- ปีดับคนดังPosted 18 hours ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 2 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 3 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 4 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
“เคทีซี”พร้อม100%บนแพลทฟอร์มดิจิทัลหนุนแนวรัฐสู่“สังคมไร้เงินสด”เต็มรูปแบบ
“เคทีซี” เผยทิศทางธุรกิจปี 2561 สนองความต้องการของสมาชิกและผู้บริโภคเป็นหลัก (Customer Needs) เดินหน้าโมเดลธุรกิจจับมือพันธมิตรรอบทิศด้านการตลาดไอทีสตาร์ทอัพและฟินเทคผลักดันแผนงานด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีสู่สังคมไร้เงินสดเต็มรูปแบบมั่นใจสมาชิกบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลกว่า 3,000,000 บัญชีและผู้บริโภคทั่วไทยจะได้รับประสบการณ์ที่ดี (Customer Experience) ช่วยเสริมสร้างความผูกพันกับแบรนด์เคทีซีอย่างยั่งยืน
นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ในโลกปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวไปเร็วสถาบันการเงินของไทยกำลังเปลี่ยนผ่านหรือทรานส์ฟอร์มไปสู่โลกแห่งดิจิทัลไทยแลนด์ 4.0 ตามแผนการพัฒนาระบบชำระเงินแบบอีเล็คโทรนิคส์แห่งชาติ (National ePayment) เคทีซีเองก็ได้มีการปรับแผนกลยุทธ์ด้านไอทีและดิจิทัลเพื่อสนับสนุนประเทศไทยสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) อย่างเต็มรูปแบบด้วย 3 แนวทางหลักคือ 1.ระบบต้องมีความเสถียร 2.โมเดลธุรกิจที่จับต้องได้และ 3.กระบวนการทำงานถูกต้องและมีประสิทธิภาพโดยในปี 2561 บริษัทฯจะเดินหน้าขยายความร่วมมือกับทุกพันธมิตรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญโดดเด่นในธุรกิจนั้นนั้น (Collaborative Business Model) แบบไม่มีขีดจำกัดไม่ว่าจะเป็นพันธมิตรทางการตลาดกลุ่มสตาร์ทอัพฟินเทคหรือร้านค้าที่มีจุดแข็งโดดเด่นและพร้อมที่จะทำงานร่วมกับเคทีซีเพื่อนำเสนอบริการที่มีคุณค่าให้กับสมาชิกและรองรับธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางออนไลน์ที่มากขึ้น นอกจากนี้ เรายังมีแผนปรับกลยุทธ์การตลาดในธุรกิจหลักคือบัตรเครดิตสินเชื่อบุคคลและร้านค้าเพื่อสร้างโอกาสจากมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายใหม่และรักษาฐานสมาชิกเดิมให้อยู่กับแบรนด์เคทีซีอย่างยั่งยืน”
นายระเฑียร กล่าวว่า “เราศึกษาและทดสอบระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าได้นวัตกรรมบริการที่ดีที่สุดและเหมาะสมมาพัฒนาและประยุกต์ใช้กับธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลซึ่งเป็นธุรกิจหลักควบคู่ไปกับการศึกษาพฤติกรรมความต้องการของลูกค้าจากฐานข้อมูล (Big Data) และวิเคราะห์ปัญหา (Pain Points) ที่มาจากลูกค้าจริงๆ เพื่อให้แน่ใจว่านวัตกรรมบริการที่จะนำไปเสนอกับลูกค้าต้องเป็นประโยชน์มีความเสถียรรวดเร็วใช้งานได้และปลอดภัยที่สุด ในขณะเดียวกันเมื่อลูกค้ามีการใช้จ่ายบัตรเครดิตผ่านทางออนไลน์มากขึ้น เราเองก็ต้องแน่ใจว่าเรามีระบบที่ดีที่สุดสำหรับร้านค้าในการรองรับธุรกรรมที่จะเติบโตมากขึ้นด้วยเช่นกัน ที่สำคัญจะต้องนำเสนอประสบการณ์ที่ดี (CX-Customer Experience) และเหนือกว่าความคาดหมายของผู้ถือบัตรเครดิตในการทำธุรกรรม”
นางพิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – ธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี” กล่าวถึงกลยุทธ์การตลาดธุรกิจบัตรเครดิตในปี 2561 ว่า “ทีมการตลาดของเคทีซีจะเดินหน้าความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจต่างๆ เพื่อสรรหาสิทธิพิเศษที่เป็นประโยชน์ทุกหมวดการใช้จ่ายที่จำเป็นและตอบสนองทุกเทรนด์ของไลฟ์สไตล์ที่จะเกิดขึ้น อย่างเช่น หมวดกีฬา ท่องเที่ยว ของเล่น ของสะสม สัตว์เลี้ยง และคอมมูนิตี้ต่างๆ เพื่อเป้าหมายของการเป็นบัตรเครดิตอันดับต้นต้นที่ทุกคนนึกถึงผนวกเข้ากับกลยุทธ์สร้างสัมพันธ์ระยะยาวกับฐานสมาชิกเดิม ด้วยโปรแกรมคะแนนสะสม KTC Forever Rewards โดยจะขยายทั้งรูปแบบการใช้คะแนนที่หลากหลายและเพิ่มช่องทางในการแลกสินค้าและบริการให้มากขึ้น รวมทั้งจะมุ่งสร้างการรับรู้ผ่านสื่อต่างๆ และช่องทางออนไลน์ให้สมาชิกได้รับทราบรายการส่งเสริมการตลาดและบริการแบ่งชำระ 0% KTC Flexi เพื่อสร้างโอกาสในการใช้จ่ายผ่านบัตรรวมถึงพัฒนาช่องทางออนไลน์ให้สมาชิกเคทีซีทำธุรกรรมรายการต่างๆได้ด้วยตนเอง ผ่าน “Click KTC” บนเว็บไซต์ www.ktc.co.th โฉมใหม่หรือผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น“TapKTC” โดยเคทีซียังได้ปรับโฉมใหม่ของโมบายแอพพลิเคชั่น“TabKTC” เพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบโจทย์ลูกค้าใช้ง่ายสะดวกและสบายตากับฟีเจอร์จำเป็นที่ลูกค้าเลือกได้เองเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าในหลายด้านนอกเหนือจากความคุ้มค่าและความหลากหลายของสิทธิพิเศษที่เราจะคัดสรรมาให้”
นางสาวสุดาพร จันทร์วัฒนากุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร-ธุรกิจสินเชื่อบุคคล “เคทีซี” กล่าวถึงกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจสินเชื่อบุคคลในปี 2561 ว่า “ในปีหน้าคาดว่าตลาดสินเชื่อบุคคลจะมีการแข่งขันสูงและมีความท้าทายผู้ประกอบการมากขึ้นกว่าเดิม จากกฎเกณฑ์ที่แบงก์ชาติประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2560 ที่ผ่านมาโดยในส่วนของเคทีซีจะพิจารณาขยายฐานสมาชิกใหม่ไปยังกลุ่มเป้าหมายศักยภาพที่มีรายได้ 30,000 บาทมากขึ้น เพราะไม่มีการจำกัดวงเงินและจำนวนสถาบันการเงิน ในขณะเดียวกันจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับผู้มีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาทซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าสำคัญของบริษัทฯ โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาและมีงานประจำทำเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้เคทีซีพราว “KTC PROUD” เป็นบัตรใบแรกที่เคียงคู่กับผู้ใช้และเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในยามที่จำเป็น ในขณะเดียวกันบริษัทฯจะพัฒนาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์และบริหารสินเชื่อพร้อมใช้ “เคทีซีพราว” ให้ตอบโจทย์สมาชิกมากขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายในยุคดิจิทัล เช่น Cash Online การเบิกเงินสดผ่านโทรศัพท์มือถือและเว็บไซต์เคทีซีสำหรับผู้ที่มีเงินฝากกับธนาคารกรุงไทยหรือการขอรหัสผ่านด้วยตัวเองที่ Click KTC บนเว็บไซต์หรือโมบายแอพฯ “TabKTC” หรือทำรายการอัตโนมัติทางโทรศัพท์ด้วยระบบ IVR รวมทั้งบริหารจัดการพอร์ตลูกหนี้ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและผูกพันกับเคทีซีอย่างยั่งยืนด้วยโปรแกรมการตลาดรูปแบบใหม่ใหม่ที่แตกต่างและตรงกับความต้องการของสมาชิก เช่น การแบ่งเบาภาระหนี้ และค่าของชีพ คอร์สการให้ความรู้เพื่อสร้างรายได้เสริม การพัฒนาคุณภาพชีวิตต่างๆ ปัจจุบันเคทีซีมีสมาชิกสินเชื่อบุคคล 850,383 บัญชี (ข้อมูล ณ 30 มิถุนายน 2560)”
