- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
‘ทรัมป์’จัดหนักเช็กบิลต่างด้าว
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ สร้างความปั่นป่วนในวงกว้างอีกครั้ง หลังตัดสินใจลงนามยกเลิกโครงการผ่อนผันต่างด้าวลักลอบเข้าสหรัฐในวัยเด็ก (Deferred Action for Childhood Arrivals : DACA) เมื่อวันอังคาร (5 ก.ย.)
โครงการนี้ดำเนินการโดยประธานาธิบดีบารัค โอบามา เริ่มเมื่อเดือน มิ.ย. ปี 2012 หรือเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ด้วยเห็นว่ามีประโยชน์ทั้งต่อสหรัฐ และผู้ปกครองชาวต่างชาติที่นำลูกวัยเด็กเข้าสหรัฐอย่างผิดกฎหมาย เป็นมาตรการประนีประนอม ป้องกันปัญหาอื่นแทรกซ้อนตามมา
ประเด็นสำคัญของโครงการคือ อนุญาตให้ต่างชาติอายุไม่เกิน 30 ปี ที่เข้าสหรัฐตั้งแต่วัยเด็กโดยไม่มีเอกสารรับรอง ซึ่งเรียกกันว่า “ดรีมเมอร์” (Dreamer) หรือผู้ล่าฝัน สามารถอาศัยอยู่ในสหรัฐ เรียนหนังสือ และหางานทำได้ชั่วคราว แต่ไม่ได้สัญชาติอเมริกัน มีช่วงเวลาอนุญาตครั้งละ 2 ปี เมื่อครบกำหนดต้องไปยื่นขอใหม่
ปัจจุบัน คาดว่ามี “ดรีมเมอร์” ในสหรัฐประมาณ 800,000 คน ส่วนใหญ่มาจากเม็กซิโกและประเทศอเมริกากลาง มีชาวยุโรป เอเชีย และแอฟริกา รวมอยู่ด้วยจำนวนหนึ่ง
เมื่อทรัมป์ตัดสินใจ “กวาดบ้าน” ยกเลิกโครงการนี้ ทำให้กลุ่มเป้าหมายเสี่ยงถูกเนรเทศ ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการจำนวนมากก็เสี่ยงเสียหายไปด้วย เนื่องจากต้องพึ่งพาลูกจ้างกลุ่มนี้
สำหรับมาตรการของทรัมป์ ประกอบด้วยการยุติรับคำร้องจากผู้ยื่นรายใหม่ นับจากวันประกาศยกเลิกโครงการ สภาคองเกรส ทั้งสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา มีเวลาพิจารณาการตัดสินใจของทรัมป์ และหามาตรการเหมาะสมออกมาบังคับใช้แทน 6 เดือน ถึง 5 มี.ค.ปีหน้า
ขณะ “ดรีมเมอร์” ที่ระยะเวลาอนุญาตสิ้นสุดก่อน 5 มี.ค.ปีหน้า สามารถยื่นขออนุญาตใหม่ได้ภายใน 1 เดือน เพื่อยืดเวลาอยู่ในสหรัฐต่อไปอีก 2 ปี
ด้วยมาตรการดังกล่าว สภาคองเกรสจึงเป็นผู้ชี้ขาดอนาคตของ “ดรีมเมอร์”
หากสภาคองเกรสมีมติเห็นชอบให้ยกเลิกโครงการ ตามข้อเสนอของผู้นำสหรัฐ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจค่อนข้างรุนแรง
ไอเก แบรนนอน ผู้เชี่ยวชาญแห่งสถาบันวิจัย Cato Institute ของสหรัฐ คาดว่า ผู้ประกอบการขนาดเล็กจะประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน เนื่องจาก “ดรีมเมอร์” เป็นผู้ทำงานมากกว่า 75% และส่วนใหญ่เป็นลูกค้าบริษัทขนาดเล็ก รวมทั้งงานภาคการเกษตรและก่อสร้าง
ส่วนภาครัฐ แบรนนอนคาดว่า จะสูญรายได้จากการเก็บภาษีประมาณปีละ 60,000 ล้านเหรียญ
อย่างไรก็ตาม จากขั้นตอนการยกเลิกแผนต้องผ่านสภาคองเกรส การตัดสินใจของทรัมป์จึงเป็นเพียง “การชกยกแรก” เท่านั้น
You must be logged in to post a comment Login