- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
มุมมอง2ขั้วต่อวิกฤตโรฮีนจา
วิกฤตชาวโรฮีนจาในรัฐยะไข่ของพม่า ยังเป็นประเด็นร้อนในพื้นที่ข่าวนานาชาติ โดยสื่อกระแสหลักของโลก ประสานเสียงกับประเทศชั้นนำหลายชาติ กดดันนางอองซาน ซูจี ผู้นำรัฐบาลพม่า ขอให้สั่งทหารหยุด “ทำร้าย” ชาวโรฮีนจา
ประเด็นในภาพรวมไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก แต่มีปัจจัยใหม่เพิ่มเข้ามา นั่นคือนางซูจีแถลงอย่างเป็นทางการครั้งแรก นับตั้งแต่เกิดความรุนแรงขึ้นเมื่อวันที่ 25 ส.ค. เป็นต้นมา
นางซูจีแถลงเป็นภาษาอังกฤษผ่านทางทีวี.นาน 30 นาที เมื่อวันอังคาร (19 ก.ย.) ทำให้เหตุการณ์ปรากฏภาพที่แตกต่าง 2 ขั้วอย่างชัดเจน ประกอบด้วยภาพที่นำเสนอโดยรัฐบาลพม่าผ่านนางซูจี และภาพที่นานาชาติติดตามผ่านสื่อค่ายใหญ่ของโลก และจากผู้แทนองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น)
สื่อกระแสหลักจากชาติตะวันตกรายงานว่า ทหารพม่ากวาดล้างกลุ่มติดอาวุธชื่อ “กองทัพปลดปล่อยโรฮีนจาแห่งอาระกัน” (Arakan Rohingya Salvation Army : ARSA) ด้วยมาตรการรุนแรง รวมทั้งเผาบ้านเรือนชาวโรฮีนจาวอดหลายสิบหลัง
นานาชาติประณามทหารพม่าว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และเรียกร้องนางซูจีสั่งยุติปฏิบัติการทางทหารโดยเร็ว
ทูตพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นระบุว่า มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 1,000 ราย และมีผู้หนีภัยเข้าไปบังกลาเทศประมาณ 421,000 คน
นานาชาติมองว่า ทหารพม่าเป็นฝ่ายทำให้เกิดวิกฤตครั้งนี้ ขณะทางการพม่าโยนไปที่กลุ่ม ARSA ว่าเป็นต้นเหตุ และเป็นฝ่ายเผาบ้านเรือนชาวโรฮีนจา
นางซูจีแถลงประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนและก่อเหตุรุนแรง ยืนยันผู้กระทำผิดต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย นางซูจีระบุว่า ไม่มีการปะทะกัน นับตั้งแต่วันที่ 6 ก.ย. เป็นต้นมา และว่าเหตุการณ์ในรัฐยะไข่ไม่เลวร้ายเหมือนที่เป็นข่าว โดยชาวโรฮีนจายังคงพักอยู่ถิ่นเดิมมากกว่า 50%
ส่วนที่หนีไปบังกลาเทศ นางซูจีเตรียมส่งเจ้าหน้าที่ไปสอบถามถึงสาเหตุที่ทำให้ต้องอพยพ และพร้อมรับผู้ที่พิสูจน์ได้ว่าอยู่รัฐยะไข่กลับถิ่นฐานตามเดิม
ในส่วนของประชาชนชาวพม่าในย่างกุ้ง ประกาศอยู่ข้างนางซูจี และตำหนิสื่อต่างประเทศที่โจมตีนางซูจี โดยเชื่อว่าสื่อต่างประเทศเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ถูกต้อง
การนำเสนอข้อมูลของ 2 ฝ่าย มีความสำคัญระดับหนึ่งในด้านการช่วยให้ภาพของเหตุการณ์กระจ่างขึ้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญกว่า คือการยุติความรุนแรง และช่วยเหลือชาวโรฮีนจา ที่อพยพหนีภัยกลับสู่ภูมิลำเนาตามที่นางซูจีแถลง
You must be logged in to post a comment Login