น โดยยุคแรกหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม และยุคจอมพลถนอม กิตติขจร ทหารที่เคยเป็นอธิการบดีจุฬาฯมี 3 คนคือ พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) เป็น 2 ครั้งคือ 25 พฤศจิกายน 2479 ถึง 1 สิงหาคม 2487 และ 21 ตุลาคม 2492 ถึง 21 กรกฎาคม 2493 พล.อ.ท.มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฎ์ เป็น 2 ครั้งคือ 17 สิงหาคม 2493 ถึง 16 สิงหาคม 2504 และ 7 กันยายน 2504 ถึง 6 กันยายน 2506 และ พล.อ.ประภาส จารุเสถียร เป็น 3 ครั้งคือ 7 กันยายน 2506 ถึง 6 กันยายน 2508, 7 กันยายน 2508 ถึง 6 กันยายน 2510 และ 7 กันยายน 2510 ถึง 26 มีนาคม 2512

ส่วนทหารที่เคยเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มี 3 คนคือ พล.ท.สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ ระหว่าง 8 เมษายน 2494 ถึง 18 มีนาคม 2495 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ระหว่าง 19 มีนาคม 2495 ถึง 26 กันยายน 2500 และ พล.อ.ถนอม กิตติขจร ระหว่าง 8 มกราคม 2503 ถึง 18 ธันวาคม 2506

มหาวิทยาลัย “เต็มใจ” ให้ตีตรวน?

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกในยุครัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารที่มหาวิทยาลัยจะถูกแทรกแซงหรือคุมโดยทหารอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม แม้ทหารจะยังไม่ได้เข้ามาเป็นอธิการบดีหรือผู้บริหาร แต่ปัจจุบันผู้บริหารมหาวิทยาลัยก็แทบจะเรียกได้ว่าเป็น “นอมินี” ที่สนับสนุนรัฐบาลทหารอยู่แล้ว ปัจจุบันก็มีผู้บริหารในมหาวิทยาลัยหลายคนที่พร้อมจะทำงานกับคณะรัฐประหาร หรือเห็นด้วยกับความคิดของคณะรัฐประหาร อย่างนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งกำลังจะครบวาระก็ออกมาสนับสนุนคำสั่งมาตรา 44 ที่เหมือนการตีตรวนมหาวิทยาลัยให้อยู่ในอำนาจของทหาร ที่ผ่านมานายสมคิดเป็นหนึ่งในผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เต็มใจทำงานร่วมกับคณะรัฐประหารมาโดยตลอด

แตกต่างสิ้นเชิงกับกลุ่มนักวิชาการที่ต่อต้านรัฐประหารที่หลายคนถูกเรียกไปปรับทัศนคติและหลายคนถูกดำเนินคดีในข้อหาต่างๆ ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา นักวิชาการและนักศึกษา 5 คน ประกอบด้วย นายชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคศึกษาด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) นายธีรมล บัวงาม นักศึกษาปริญญาโทคณะการสื่อสารมวลชน มช. นางภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปลและนักเขียนอิสระ นายชัยพงษ์ สำเนียง นักศึกษาปริญญาเอกคณะสังคมศาสตร์ มช. และ นายนลธวัช มะชัย นักศึกษาปริญญาตรีคณะการสื่อสารมวลชน มช. ถูกหมายเรียกจากสถานีตำรวจภูธรช้างเผือกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. มั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยอ่านแถลงการณ์ “ขอคืนพื้นที่ความรู้และสิทธิเสรีภาพของพลเมืองในสังคมไทย” ในงานประชุมวิชาการนานาชาติไทยศึกษาเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา รวมถึงวันที่ 18 กรกฎาคม ยังมีนักกิจกรรมและนักศึกษานำป้ายที่มีข้อความ “เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร” มาติดบริเวณหน้าห้องสัมมนาวิชาการ

เหลือแต่ดาวอังคารที่มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว?

การที่รัฐบาลทหารพยายามใช้อำนาจเพื่อแทรกแซงหรือตีตรวนแม้แต่ในมหาวิทยาลัยที่ถือเป็นพื้นที่เปิดกว้างและมีเสรีภาพที่สุดย่อมทำให้มีผู้คัดค้านไม่เห็นด้วย การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารของนักศึกษาและนักวิชาการที่เกิดขึ้นตลอด 3 ปีที่ผ่านมา แม้จะไม่สามารถล้มล้างอำนาจของคณะรัฐประหารได้ แต่ก็ทำให้เกิดปฏิกิริยาไม่น้อยจากประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหาร โดยเฉพาะประชาคมโลกที่ไม่ร่วมสังคายนาตามปรกติกับรัฐบาลทหาร

ดังนั้น ยิ่งรัฐบาลทหารและ คสช. อยู่นานเท่าไรก็ยิ่งต้องไม่ให้เกิดแรงกระเพื่อมใดๆ ไม่ว่าจะ “ลงจากหลังเสือ” หรือจะ “ต่อท่ออำนาจ” จึงไม่ใช่แค่การใช้อำนาจเบ็ดเสร็จที่มีอยู่เท่านั้น แต่ยังต้องทำให้คนส่วนใหญ่เห็นพ้องกับการใช้อำนาจด้วย อย่างที่ “ทั่นผู้นำ” บอกว่าประชาธิปไตยไม่ได้หมายถึงแค่การเลือกตั้ง หรือกรณีที่ให้ตอบ 4 คำถามชี้นำว่า หลังการเลือกตั้งหากไม่ได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือกลุ่มนักการเมืองที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจะทำยังไง

