วันพฤหัสที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

อี-ทิคเก็ต พ่นพิษ ซูเอี๋ย ตบตานายกฯ

On November 3, 2017

“บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” โกลาหลไม่สมราคาคุย บรรยากาศใช้บัตรผู้มีรายได้น้อยขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก) อย่างทุลักทุเล เอกชนผู้รับสัมปทานติดตั้งเครื่อง อี-ทิคเก็ต ยังไม่สามารถติดตั้งได้ครบและไม่สามารถให้บริการได้ เนื่องจากระบบเซริฟเวอร์ไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบส่วนกลางของธนาคารกรุงไทยและกรมบัญชีกลางได้ ขสมก.ซูเอี๋ยเอกชน แก้ผ้าเอาหน้ารอด ออกคูปองแทนเพื่อคิดเงินย้อนหลังเรียกเก็บจากเอกชน แถมเอาเครื่องโมบายด์โฟนที่อยู่นอกเหนือทีโออาร์ มาเรียกเก็บเงินจากบัตรสวัสดิการแทน จี้ตรวจสอบผิดกฏหมายหรือไม่?
บ่ายวานนี้ (1 พ.ย.)นายวีระพงษ์ วงศ์แหวน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่าตามที่ ขสมก. ว่าจ้างบริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียน จํากัด (มหาชน) ซึ่งชนะการประมูลประกวดราคาในการติดตั้งระบบ E- Ticket อุปกรณ์ควบรถโดยสารประจำทาง ปรากฏว่าจากการตรวจสอบการดำเนินการต่างๆ ของบริษัทฯไม่เป็นไปตามสัญญา กล่าวคือ
ประการที่ 1 เงื่อนไขสัญญาที่บริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียน จํากัด (มหาชน) ได้ทำข้อตกลงกับองค์การภายในวันที่ 13 ตุลาคม 2560 จะต้องติดตั้งระบบ E -Ticket ให้แล้วเสร็จสามารถนำมาใช้งานบริการประชาชน จำนวน 100 คัน ข้อเท็จจริงปรากฏว่าใช้งานได้เพียง 57 คัน จากการตรวจสอบโดยอุปกรณ์ควบรถ และเครื่องอ่านบัตรไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้ประชาชน และพนักงานเก็บเกิดความสับสน
ประการที่ 2 เมื่อมีการทำสัญญาบริษัทฯ ได้มีการติดตั้งระบบ E- Ticket ถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2560 ติดตั้งได้ประมาณ 190 คัน แต่ไม่สามารถใช้งานได้ และทยอยติดตั้งจนครบจำนวน 800 คัน ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2560 บริษัทได้นำบัตรจอดรถเป็นคูปองให้พนักงาน พกส. ฉีกหางบัตรจอดรถแทนเครื่องอ่านบัตร และมีการใช้ Mobile Phone ควบคู่กันไป แต่ก็ไม่สามารถใช้งานได้ 380605
ประการที่ 3 ระบบไม่สามารถใช้งานได้เกิดปัญหาในการตรวจสอบจำนวนผู้โดยสารขึ้น จะเกิดปัญหาในการคำนวณ หรือคิดค่าตอบแทนให้กับพนักงานประจำรถ และรายได้ค่าโดยสารขององค์การเนื่องจากข้อมูลจำนวนผู้โดยสารไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้ บริษัท ช.ทวีฯ จะต้องรับผิดชอบปัญหาต่างๆที่ เกิดขึ้นและไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญา วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 รถที่ติดตั้งระบบ E-Ticket จะต้องพร้อมให้บริการประชาชน แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ให้เป็นไปตามสัญญา
ประการที่ 4 TOR ที่กำหนดไว้หากมีปัญหาอุปกรณ์ระบบ E -Ticket เกิดขัดข้องไม่สามารถใช้งานได้ บริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียน จํากัด (มหาชน) จะต้องนำช่างมาแก้ไขภายใน 2 ชั่วโมง แต่มีการแก้ไขสัญญาเดิมให้เป็น 3 ชั่วโมง ซึ่งขัดกับ TOR ที่กำหนดไว้ หากไม่มีการดำเนินการใดๆอาจทำให้องค์การเกิดความเสียหาย หรืออาจมองได้ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทฯ คู่สัญญา หากบริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียนจํากัด (มหาชน) ไม่สามารถจัดส่งมอบอุปกรณ์ติดตั้งในระบบ E- Ticket ให้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนดองค์การฯ เห็นควรบอกเลิกสัญญา
