- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
8ปีไม่คุ้มค่า
คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น
ยังจำเรือเหาะตรวจการณ์ที่ซื้อมาใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มูลค่า 350 ล้านบาทได้หรือไม่
เรือเหาะลำนี้ซื้อมาตั้งแต่ปี 2552 แต่ว่าไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซ่อมแล้วซ่อมอีก ที่สุดต้องจอดเก็บไม่ได้ใช้งาน และต้องประกาศปลดประจำการไปในที่สุด
“ขณะนี้เรือเหาะที่เป็นตัวบอลลูน หมดอายุการใช้งานแล้ว แต่กล้องตรวจการณ์ที่ติดอยู่ในเรือเหาะยังสามารถใช้การได้ ก็จะนำมาประยุกต์และปรับการใช้งานให้เหมาะสม ซึ่งอาจจะเป็นการใช้ติดกับอากาศยาน โดยทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า กำลังดำเนินการ ทั้งนี้ กล้องตรวจการณ์ คือหัวใจสำคัญของการทำงานของบอลลูน และยังสามารถใช้การได้ ก็จะเอาไปใช้ประโยชน์ต่อไป ดังนั้นปัจจุบันเท่ากับว่าเป็นการยุติการใช้เรือเหาะตรวจการณ์ ในพื้นที่สามจังหวัดใช้แดนภาคใต้แล้ว ส่วนรถลากตัวบอลลูน ได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทหารบก เป็นผู้พิจารณา ว่าจะทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด”
เป็นคำกล่าวของ พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) คนปัจจุบัน โดยแยกเนื้อหาได้ 3 ส่วน คือ เรือเหาะหมดอายุใช้งาน รถลากเรือเหาะที่มีข่าวถูกนำออกประมูลให้กรมการขนส่งทางบกไปพิจารณาว่าจะใช้ประโยชน์อื่นได้หรือไม่ ขณะที่กล้องตรวจการณ์นำไปติดตั้งอากาศยานอื่นเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
ประเด็นที่ประชาชนสนใจคือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการจัดซื้อแล้วใช้ประโยชน์ไม่ได้ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ
เรือเหาะลำนี้จัดซื่อในยุคที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผบ.ทบ. ซึ่งปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาล คสช.
เมื่อแยกส่วนแล้วพบ ตัวเรือมีมูลค่าราคา 260 ล้านบาท กล้องตรวจการณ์ ประมาณ 70 ล้านบาท อีก 20 ล้านบาทเป็นอุปกรณ์สื่อสารภาคพื้น (ไม่รวมค่าซ่อมบำรุงและค่าใช้จ่ายอื่นๆ)
ข้อมูลจากสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ระบุว่าหลังรัฐประหารเมื่อวันที่22 พ.ค.2557 พล.ต.พรชัย ดวงเนตร เจ้ากรมการขนส่งทหารบก ทำการแทน ผู้บัญชาการทหารบก (ขณะนั้น) ได้ทำหนังสือถึงกรรมการผู้จัดการ บริษัท Worldwide Aeros Corp. ประเทศสหรัฐอเมริกา แจ้งสงวนสิทธิเรียกค่าปรับ กรณีบริษัทปฏิบัติตามสัญญาไม่ครบถ้วน ตามกำหนดภายในระยะเวลา 1 ปีของการว่าจ้าง ที่ต้องมาทำการซ่อมบำรุง 6 ห้วงเวลา แต่มาดำเนินการแค่ ห้วงเวลาเดียวคือระหว่างวันที่ 17มีนาคม 2557 ถึง 16 พฤษภาคม 2557 และไม่สามารถให้ขึ้นบินได้โดยเฉลี่ย 125 ชั่วโมงบินต่อเดือน รวม 2 เดือนเป็น 250 ชั่วโมงบิน แต่บริษัททำความพร้อมบินได้ 93.5ชั่วโมงบินใน 2 เดือน จึงต้องถูกปรับในอัตราชั่วโมงละ 105.00 เหรียญสหรัฐอเมริกา จำนวน 157 ชั่วโมงบิน
อย่างไรก็ตาม ถึงตอนนี้ไม่ทราบว่าการเรียกค่าปรับดังกล่าวนี้ดำเนินการไปถึงไหนอย่างไร บริษัทซ่อมบำรุงได้จ่ายค่าปรับมาแล้วหรือยัง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเงินค่าปรับในส่วนของบริษัทซ่อมบำรุงก็เป็นคนละส่วนกับงบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อ ซึ่งถูกมองว่าไม่คุ้มค่า เพราะซื้อมาแล้วใช้การไม่ได้เต็มประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือเป็นการจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ เพราะอ้างความจำเป็นเร่งด่วน และเสียงบประมาณสนับสนุนส่วนอื่นๆรวมกับค่าเรือเหาะแล้วกว่า 450 ล้านบาท
กรณีนี้มีคนร้องให้สอบเอาผิด นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นที่กำกับดูแลกระทรวงกลาโหมให้ถอดถอนออกากจากตำแหน่งฐานปล่อยปละละเลยให้จัดซื้อเรือเหาะแพงแต่ใช้งานไม่ได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติยกคำร้อง เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2558
ในปัจจุบันเห็นสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทำคอนแทกกับทีวีช่องหนึ่งให้หิ้วกล้องออกติดตามถ่ายลงพื้นที่ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแหล่งพบว่าใช้งบไม่คุ้มค่า ไม่เกิดประโยชน์ สร้างโน่นนี่แล้วไม่ได้ใช้งานหรือใช้งานบ้าง ไม่ใช้บ้าง ต้องเอาผิดเพราะเป็นเงินแผ่นดิน ไม่รู้ว่าสตง.สนใจตรวจสอบการจัดซื้อเรือเหาะหรือยุทโธปกรณ์อื่นๆของกองทัพที่มีข้อมูลซื้อแล้วใช้งานไม่คุ้มค่าอย่างเรือเหาะหรือเครื่องตรวจระเบิดจีที 200 บ้างหรือไม่
“กระแสข่าวคอร์รัปชันในยุครัฐบาล คสช. ไม่ได้แตกต่างจากในยุคของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเท่าไรนัก แต่สังคมกลับไม่ได้มองว่ารัฐบาลชุดนี้ มีปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใส เพราะเขาถูกปลูกฝังมาตลอด และเชื่อเสมอว่า มีเฉพาะนักการเมืองที่โกง ส่วนทหารและพวกพ้องที่เข้ามาจากรัฐประหารนั้น ไม่ใช่นักการเมืองจึงไม่โกง สุดท้าย ด้วยความปล่อยปละละเลยของสังคมเอง จึงทำให้ดัชนีการคอร์รัปชันในปัจจุบันตกต่ำลงกว่าเดิม ทั้งที่ไม่มีนักการเมืองจากระบบเลือกตั้งหลงเหลืออยู่ แต่ก็ไม่มีการเรียกร้องให้นักการเมืองระบบแต่งตั้ง ต้องรับผิดชอบ”
เป็นความจริงอีกด้านของสังคมไทยจากมุมมองของ นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ที่พูดถึงเรื่องการคอร์รัปชันซึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องจริง
You must be logged in to post a comment Login