นายปิยะศักดิ์ เตชะเสน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส – ช่องทางจัดจำหน่ายและธุรกิจร้านค้า “เคทีซี” กล่าวถึงกลยุทธ์การบริหารช่องทางจัดจำหน่ายและธุรกิจร้านค้าว่า “ในปี 2561 ถือเป็นปีแห่งความท้าทายในการขยายฐานลูกค้าใหม่เพื่อให้ตอบรับกับกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกมาเคทีซีมีการปรับกลยุทธ์แนวคิดและวิธีการทำงานใหม่ทั้งกระบวนการให้เหมาะสมโดยในส่วนของธุรกิจช่องทางจัดจำหน่ายจะมุ่งไปที่ 4 แนวทางหลักคือ 1.เพิ่มประสิทธิภาพในการขยายฐานลูกค้าคุณภาพให้ตรงกลุ่มมากกว่าการเน้นปริมาณ เน้นกลุ่มคนที่มีรายได้ตั้งแต่ 30,000 บาทมากขึ้น เนื่องจากมีการใช้จ่ายต่อเดือนสูงและมีอัตรานี่เสียที่ต่ำกว่ากลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท 2.เน้นช่องทางออนไลน์ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ทางเว็บไซต์ www.ktc.co.th โมบายแอพฯ “ TabKTC” และ QR Code รวมถึงจะร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจที่เป็นสื่อกลางในการรับสมัครบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลผ่านออนไลน์ให้มากยิ่งขึ้น 3.ใช้ช่องทางสาขาของธนาคารกรุงไทยและตัวแทนขาย (Outsourse Sales) ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศเป็นช่องทางหลักในการขยายฐานสมาชิก 4.ใช้โปรแกรมและแคมเปญการตลาดที่น่าสนใจและหลากหลายของเคทีซีกระตุ้นความสนใจผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายให้มาสมัครเป็นลูกค้า”
สำหรับการบริหารธุรกิจร้านค้ารับบัตรในปี 2561 บริษัทฯมีเป้าหมายเติบโตของธุรกิจร้านค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากยิ่งขึ้นเพิ่มทางเลือกใหม่ให้แก่ร้านค้าในการรับชำระสินค้าและบริการที่หลากหลายนำเสนอบริการ KTC Payment Solutions ที่เหมาะสมกับประเภทธุรกิจของคู่ค้าและขยายตลาดเจาะร้านค้าขนาดกลางและขนาดเล็กโดยใช้ QR Code Payment ในการขับเคลื่อนซึ่งมีความคล่องตัวและช่วยให้ร้านค้าบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพตอบโจทย์สังคมไร้เงินสดพร้อมทั้งนำเสนอ Allpay O2O (Online to Offline) Payment ให้กับร้านค้าในหลายธุรกิจเพื่อเร่งขยายจุดรับชำระสินค้าและบริการตามแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน ทั้งดิวตี้ฟรีช็อป ร้านอาหาร จิวเวอรี่ เครื่องสำอาง”
นายชุติเดช ชยุติ ซีเอฟโอ (CFO) “เคซีที” กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจและกลยุทธ์ในการบริหารการเงินว่า “เคทีซียังคงความสามารถในการสร้างรายได้และการทำกำไรรวมถึงยังสามารถควบคุมให้สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ในระดับใกล้เคียงเดิมแม้จะต้องพบกับความท้าทายใหม่จากหลายปัจจัยก็ตาม บริษัทฯยังคงยืนยันว่ากำไรปี 2560 จะเติบโต 10% ตามเป้าหมายที่วางไว้สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศในปี 2561 