- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
โรคหัวใจในเด็ก / โดย นพ.สุทัศน์ คันติโต
คอลัมน์ : โลกสุขภาพ
ผู้เขียน : นพ.สุทัศน์ คันติโต
หลายคนคิดว่าโรคหัวใจจะมีแต่ในผู้ใหญ่เท่านั้น ความจริงแล้วไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ เด็กเล็กก็มีความเสี่ยงเรื่องโรคหัวใจได้เช่นกัน
จากสถิติสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์พบว่า โดยเฉลี่ยในเด็ก 1,000 คน จะพบเด็กเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 8 คน
การเกิดโรคหัวใจมีหลายสาเหตุ เช่น โรคหัวใจรูห์มาติก เกิดจากไข้รูห์มาติก ทำให้ลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบได้ ส่วนใหญ่จะพบในช่วงวัยเรียน โรคคาวาซากิ พบมากในเด็กเล็ก อาจทำให้เส้นเลือดหัวใจโคโรนารีโป่งพอง โรคลิ้นหัวใจจากการติดเชื้อ เชื้อแบคทีเรียเกือบทุกชนิดอาจเป็นสาเหตุของการอักเสบของลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจรั่วรุนแรงได้ นอกจากนี้โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่เด็กสามารถเป็นได้
สัญญาณเตือนภัยที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องหมั่นสังเกตประกอบด้วย 5 อาการหลักคือ 1.หายใจหอบเหนื่อย 2.เล็บและปากเขียว 3.ใจสั่น หน้ามืด หรือเป็นลมบ่อยครั้ง ซึ่งอาจเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ 4.มีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น เจ็บหน้าอก (ในเด็กจะพบไม่มากเท่าผู้ใหญ่ อาการเจ็บหน้าอกในเด็กมีส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดจากโรคหัวใจ) และ 5.แพทย์ตรวจพบว่ามีเสียงหัวใจผิดปรกติ ซึ่งอาจจะแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการก็ได้
ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองจึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญที่จะสามารถช่วยลูกน้อยห่างไกลจากโรคหัวใจในเด็กได้ หากมีลักษณะอาการแสดงข้างต้นควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็กสุขภาพร่างกาย ควรตรวจสุขภาพกับกุมารแพทย์เป็นประจำทุกปี เพื่อให้ลูกน้อยห่างไกลจากภัยเงียบของโรคหัวใจได้
You must be logged in to post a comment Login