วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ติดดาบ‘ตลก.’! / โดย นายหัวดี

On November 8, 2017

คอลัมน์ : ฉุก(ละหุก)คิด

ผู้เขียน : นายหัวดี

ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ผ่านการพิจารณาวาระรับหลักการในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2560 โดยมีมติเอกฉันท์จากที่ประชุมสนช.รับ “หลักการ” ของศาลรัฐธรรมนูญ มีบัญญัติอยู่แล้วในหมวด 11 เรื่องศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 200-214) ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 แต่รัฐธรรมนูญได้บังคับให้มี พ.ร.ป ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญขึ้นอีกเพื่อกำหนด “รายละเอียด” และกฎเกณฑ์ที่สำคัญของศาลรัฐธรรมนูญ

หลักการและรายละเอียดสำคัญของร่างพ.ร.ป.ฉบับนี้ มีทั้งที่มาของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ​และอำนาจวินิจฉัยคดีทั้งหมดที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจ แต่สิ่งที่น่าสนใจในร่างกฎหมายนี้คือ “อำนาจใหม่ของศาลรัฐธรรมนูญ” ได้แก่

1.ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการให้คำปรึกษาเพื่อยุติข้อโต้แย้งระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญ

2.ผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพยื่นร้องต่อศาลได้โดยตรง และ

3.บทบัญญัติห้ามละเมิดอำนาจศาล ห้ามวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญ

“แป๊ะมีชัย” ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เคยกล่าวไว้ว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้สำคัญที่สุดต่อบ้านเมือง เพราะถ้าเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญเหมือน “ขื่อแป” แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญคือ “เสาหลัก” ที่ค้ำยันบ้านเมืองให้เป็นรูปเป็นร่าง “หากไม่มีเสาค้ำไว้ ขื่อแปอาจบิดเบี้ยว”


You must be logged in to post a comment Login