- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
‘ปินส์’เปิดเรียนอุดมศึกษาฟรี
นอกจากกวาดล้างยาเสพติดด้วยมาตรการเด็ดขาดแล้ว ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตร์เต แห่งฟิลิปปินส์ ยังสร้างปรากฏการณ์สำคัญอีกอย่าง คือออกกฎหมายเรียนฟรีในระดับอุดมศึกษา
กฎหมายดังกล่าว ใช้กับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทั้งหมด ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ 112 สถาบัน มีผลบังคับใช้ปีการศึกษาหน้าเป็นต้นไป
มาตรการนี้ เป็นพัฒนาการสำคัญที่สุดกรณีหนึ่ง ในประวัติศาสตร์วงการศึกษาของฟิลิปปินส์ และเป็นนโยบายที่ได้รับการชื่นชมอย่างกว้างขวาง ทำให้ผู้นำฟิลิปปินส์ “โกยคะแนนนิยม” ได้เป็นกอบเป็นกำ
สื่อและนักวิชาการท้องถิ่นส่วนใหญ่มองว่า เป็นการลงทุนเพื่ออนาคตของชาติที่ดีที่สุด และเป็นมาตรการเอาชนะความยากจน รวมทั้งความไม่เสมอภาคในสังคม ที่ทรงประสิทธิภาพ
ฟิลิปปินส์มีประชากรประมาณ 103.3 ล้านคน จากผลสำรวจดัชนีความยากจนประจำปีในรอบปีที่ผ่านมา (2016 Annual Poverty Indicators Survey) พบว่ามีเยาวชนไม่ได้เรียนระดับอุดมศึกษา 3.8 ล้านคน โดย 87.3% อายุระหว่าง 16-24 ปี และจำนวน 20.2% ที่ไม่ได้เรียนระดับอุดมศึกษา ให้เหตุผลว่า เนื่องจากครอบครัวขาดทุนทรัพย์
สำหรับกฎหมายเรียนฟรี นอกจากนักศึกษาไม่ต้องจ่ายค่าเทอมแล้ว ยังมีข้อบังคับให้ภาครัฐช่วยเหลือค่าใช้จ่ายต่างๆด้วย เช่น ค่าชุดนักศึกษา คอมพิวเตอร์ ค่าธรรมเนียมต่างๆที่สถานศึกษากำหนด และจ่าย “เบี้ยเลี้ยง” ให้นักศึกษาเป็นรายเดือน เดือนละ 3,600 เปโซ (2,370 บาท)
ฟิลิปปินส์ยังไม่อนุมัติงบการศึกษาในปีงบประมาณหน้า (2018-2019) กำหนดไว้เบื้องต้นก่อนผู้นำประเทศลงนามบังคับใช้กฎหมายเรียนฟรี 100,000 ล้านเปโซ (65,900 ล้านบาท)
คณะกรรมการพิจารณาจัดทำงบประมาณ คาดว่าต้องใช้งบเป็นทุนในโครงการนี้ปีแรกประมาณ 50,000 ล้านเปโซ (32,950 ล้านบาท) ซึ่งเท่ากับครึ่งหนึ่งของงบที่กำหนดไว้เบื้องต้น ทำให้ต้องพิจารณารายละเอียดใหม่
จากการใช้งบค่อนข้างสูง ทำให้หลายฝ่ายเป็นห่วงว่า โครงการนี้จะไปไม่รอด หรือไม่ก็อาจทำให้แผนพัฒนาการศึกษาส่วนอื่นเสียหาย เนื่องจากถูกโยกงบบางส่วนมาใช้กับโครงการนี้
ฝ่ายสนับสนุนส่วนหนึ่ง แสดงความเป็นห่วงเรื่องงบ โดยตั้งคำถามรัฐบาลว่า “จะหาทุนมาจากไหน”
และมีบางส่วนหวั่นโครงการนี้จะให้ผลไม่คุ้มกับการลงทุน โดยติงรัฐบาลว่า ไม่ควรดำเนินโครงการสักแต่เพียงให้ผู้เรียนได้ปริญญาบัตรอย่างเดียว
แต่ต้องจัดระบบการศึกษาให้มีคุณภาพ สามารถพัฒนาขีดความสามารถด้านการแข่งขัน ด้านการผลิต และการคิดค้นนวัตกรรม เพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
You must be logged in to post a comment Login