มีแนวโน้มเชิงบวกจากสภาพเศรษฐกิจต่างประเทศที่ขยับตัวดีขึ้นส่งผลให้การส่งออกในประเทศดีตามไปด้วยรวมไปถึงจีดีพี (GDP) ที่มีแนวโน้มขยับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้นในปีหน้าสำหรับกลยุทธ์การบริหารด้านการเงินของเคทีซีในปี 2561 บริษัทฯจะยังคงมุ่งเน้นให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพโดยจัดบริหารต้นทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต้องการค้นหาต้นทุนที่ต่ำและเพิ่มสัดส่วนของเงินกู้ระยะยาวมากขึ้น รวมทั้งมีแผนจะออกหุ้นกู้ในระยะยาวกว่าเดิมเพื่อทดแทนหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในปีหน้า”
“ส่วนการตั้งสำรองของบริษัทฯ ตามแนวทางของมาตรฐานบัญชี IFRS 9 ทางบริษัทที่ปรึกษาของบริษัทฯได้สอบทานโมเดลที่ใช้ในการคำนวณสำรองว่าสอดคล้องกับหลักการและเป็นไปตามแนวทางของมาตรฐาน IFRS 9 แล้วดังนั้นในสิ้นปี 2560 นี้บริษัทฯจะปรับตัวเลขการตั้งสำรองในส่วนต่างๆให้เพียงพอตาม IFRS 9 และพร้อมที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานโดยคาดว่าไม่มีผลกระทบที่มีนัยสำคัญในต้นปี 2562 ที่บริษัทฯจะนำมาตรฐานฉบับดังกล่าวมาถือปฏิบัติ นอกจากนี้บริษัทฯยังพร้อมรับชำระเงินและจ่ายเงิน (Bill Payment) ผ่านระบบพร้อมเพย์ในสิ้นปี 2560 และมีแผนเข้าร่วมในโครงการระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอีเล็คทรอนิกส์ (E-Tax System) เป็นกลุ่มแรกซึ่งกรมสรรพากรจะเริ่มนำมาใช้ในเดือนมกราคมพ.ศ. 2561”
นายระเฑียร กล่าวปิดท้ายว่า “เคทีซีมุ่งขยายธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยโมเดลธุรกิจที่แตกต่างและเป็นรูปธรรมโดยมีเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสนับสนุนให้ธุรกิจขับเคลื่อนอย่างมีเสถียรภาพเราคิดว่าวันนี้เคทีซีพร้อมเกือบ 100% สำหรับการรองรับแพลทฟอร์มงานดิจิทัลอย่างเต็มที่ และเชื่อว่าลูกค้าจะได้รับบริการด้านดิจิทัลที่ดีที่สุดของวงการบัตรเครดิตในขณะนี้ และพร้อมจะให้สมาชิกเคทีซีหรือแม้กระทั่งผู้บริโภคที่อาจจะเป็นลูกค้าเราในอนาคตเป็นผู้พิสูจน์และบอกเราเพื่อให้เราได้มีโอกาสปรับปรุงและพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นเพราะการจะทำให้ลูกค้าหรือสมาชิกผูกพันกับแบรนด์เคทีซีได้อย่างยั่งยืนควรมาจากความพึงพอใจของลูกค้าที่ได้รับจากประสบการณ์ใช้งานจริงๆ และเคทีซีจะไม่หยุดแค่นี้ เรายังคงทำงานหนักต่อเนื่องเพื่อสรรหาสิ่งที่ดีที่สุดมานำเสนอให้ลูกค้าได้รับประโยชน์ครบทุกความต้องการ เพื่อสร้างความผูกพันระหว่างลูกค้ากับแบรนด์เคทีซีอย่างยั่งยืน”
“เคทีซี” เติบโตอย่างยั่งยืน : นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” (กลาง), นายปิยะศักดิ์ เตชะเสน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส – ช่องทางจัดจำหน่ายและธุรกิจร้านค้า “เคทีซี” (ซ้ายสุด), นางพิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – ธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี” (ที่ 2 จากซ้าย), นางสาวสุดาพร จันทร์วัฒนากุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร-ธุรกิจสินเชื่อบุคคล “เคทีซี” (ที่ 2 จากขวา) และนายชุติเดช ชยุติ ซีเอฟโอ (CFO) “เคซีที” (ขวาสุด) ร่วมกันแถลงข่าวโชว์วิสัยทัศน์ทิศทางธุรกิจของ “เคทีซี” ในปี 2561
You must be logged in to post a comment Login