- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
สิงคโปร์นำร่องบริการรถอีวี
สิงคโปร์รุดหน้าไปอีกขั้นด้านขนส่งมวลชน โดยกำหนดเปิดโครงการนำร่อง ให้บริการรถยนต์ไฟฟ้า (Electric vehicle : EV) แบบ “คาร์แชริ่ง” (Car sharing) เดือนธันวาคมนี้
คาร์แชริ่งรถอีวี (EV) ไม่ใช่ของใหม่ ปัจจุบันมีให้บริการในหลายเมือง เช่น กรุงปารีส ฝรั่งเศส กรุงลอนดอน อังกฤษ และที่โยโกฮามา ญี่ปุ่น เป็นต้น
แต่ประเด็นน่าสนใจในกรณีของสิงคโปร์ คือความก้าวหน้าด้านการพัฒนายานพาหนะ ออกมาเป็นทางเลือกแก่ประชาชน โดยสิงคโปร์เป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนที่มีคาร์แชริ่งรถอีวี
โครงการนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนขับเคลื่อนประเทศสู่สังคมลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว (Car-lite society) เปลี่ยนมาใช้รถโดยสารสาธารณะ คาร์แชริ่ง และทางเลือกอื่นแทน
สิงคโปร์ตั้งเป้าเพิ่มสถิติการใช้รถโดยสารสาธารณะและคาร์แชริ่งเป็น 75% ในปี 2030 หรืออีก 13 ปีข้างหน้า และเพิ่มเป็น 85% ในปี 2050
สิงคโปร์ทุ่มงบจำนวนมาก พัฒนาโครงข่ายการคมนาคมให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า ทางจักรยาน และทางเดินเท้า รวมทั้งระบบสื่อสาร เฉพาะระยะ 5 ปีข้างหน้า ใช้งบ 36,000 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (882,000 ล้านบาท) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
โครงการคาร์แชริ่งรถอีวี รัฐบาลสิงคโปร์ก็ใช้งบลงทุนระดับหนึ่ง โดยมีบริษัท BlueSG ในเครือ Bollore Group แห่งฝรั่งเศส ที่ชนะประมูล เป็นฝ่ายลงทุนหลัก
แผนให้บริการคาร์แชริ่งรถอีวีเฟสแรก กำหนดใช้รถ 80 คัน จอดให้บริการไว้ตามสถานีชาร์จแบตเตอรี่ 30 แห่ง พร้อมหัวชาร์จ หรือเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ 120 เครื่อง
สถานีให้บริการจัดไว้ตามแฟลตหรือคอนโดมิเนียมของการเคหะสิงคโปร์ 18 สถานี ย่านศูนย์ธุรกิจการค้าในเมืองและชานเมือง 10 สถานี อุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park) 1 สถานี และเขตนิคมอุตสาหกรรมทางตอนเหนืออีก 1 สถานี
การใช้บริการ ผู้ใช้ต้องจองคิวผ่านแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟน เมื่อได้คิวก็เพียงไปรับรถตามจุดที่จองไว้ และขับไปยังปลายทาง โดยไม่ต้องส่งคืนรถกลับไปยังจุดเดิม
ลี เดอฮอร์ง นักวิจัยด้านการขนส่งแห่ง National University of Singapore มองว่าโครงการนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของแผนขับเคลื่อนประเทศสู่ Car-lite society แม้จะเริ่มด้วยรถบริการจำนวนไม่มากนัก แต่คาดว่าจะขยายเพิ่มขึ้นตามลำดับในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ลี เดอฮอร์งระบุว่า ตัวแปรสำคัญหนึ่งที่จะช่วยให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ คือค่าเช่าต้องจูงใจ ไม่แพงกว่าค่าแท็กซี่มากเกินไป
You must be logged in to post a comment Login