- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
โนเบลสันติภาพต้านนิวเคลียร์
คณะกรรมการมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (Nobel Peace Prize) ปีนี้ ปรับเป้าหมายมากระตุ้นให้ประชาคมโลกตระหนักถึงมหันตภัยของอาวุธนิวเคลียร์
โดยตัดสินมอบรางวัลให้องค์กรรณรงค์ต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์นานาชาติ (International Campaign to Abolish Nuclear Weapons : ICAN) เมื่อวันศุกร์ (6 ต.ค.) ที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์
ไอแคน (ICAN) เป็นองค์กรภาคประชาชน หรือกลุ่มเอ็นจีโอ (NGO) ระดับรากหญ้า มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีกลุ่มที่ร่วมเป็นพันธมิตรอยู่ทั่วโลกกว่า 100 ประเทศ
ผลงานเด่นของไอแคนที่ “เข้าตากรรมการ” ช่วยให้ได้รับรางวัล ได้แก่ การมีส่วนร่วมสำคัญในการผลักดันสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Prohibition of Nuclear Weapons) ผ่านการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา
ประเทศสมาชิกยูเอ็นที่เข้าร่วมประชุม ลงมติเห็นชอบกับสนธิสัญญา 122 เสียง คัดค้านเพียงประเทศเดียวคือเนเธอร์แลนด์
นอกจากมอบรางวัลเป็นกำลังใจแก่ไอแคนแล้ว ทางคณะกรรมการมอบรางวัลยังต้องการส่งสัญญาณปรามเกาหลีเหนือและสหรัฐ ที่ขู่จะประลองอาวุธนิวเคลียร์กันบ่อยครั้ง ซึ่งความตึงเครียดระหว่าง 2 ประเทศ ยังคงยืดเยื้อมาถึงปัจจุบัน
การใช้รางวัลเข้ามาเสริมมาตรการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ จึงมีคุณค่าตรงกับสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ของยูเอ็น ยังไม่มีผลบังคับใช้ จนกว่าชาติสมาชิกยูเอ็นจะให้สัตยาบันรับรองครบ 50 ประเทศ
นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยสำคัญที่ทำให้สนธิสัญญาของยูเอ็นดูด้อยพลัง นั่นคือชาติมีอาวุธนิวเคลียร์ระดับแถวหน้าของโลก 9 ประเทศ ประกอบด้วยสหรัฐ รัสเซีย จีน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อินเดีย ปากีสถาน เกาหลีเหนือ และอิสราเอล ไม่ได้ร่วมด้วย
ที่แปลกกว่านั้นคือนอร์เวย์ ซึ่งเป็นเจ้าภาพมอบรางวัลโนเบลสันติภาพ และเป็นสมาชิกนาโต ก็ประกาศไม่รับรองสนธิสัญญาของยูเอ็นเช่นกัน โดยให้เหตุผลว่า เสี่ยงทำให้ศักยภาพป้องกันตนเองของนาโตอ่อนแอ
การฝากความหวังไว้กับสนธิสัญญาของยูเอ็น ด้านควบคุมและกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ จึงค่อนข้างเลื่อนลอย และสภาพการณ์ดังกล่าว ยังสะท้อนไปยังรางวัลโนเบลสันติภาพที่ไอแคนได้รับ ในแง่การนำมาใช้เป็นเครื่องมือเสริมแผนปราบอาวุธนิวเคลียร์
พลังของโนเบลสันติภาพ ยังห่างชั้นกับพลังของกลุ่มประเทศที่อยู่ข้างอาวุธนิวเคลียร์
แต่ไม่ได้หมายความว่า การมุ่งมั่นเดินหน้ารณรงค์ของไอแคนจะไร้คุณค่า
You must be logged in to post a comment Login