- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 19 hours ago
- อย่าไปอินPosted 4 days ago
- ปีดับคนดังPosted 5 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 6 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
อำนาจใหม่! / โดย นายหัวดี
คอลัมน์ : ฉุก(ละหุก)คิด
ผู้เขียน : นายหัวดี
เว็บไซต์ iLaw สรุปอำนาจและขั้นตอนการพิจารณาของ “ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” หรือ “ศาลฎีกานักการเมือง” ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว หลักการใหญ่ยังเหมือนเดิม คือเมื่อมีการฟ้องคดีให้ประธานศาลฎีกาเรียกประชุมใหญ่ผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมด เพื่อเลือกผู้พิพากษา 9 คนเป็นองค์คณะคดี
ประชาชนทั่วไปไม่อาจเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อ “ศาลฎีกานักการเมือง” ได้ ผู้ที่มีอำนาจฟ้องคดี 2 องค์กร คือ “อัยการสูงสุด” หรือ “คณะกรรมการป.ป.ช.” เท่านั้น
ที่น่าสนใจคือตามมาตรา 42-44 เพิ่มอำนาจให้ “ศาลฎีกานักการเมือง” คือ มีอำนาจ “สั่งริบทรัพย์สิน”ได้ ไม่ว่าฝ่ายโจทก์จะขอให้ศาลสั่งริบหรือไม่ก็ตาม อาทิ ทรัพย์สินที่ใช้กระทำความผิด หรือได้มาจากการกระทำความผิด ทรัพย์สินที่ได้มาจากการทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ ฯลฯ
กฎหมายใหม่ให้จำเลยสามารถยื่น “อุทธรณ์” ได้ภายใน 30 วัน นับแต่มีคำพิพากษา ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเพื่อคัดเลือกผู้พิพากษาศาลฎีกาอีก 9 คนที่ไม่เคยตัดสินคดีนั้นเป็นผู้วินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์ ส่วนคดีที่ตัดสินลงโทษ “ประหารชีวิต”หรือ“จำคุกตลอดชีวิต” ศาลต้องส่งเรื่องให้วินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์อีกครั้งหนึ่งเสมอ
ส่วนจำเลยที่เป็นนักการเมือง หรือผู้มีอิทธิพล ซึ่งมีโอกาสที่จะหลบหนีได้มาก กฎหมายใหม่จึงเพิ่มเงื่อนไขมากมายเพื่อป้องกัน รวมถึงการพิจารณาลับหลังและไม่จำกัดอายุความ
You must be logged in to post a comment Login