- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
‘จีน-อินเดีย’หนุนพม่าสู้วิกฤต
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพลังของสื่อค่ายใหญ่แห่งสหรัฐและอังกฤษ ทำให้รัฐบาลพม่าภายใต้การนำของนางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ ตกเป็น “จำเลย” กรณีวิกฤตชาวโรฮีนจาในรัฐยะไข่
ความรุนแรงครั้งล่าสุด ยืดยื้อมาเกือบ 3 สัปดาห์ มีผู้เสียชีวิตประมาณ 400 ราย และมีผู้หนีภัยเข้าไปบังกลาเทศแล้วประมาณ 313,000 คน
ทางการพม่าระบุว่า สาเหตุเกิดจากกลุ่ม “ก่อการร้าย” ชื่อ “กองทัพปลดปล่อยโรฮีนจาแห่งอาระกัน” (Arakan Rohingya Salvation Army : ARSA) ลอบโจมตีด่านและสถานีตำรวจกว่า 20 จุด เมื่อวันที่ 25 ส.ค.
ท่ามกลางการปะทะกันยืดเยื้อและรุนแรง ทำให้นางซูจีและรัฐบาลพม่าตกเป็นเป้า ถูกกดดันอย่างหนักจากนานาชาติ แต่จีนกลับโผล่มาสวนกระแส ประกาศเป็น “เพื่อนยามยาก” ของพม่าเต็มตัว
กระทรวงต่างประเทศจีนแถลงประณามกลุ่มก่อเหตุรุนแรง ซึ่งหมายถึงฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพม่า ยืนยันว่าจีนสนับสนุนทางการพม่า ในความพยายามรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในรัฐยะไข่ พร้อมกับเรียกร้องนานาชาติสนับสนุนทางการพม่าเช่นเดียวกับจีน เพื่อให้สถานการณ์ในรัฐยะไข่กลับสู่ภาวะปรกติโดยเร็ว
นอกจากนั้น จีนยังทำหน้าที่ปกป้องพม่าในที่ประชุมสหประชาชาติด้วย
เหตุผลสำคัญที่จีนประกาศอยู่เคียงข้างพม่า เนื่องจากต้องการรักษาความสัมพันธ์ เพราะพม่าเป็นประเทศที่จีนเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมหลายอย่าง รวมทั้งโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่รัฐยะไข่ และวางท่อส่งน้ำมันดิบ จากท่าเรือน้ำลึกรัฐยะไข่ไปยังนครคุนหมิงของจีน
การขยับของจีนมีแรงสั่นสะเทือนถึงอินเดีย ทำให้อินเดียอยู่นิ่งไม่ได้ ต้องออกมาคานอำนาจกับจีน
นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี “ลงทุน” เดินทางเยือนพม่าระหว่าง 5-7 ก.ย.ที่ผ่านมา มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมมือด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ 11 รายการ
นอกจากนั้น ผู้นำอินเดียยังแสดงความห่วงใยพม่า กรณีเจ้าหน้าที่ถูกกลุ่มก่อการร้ายและกลุ่มหัวรุนแรงลอบโจมตี และห่วงใยประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรง
ผู้นำอินเดียระบุว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ควรร่วมกันแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี และควรเคารพอธิปไตย รวมทั้งความเป็นหนึ่งเดียวของพม่า
อินเดียประกาศอยู่เคียงข้างพม่าด้วยเหตุผลเดียวกับจีน โดยเฉพาะโครงการใหญ่ คือเส้นทางเชื่อมต่ออินเดีย-พม่า-ไทย ที่พม่ามีส่วนร่วมสำคัญ
การมี 2 ประเทศใหญ่ ประกาศเป็น “พี่เลี้ยง” ช่วยให้พม่าคลายความกดดันได้ระดับหนึ่ง อีกทั้งช่วยให้มีพลังในการหาแนวทางแก้ปัญหา
อย่างไรก็ตาม การคลี่คลายสถานการณ์จะลงเอยอย่างไร เป็นปริศนาที่ยังไร้คำตอบ
You must be logged in to post a comment Login