เช่นเดียวกับการใช้อำนาจมาตรา 44 เปิดโอกาสให้ “คนนอก” เข้ามาบริหาร (ควบคุม) ในมหาวิทยาลัย ซึ่งถูกมองว่ายิ่งกว่าเป็นการถอยหลังเข้าคลอง เพราะ “เสรีภาพทางวิชาการ” ถือเป็นรากฐานสำคัญของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยในโลก ซึ่งมหาวิทยาลัยหรือในทางวิชาการจะต้องเป็นพื้นที่ของเสรีชน เป็นพื้นที่เสรีทางความรู้ เสรีภาพทางวิชาการจึงต้องไม่มีข้อจำกัดและข้อผูกมัดใดๆ

การออกคำสั่งมาตรา 44 ฉบับนี้จึงถูกตั้งคำถามเปรียบเปรยว่าเป็นการ “รัฐประหารทางวิชาการ” ที่เปลี่ยน “มหาวิทยาลัย” ให้เป็น “ค่ายทหาร” ใช่หรือไม่? เหตุใด “โลกทางวิชาการ” ที่ต้องมี “เสรีภาพ” จึงถูกปฏิรูปกลายไปอยู่ภายใต้ “โลกของทหาร” ที่ห้ามคิด ห้ามถาม ห้ามวิจารณ์ ต้องทำตามคำสั่งเท่านั้น?

แทนที่พื้นที่ในมหาวิทยาลัยจะเป็นประตูไปสู่ประชาธิปไตยของสังคมทุกภาคส่วน เป็นสถานที่บ่มเพาะความคิดที่ต้องเปิดกว้างที่สุด มีอิสระและเสรีภาพมากที่สุด กลับกลายเป็นอีกพื้นที่ที่ถูกกระชับอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ

พื้นที่ประชาธิปไตยและเสรีภาพสำหรับประเทศไทยและประชาชนคนไทยจึงมีแต่ถูกปิดประตูให้แคบลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่คนหนุ่มสาวที่ควรจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศและสังคมกลับต้องถูกควบคุมทั้งการ “จับขังคุกจริง” ในเรือนจำ และ “จับขังคุกทางความคิด” ในสถาบันการศึกษา ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในยุคประชาธิปไตย 99.99% ภายใต้ระบอบพิสดาร

ทุกพื้นที่ในสถาบันการศึกษา ไม่เว้นแค่จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ที่ควรจะยังมีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว กลับกลายเป็นถูก “กระชับพื้นที่เสรีภาพ” อย่างน่าอนาถ

เป็นคนไทยย่อมเลือกที่จะอยู่บนผืนแผ่นดินประเทศไทย คิดจะไปอยู่แผ่นดินประเทศอื่นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

หรือจะเหลือแต่บนดาวอังคารเท่านั้นที่มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว!!??


You must be logged in to post a comment Login

Казино левлучший портал для азартных игроков
Игровые автоматызахватывающая игра начинается сейчас
azino777испытай удачу прямо здесь
1win казинооткрой для себя мир азартных игр
Вулкан платинумавтоматы с высокой отдачей ждут тебя
Казино левгде выигрыши становятся реальностью
Игровые автоматыразвлекайся и выигрывай каждый день
азино три топоранаслаждайся адреналином от побед
Казино 1winкаждая игра — шаг к успеху
Вулкан россиятвой шанс на большой выигрыш
Казино левоснова азартного мастерства
Игровые автоматытоповые игры для каждого
Azino777только для настоящих ценителей риска
1win казинокайф от игры начинается здесь
Вулкан 24где каждый день приносит победы
Казино левновые высоты азартных эмоций
Игровые автоматыгде выигрыши реальны
азино три топорасамые горячие игры ждут
Казино 1winвыигрывайте с комфортом
Казино вулкан россияисследуй мир азартных автоматов
Казино левтвой источник азарта и выигрышей
Игровые автоматыискусство выигрыша ждет тебя
azino777почувствуй азарт и драйв
1win казиноидеальный выбор для азартных игр
Вулкан платинумиграй и побеждай с удовольствием
Казино левнаслаждайся азартом без границ
Игровые автоматылучшие призы ждут тебя
азино три топоратвоя игра начинается здесь
Казино 1winновые уровни азарта и удачи
Вулкан россияначни путь к победе прямо сейчас
Coco chat - Rejoignez nouvelles discussions enrichissantes sur Bed and Bamboo
Chatrandom - Discover exciting chats with new people on Bed and Bamboo
Chatrandom - Entdecke spannenUnterhaltungauf Bed and Bamboo
Chatrandom - Ontdek boeienchats op Bed and Bamboo
Coco chat - Partagez des moments uniques sur Hoodrich France
Chatrandom - Connect and chat on Hoodrich France
Chatrandom - Chatte mit der Hoodrich France Community
Chatrandom - Geniet van chats in Hoodrich France gemeenschap
Coco chat - Connectez-vous pour des échanges passionnants sur I’m Famous 51
Chatrandom - Meet and chat on I’m Famous 51
Chatrandom - Führe spannenGespräche auf I’m Famous 51
Chatrandom - Beleef gesprekkop I’m Famous 51
Coco chat - Discutez avec la communauté Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Explore vibrant conversations at Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Tritt spannendChats bei Quincaillerie Outillage Thollot bei
Chatrandom - Ga mee in boeiengesprekkbij Quincaillerie Outillage Thollot
Coco chat - Rejoignez TurboSystem pour discuter
Chatrandom - Engage in exciting chats at TurboSystem
Chatrandom - Genieße spannenChats bei TurboSystem
Chatrandom - Beleef chatplezier bij TurboSystem