- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
เปิดตัวศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก
เจเนซีสเฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ (Genesis Fertility Center : G.F.C ) จีเอฟซี ได้จัดงานเสวนาในโอกาสเปิดตัวอย่างเป็นทางการ นำโดยคณะแพทย์ผู้มีประสบการณ์ และเชี่ยวชาญในด้านการรักษาเพื่อช่วยให้คู่สามีภรรยาที่ประสงค์จะมีบุตรได้สมปรารถนา ด้วยเทคนิคด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์เฉพาะทาง
ผศ.นพ. พิทักษ์ เลาห์เกริกเกียรติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 20 ปี ผู้ก่อตั้ง G.F.C กับประสบการณ์ด้านการรักษาช่วยให้ครอบครัวมีสมาชิกใหม่มากกว่า 2,000 เคส กล่าวว่า ในฐานะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากจะใช้ประสบการณ์องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ามาช่วยตามความเชี่ยวชาญแล้ว ในอีกฐานะหนึ่ง หมอนั้นเปรียบเสมือนญาติผู้มีส่วนร่วมในการให้กำเนิดชีวิตใหม่ด้วยเช่นกัน ถือว่างานของหมอนั้นก็ช่วยทำให้ความฝันของคู่สามีภรรยาที่ประสงค์จะมีบุตรได้สมหวังอย่างมีคุณภาพ หมายถึง การเดินทางสู่เป้าหมายของการเป็นคุณพ่อคุณแม่และให้กำเนิดลูกที่มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัยดี จุดเริ่มต้น เริ่มจาก การเข้ารับคำปรึกษา และตรวจสุขภาพความสมบูรณ์ด้านการเจริญพันธุ์ก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า ด้วยสภาพสังคมที่มีการแข่งขันสูงมากขึ้น ส่งผลต่อสุขภาวะเจริญพันธุ์ ทำให้คู่สามีภรรยาขาดความสมบูรณ์พร้อมในการให้กำเนิดบุตร หรือมีปัญหาการมีบุตรยากมากขึ้น โดยเฉพาะสภาพครอบครัวไทยที่ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทสูงในด้านการทำงาน หรือพูดง่ายๆ คือผู้หญิงไทยเก่งขึ้นมาก แต่ทำงานจนลืมมีลูก ซึ่งจุดนี้ต้องแก้ไขด้วยการเข้ารับการตรวจสุขภาพ หรือการใส่ใจ เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะว่าที่คู่รักหรือคู่ที่กำลังจะแต่งงานกัน เพราะการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานนั้นถ้าได้ตรวจสภาวะการเจริญพันธุ์ด้วยก็จะมีประโยชน์ต่อครอบครัวใหม่ ทำให้ได้รู้ภาพรวมของสุขภาพและหากมีโรคประจำตัว จะได้จัดการรักษาหรือตัดสินใจแก้ไขปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นครอบครัวเป็นการขจัดปัญหาด้านสุขภาพในระยะยาว ส่งผลดีต่อครอบครัวมากขึ้นนอกจากนี้ในภาวะที่ประเทศไทยเข้าสู่สภาวะเด็กเกิดใหม่น้อยลงมากจนภาครัฐต้องหันมารณรงค์ให้เพิ่มจำนวนประชากรให้มากขึ้นจึงเท่ากับว่าทุกครอบครัวที่มีสมาชิกใหม่ มีส่วนช่วยเพิ่มพลังคนรุ่นใหม่ในอนาคตที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของสังคมไทยด้วย อย่างไรก็ดี การเพิ่มเด็กเกิดใหม่ที่มีคุณภาพครบถ้วนทั้งในด้านสุขภาพความปลอดภัยเป็นการป้องกันไม่ให้สังคมรับภาระด้านเศรษฐกิจในระยะยาวก็เป็นเรื่องสำคัญด้วยเช่นกันที่จะต้องวางแผนและบริหารจัดการให้เกิดความเหมาะสมและเลือกวิธีการที่ดีที่สุด ซึ่งการตัดสินใจใดๆ นั้นควรต้องปรึกษาแพทย์ประกอบการตัดสินใจ
