- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
เป้าหมายญี่ปุ่นหลังเลือกตั้ง

การเลือกตั้ง ส.ส.ญี่ปุ่น เมื่อวันอาทิตย์ (22 ต.ค.) ออกมาเกินเป้าที่นายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ และพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democratic Party : LDP) ตั้งไว้
พรรคแอลดีพี (LDP) ตั้งเป้าจำนวน ส.ส.ที่จะชนะเลือกตั้งไว้ 261 ที่นั่ง แต่ผลปรากฏว่ากวาดมาได้ถึง 283 ที่นั่ง เตรียมจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคโคเมะอิโตะ ซึ่งได้ ส.ส. 29 ที่นั่ง ทำให้จำนวนเสียงในสภาผู้แทนฯ เกิน 2 ใน 3 หรือเกิน 310 ที่นั่ง จากทั้งหมด 465 ที่นั่ง
ทั้งนี้ พรรคแอลดีพีและพรรคร่วมรัฐบาล มีจำนวนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ในวุฒิสภาอยู่ก่อนแล้ว ผลการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งนี้ จึงทำให้รัฐบาลมีฐานเสียงแน่นทั้ง 2 สภา ส่งผลดีต่อการพิจารณาร่างกฎหมายและญัตติต่างๆ ที่รัฐบาลเสนอเข้าสภา
อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นยังจัดตั้งรัฐบาลใหม่ไม่ได้ หากศาลรับคำฟ้องของกลุ่มนักกฎหมาย ที่ยื่นคำร้องขอให้ศาลตัดสินผลการเลือกตั้งทั้งหมดเป็นโมฆะ โดยกลุ่มยื่นฟ้องอ้างว่า การแบ่งเขตใช้สิทธิลงคะแนนขัดต่อรัฐธรรมนูญ
แต่กรณีสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปรกติ โดยศาลไม่รับคำฟ้อง และมีการประกาศรับรองผลเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ โอกาสย่อมตกเป็นของพรรคแอลดีพี รวมทั้งพรรคร่วมรัฐบาล และนายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ
อาเบะแถลงหลังทราบผลเลือกตั้งว่า ปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ก่อนอย่างอื่นมี 2 กรณี คือภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ และอัตราประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญหาขาดบุคลากรวัยทำงาน ส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
สำหรับการรักษาความมั่นคง ปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากภัยเกาหลีเหนือ ผู้นำญี่ปุ่นวางแผนดำเนินนโยบายทางการทูตอย่างเด็ดเดี่ยวร่วมกับสหรัฐ เพื่อยับยั้งเกาหลีเหนือให้งดเว้นการใช้อาวุธนิวเคลียร์
นอกจากนั้น ผู้นำญี่ปุ่นยังมีแผนแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้อำนาจกองทัพปฏิบัติหน้าที่ได้เต็มกำลัง ซึ่งการพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภาไม่น่ามีปัญหา แต่มีความเสี่ยงในการลงประชามติ
ส่วนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ผู้นำญี่ปุ่นระบุว่า อุปสรรคสำคัญที่สุดอยู่ที่อัตราประชากรวัยทำงานลดลง ขณะที่อัตราผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จึงเตรียมแผนแก้ปัญหาแบบครบวงจรปลายปีนี้
ส่วนหนึ่งของแผนแก้ปัญหา ได้แก่ การลงทุนส่งเสริมการศึกษา ลงทุนส่งเสริมภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ปรับปรุงประสิทธิภาพภาคการผลิต และปฏิรูประบบสวัสดิการวัยเกษียณ
นักวิเคราะห์ญี่ปุ่นมองแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจของผู้นำญี่ปุ่นเชิงบวก แต่กังวลถึงความเสี่ยงจากแผนแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งมองกันว่าหากสะดุด จะส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย
You must be logged in to post a comment Login