- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
สัญญาณ‘พี่ใหญ่’
คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น
“รัฐบาลไม่ได้วางตุ๊กตา รัฐบาลตั้งไทม์ไลน์ออกมาเท่านั้นเอง ไม่ได้บอกว่า จะต้องเลือกตั้งเดือนไหน แต่ต้องยึดกฎหมายลูก ส่วนสุดท้ายการเลือกตั้งจะมีขึ้นในปี 2561 แน่นอน ผมก็ยังไม่รู้ มาถามได้อย่างไร”
เป็นคำพูดของ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุสวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หนึ่งในผู้มีอำนาจที่สุดในรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งเป็นการพูดหลังถูกสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาลตั้งคำถามว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุจะมีการเลือกตั้งในเดือนสิงหาคม 2561
แม้ตามโรดแม็พจะกำหนดระยะเวลาทำกฎหมายลูกไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่าจะต้องเสร็จสิ้นในเดือนไหน อย่างไร แต่ “บิ๊กป้อม” ก็พูดชัดเจนว่ารัฐบาลไม่ได้กำหนดว่าจะต้องเลือกตั้งเดือนไหน
ทั้งนี้ หากพิจารณากรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนดภายในเดือนธันวาคมนี้ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่ทำหน้าที่ยกร่างกฎหมายลูกจะต้องยกร่างกฎหมายให้เสร็จสิ้นอย่างน้อย 4 ฉบับจาก 10 ฉบับ เพื่อส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา โดย สนช.มีเวลาพิจารณาร่างกฎหมายลูกถึงเดือนมีนาคม 2561 เพื่อส่งต่อนายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งขั้นตอนการลงพระปรมาภิไธยมีกรอบเวลา 90 วัน คือภายในเดือนมิถุนายน
เมื่อกฎหมายลูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการต้องจัดเลือกตั้งภายใน 150 วัน หรือ 5 เดือน
พฤศจิกายน 2561 คือเส้นตายที่จะต้องจัดเลือกตั้งตามกรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนด
แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดกรอบกติกาไว้ชัดเจนอย่างนี้ แต่ยังไม่เกิดความมั่นใจในหมู่ประชาชนว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่
ทั้งนี้ เพราะระหว่างทางก่อนถึงเดือนพฤศจิกายนนั้น การทำกฎหมายลูกยังต้องผ่านอะไรอยู่พอสมควร ที่สำคัญรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดทางออกไว้ให้หากเกิดกรณีร่างกฎหมายลูกฉบับหนึ่งฉบับใดไม่ผ่านการพิจารณาของ สนช.ต้องทำอย่างไร
หรือกรณีที่ร่างกฎหมายลูกผ่านการพิจารณาแล้ว นำขึ้นทูลเกล้าฯแล้ว แต่ไม่โปรดเกล้ากลับลงมาตามกรอบเวลาที่กำหนด ซึ่งจะมีผลทำให้ร่างกฎหมายนั้นตกไปตามธรรมชาติ รัฐธรรมนูญก็ไม่ได้กำหนดทางออกรองรับสำหรับกรณีนี้ไว้เช่นกัน
แน่นอนว่าหากเกิดกรณีร่างกฎหมายลูกฉบับหนึ่งฉบับใดไม่ผ่าน สนช. หรือนำขึ้นทูลเกล้าฯแล้วไม่โปรดเกล้าฯกลับลงมาก็ต้องเริ่มนับหนึ่งเพื่อยกร่างใหม่
แต่คำถามคือจะให้ใครเป็นผู้ยกร่าง เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดทางออกรองรับเอาไว้
ยิ่งหนึ่งในผู้มีอำนาจสูงสุดระบุว่า รัฐบาลไม่ได้บอกว่า จะต้องเลือกตั้งเดือนไหน แต่ต้องยึดกฎหมายลูก ส่วนสุดท้ายการเลือกตั้งจะมีขึ้นในปี 2561 แน่นอนยังไม่รู้ มาถามได้อย่างไร ยิ่งทำให้ความมั่นใจว่าจะมีการเลือกตั้งในปีหน้าลดน้อยลง
“เรื่องการสร้างความมั่นใจให้ประชาชนเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้ง เรื่องนี้จะไม่มั่นใจ ได้ยังไง ไม่มั่นใจตรงไหน ทำยังไงถึงไม่มั่นใจ แล้วกระแสข่าวที่มีคนพูดอาจจะไม่มีการเลือกตั้ง ใครเป็นคนพูด ก็ให้ไปถามคนนั้น แล้วที่ผมไม่มั่นใจการที่ไม่มีการเลือกตั้งทันปีหน้า เนื่องจากกฎหมายลูกยังไม่แล้วเสร็จ”
นี่เป็นอีกประโยคที่ “บิ๊กป้อม” ตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบรัฐบาลหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ (5 ก.ย.)
ส่งสัญญาณอะไรหรือไม่แล้วแต่จะพิจารณากันเอาเอง
You must be logged in to post a comment Login