- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
คิดสิคิด? / โดย นายหัวดี

คอลัมน์ : ฉุก(ละหุก)คิด
ผู้เขียน : นายหัวดี
กระบวนการยุติธรรมภายใต้ “ระบอบพิสดาร” ซึ่ง “ทั่นผู้นำ” ย้ำว่า “กฎหมายคือกฎหมาย” และทุกคนต้องอยู่ภายใต้ “กฎหมาย” เดียวกัน แต่ก็ถูกตั้งคำถามว่าทำไมคดีของแต่ละฝ่ายจึงแตกต่างกัน “ราวฟ้ากับดิน” ทำไมคดีของฝ่ายหนึ่งจึงพิจารณาเร็วอย่างเหลือเชื่อ และ “ทำอะไรก็ผิด” ขณะที่คดีของอีกฝ่ายหนึ่งเหมือนถูกแช่แข็ง หรือ “ทำอะไรก็ไม่ผิด”
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำจึงถูกตั้งคำถามมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา “ไม่เลือกปฏิบัติ” จริงหรือไม่ โดยเฉพาะคำว่า “ตุลาการภิวัตน์”?
“ปิยบุตร แสงกนกกุล” อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวสรุปใน “บทนำ” ตอนหนึ่งในหนังสือเล่มใหม่ถึง “ตุลาการภิวัตน์” ในช่วงการสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า…
“ตุลาการภิวัตน์” ในประเทศไทยแตกต่างจาก Judicialization of Politics ของต่างประเทศ องค์กรทางการเมืองอื่นๆที่ได้รับผลร้ายจากการตัดสินคดีแบบ “ตุลาการภิวัตน์” ไม่อาจต่อสู้กับศาลได้ นานวันเข้าดุลยภาพแห่งอำนาจระหว่างองค์กรทางการเมืองทั้งระบบก็เสียไป กลายเป็นว่าศาลเป็นองค์กรที่อยู่เหนือองค์กรอื่นๆ ชี้เป็นชี้ตายในทางการเมืองโดยไม่มีองค์กรใดตรวจสอบถ่วงดุลได้ สภาพเช่นนี้ ย่อมทำให้ศาลกลายเป็นองค์กร “เหนือ” รัฐธรรมนูญไปโดยปริยาย”
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ “วัฒนธรรมการพ้นผิดลอยนวล (Impunity)” จะเป็นเรื่องปรกติในสังคมไทยที่ “ผู้มีอำนาจ” ไม่เคยต้องรับผิดชอบใดๆต่อความรุนแรงที่กระทำต่อประชาชน!
You must be logged in to post a comment Login