สหภาพแรงงานฯ เห็นควรให้นายณัฐชาติ จารุจินดาประธานบอร์ดสั่งการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบสัญญาต่างๆ และการดำเนินการของ บริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียน จํากัด (มหาชน) และเร่งรัดให้บริษัทฯ ดำเนินการปฏิบัติตามสัญญาและ TOR ที่กำหนด หากไม่มีความพร้อม และสามารถติดตั้งระบบ E -Ticket ตามเวลาที่กำหนด เห็นควรให้บอกเลิกสัญญา และให้บริษัทฯ อื่นที่มีความพร้อมความชำนาญเข้ามาดำเนินการ เพื่อมิให้องค์การได้รับความเสียหาย และในองค์การถือปฏิบัติ ตามสัญญาอย่างเคร่งครัดเพื่อรักษาผลประโยชน์ขององค์การ
S__147980329
ขณะที่นายประยูร ช่วยแก้ว รักษาการผู้อำนวยการ ขสมก. มีบันทึกข้อความ รายงานผลการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประชาชนในการโดยสารรถประจำทาง ขสมก. ถึงรัฐมนตรีการกระทรวงคมนาคม โดยรายงานถึงปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของ ขสมก. ว่าบริษัท ช.ทวี จำกัด (มหาชน) ไม่สามารถติดตั้งระบบ E- Ticket ให้สมบูรณ์พร้อมใช้งานให้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินงานที่วางไว้ อาทิ การวางระบบสายไฟในภายในรถโดยสาร เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบส่วนกลาง รวมถึงการนำโมบายโฟนมาใช้ทดแทนระบบ E -Ticket ที่ยังติดตั้งไม่แล้วเสร็จ ซึ่งพบว่าเกิดปัญหาระหว่างการสแกนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระบบประมวลมีความล่าช้าใช้เวลาประมาณ 5 นาที/คน และบริษัทฯไม่สามารถนำส่งสติ๊กเกอร์สำหรับติดรถบริเวณกระจกด้านหน้ารถให้เป็นจุดสังเกตของผู้ใช้บัตรฯ โดยในเบื้องต้น องค์การได้แก้ปัญหาโดยการนำบัตรคูปองมอบให้กับผู้ถือบัตรฯแทนการใช้สิทธิ์ในกรณีที่ระบบ E -Ticket และโมบายโฟนขัดข้อง ไม่สามารถอ่านบัตรได้ โดยมูลค่าเงินในบัตรฯ จะไม่ถูกหักชำระค่าโดยสาร แต่ยังคงมีจำนวนเงินเท่าเดิม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การที่ ขสมก.ยินยอมให้บริษัท ช.ทวี จำกัด (มหาชน) นำเครื่องโมบายโฟน มาใช้อ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และไม่สามารถเชื่อมโยงกับระบบส่วนกลางของธนาคารกรุงไทยและกรมบัญชีกลางได้นั้น ถือเป็นการผิดข้อตกลงและอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ เพราะอุปกรณืดังกล่าวไม่ได้มีอยู่ในทีโออาร์. การนำอุปกรณ์ที่ไม่ผ่านคณะกรรมการกำหนดคุณสมบัติหรือทีโออาร์ ?ศฎ๕ยฌ)ฯฮู)กรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเงินๆทองๆของรัฐ จะผิดกฎหมายหรือไม่? รวมทั้งการที่ ขสมก.แก่ผ้าเอาหน้ารอดโดยการนำคูปองที่ไม่มีที่มาที่ไปไร้มาตรฐาน อาจเป็นช่องโหว่อาจก่อให้เกิดการทุจริตได้หรือไม่? และการที่ ขสมก.จะโยนให้บริษัท ช.ทวี รับผิดชอบจ่ายค่าโดยสารโดยนับจากยอดคูปองนั้นทำได้หรือไม่? และทำไม ช.ทวี ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเมื่อ ค่าโดยสารที่หักออกจากประชาชนผู้ถือบัตร รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้รับชำระ เหตุการณ์ความโกลาหลจากกรณี การเปิดใช้ระบบ อี-ทิคเก็ต นังแต่วันที่ 1 พฤษจิกายนเป็นต้นมา ไม่เหมือนกับวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา วันที่ ขสมก.ควงแขน ตัวแทนบริษัท ช.ทวี ไปโชว์ถึงความพร้อมและให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทดลองใช้ที่ทำเนียบรัฐบาล


You must be logged in to post a comment Login