วรัทยา นิลคูหาดาราชื่อดังที่มาร่วมงานในฐานะผู้ที่สนใจจะเข้าใช้บริการ กล่าวว่า ด้วยอายุของตนเองในวัย 34 ปี ซึ่งถือว่าเป็นช่วงอายุที่ใกล้กับความเสี่ยงที่จะอยู่ในช่วงอายุที่มีบุตรยาก โดยสถิติคือผู้หญิงจะมีลูกยากถ้าอายุมากกว่า 35 ปี บวกกับสุขภาพร่างกายในอนาคตทำให้ตนเองมีความกังวลว่า ด้วยสภาพสังคมปัจจุบัน และระดับอายุของตัวเองที่มากขึ้นเรื่อยๆ ก็มีความเสี่ยงที่อาจจะมีบุตรยากตามสถิติ จึงเกิดความสนใจที่จะใช้บริการเข้ารับการตรวจสุขภาพด้านความพร้อมในการมีลูก ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วมองว่ามีประโยชน์มากในด้านข้อมูลต่างๆ ในการตัดสินใจ สำหรับการมีครอบครัวเรื่องของการมีบุตรก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะตนเองเป็นคนรักเด็กอยู่แล้ว
“เท่าที่ได้ปรึกษากับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามีหลายทางเลือกในการมีลูก เรียกว่ามีนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาอยู่ตลอด ในส่วนของจุ๋ยมีความสนใจวิธีการแช่แข็งไข่ สำหรับเก็บไว้ใช้ในอนาคต เพราะเป็นการฟรีซอายุไข่ให้อยู่ในอายุปัจจุบัน”
รพีพร วงศ์ทองคำ กล่าวว่า สำหรับคนที่เป็นแม่เมื่อมีลูกนั้นความรู้สึกคือ เราได้มีโอกาสทำหน้าที่ดูแลลูก และลูกก็ทำให้ครอบครัวมีความสุขมากขึ้นได้จริงๆ ไม่ใช่เฉพาะความเป็นพ่อกับแม่เท่านั้น แต่ลูกยังส่งมอบความสุขไปยังญาติพี่น้อง คุณพ่อคุณแม่ก็กลายเป็นคุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย สำหรับการมีลูกคนต่อไป “ตัวเองก็อาจจะต้องพึ่งบริการของคุณหมอ เพราะอายุเริ่มมากขึ้นทำให้มีลูกยากขึ้น เทคโนโลยีที่ช่วยให้มีน้องได้ง่ายขึ้น ก็น่าสนใจมากเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีความปลอดภัย ”
วิภาวี คอมันตร์คุณแม่ลูกสอง กล่าวว่าตนเองสนับสนุนให้คู่ว่าที่สามีภรรยาตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานว่า เป็นสิ่งที่จำเป็น และมีประโยชน์มากเพราะได้รับทราบสภาวะสุขภาพด้านจริญพันธุ์ไปด้วย รวมทั้งสามารถวางแผนการมีลูกได้ด้วยว่าควรจะมีต่อเนื่องกันไปหรือไม่ เช่น หากฝ่ายหญิงเริ่มมีอายุมากขึ้น ซึ่งมีภาวะเสี่ยงต่อการมีบุตรยาก นอกจากอายุมากจะมีความเสี่ยงมากแล้ว ในคู่ที่อายุน้อยก็ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยงเพราะปัจจุบันสภาพสังคมและสภาพการใช้ชีวิตที่เร่งรีบตลอดเวลา ทำให้สุขภาพของหนุ่มสาวรุ่นใหม่มีความสมบูรณ์น้อยลงบางคู่แม้ฝ่ายหญิงอายุจะอยู่ในช่วง 20-30 ปีก็ไม่ประสบความสำเร็จในการมีบุตรเองตามธรรมชาติ ฉะนั้นการที่เราเข้ารับคำปรึกษาหรือเข้ารับการตรวจสุขภาพการเจริญพันธุ์ก็มีผลดีต่อการรักษามากกว่า
You must be logged in to post a comment Login