- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 20 hours ago
- อย่าไปอินPosted 4 days ago
- ปีดับคนดังPosted 5 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 6 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
สิ่งที่หายไป? / โดย นายหัวดี
คอลัมน์ : ฉุก(ละหุก)คิด
ผู้เขียน : นายหัวดี
โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2475 จนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2560 มีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ซึ่งถือเป็น “กฎหมายหลัก” บังคับใช้แล้วทั้งสิ้น 804 ฉบับ โดยมาจากสภาที่มาจากการเลือกตั้ง 427 ฉบับ และสภาที่มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร 377 ฉบับ หรือร้อยละ 53 ต่อ 47
นับตั้งแต่คสช.ยึดอำนาจ ปรากฏว่ามีการออกประกาศ คสช.แล้วกว่า 500 ฉบับ คือประกาศ คสช.อย่างน้อย 207 ฉบับ คำสั่ง คสช.อย่างน้อย 125 ฉบับ และคำสั่งหัวหน้า คสช.โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 อีกอย่างน้อย 159 ฉบับ
นอกจากนี้ ยังมีพ.ร.บ.ที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งแต่งตั้งโดย คสช.อีกกว่า 250 ฉบับ เท่ากับมีกฎหมายที่ออกมาโดย คสช.มาบังคับใช้อย่างน้อย 750 ฉบับ และมีร่างกฎหมายที่อยู่ระหว่างสนช.พิจารณาอีก 20 ฉบับ และต้องออกมาตามรัฐธรรมนูญปี 2560 อีกอย่างน้อย 74 ฉบับ
ในยุค คสช.จึงมีกฎหมายหลักและกฎหมายรองประมาณ 900-1,000 ฉบับเป็นอย่างน้อย ซึ่ง “ทั่นผู้นำ” ย้ำเสมอว่าทุกคนต้องเคารพกฎหมาย แต่ทำไม “ทั่นผู้นำ” จึงออกกฎหมายนิรโทษกรรมคุ้มครองตัวเอง
โดยเฉพาะการใช้อำนาจตามมาตรา 44 หลายเรื่องถูกวิพากษ์วิจารณ์มากมาย แต่ “ทั่นผู้นำ” ก็ประกาศว่า “ผมไม่ต้องรับผิดชอบอะไรทั้งสิ้น”
ทั้งที่หลักการพื้นฐานการบังคับใช้กฎหมายต้องเป็นธรรม เสมอภาค และไม่มีการเลือกปฏิบัติ!
You must be logged in to post a comment Login