- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
นักวิทย์เตือนโลกเสี่ยงวิกฤต
ทีมนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกกว่า 15,000 คน นำเสนอข้อมูลธรรมชาติถูกทำลายโดยมนุษย์ พร้อมกับเตือนว่า หากไม่ร่วมกันแก้ปัญหาอย่างจริงจัง สภาพแวดล้อมโลกจะเผชิญวิกฤต กลายเป็นต้นเหตุทำให้เกิดมหันตภัยแก่มนุษยชาติ
การรวมพลคนวิทยาศาสตร์ครั้งนี้ นำโดยศาสตราจารย์วิลเลียม ริพเพิล ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยออริกอน สหรัฐ และคณะอีก 7 คน ร่วมกันเขียน “จดหมายเหตุ” หรือบทความประมวลข้อมูลในหัวข้อ “World Scientists’ Warning to Humanity : A Second Notice”
จากนั้น ได้นำบทความขอเสียงสนับสนุนจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกที่เห็นด้วย ปรากฏว่ามีผู้ลงชื่อเห็นด้วยมากถึง 15,364 คน จาก 184 ประเทศ ทางคณะผู้ประมวลข้อมูลจึงนำบทความออกเผยแพร่ในวารสาร BioScience เมื่อวันจันทร์ (13 พ.ย.)
ริพเพิลและคณะตัดสินใจจัดทำ “จดหมายเหตุ” ครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการประเมินผลหลังนำฉบับแรกออกเผยแพร่เมื่อปี 1992 หรือเมื่อ 25 ปีที่แล้ว โดยฉบับแรกมีนักวิทยาศาสตร์ลงนามเห็นด้วยกว่า 1,700 คน พบว่าปัญหาแทบไม่มีการแก้ไขเลย ทำให้ต้องกระตุ้นเตือนอีกครั้ง
ริพเพิลและพันธมิตรเตือนว่า สภาพแวดล้อมโลกอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง จากผลกระทบที่มนุษย์ก่อขึ้น หากไม่หยุดพฤติกรรมทำลายธรรมชาติ และไม่ร่วมกันแก้ปัญหา จะทำให้บรรยากาศโลกวิกฤต กระทั่งมนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ยาก
สาเหตุสำคัญที่ทำให้สภาพแวดล้อมโลกเลวร้ายลง มี 8 กรณี คือ 1.ชั้นโอโซนถูกทำลาย 2.แหล่งน้ำจืดสำหรับอุปโภคบริโภคหายากขึ้น 3.สัตว์น้ำถูกทำลาย 4.แหล่งน้ำเป็นมลพิษขยายวงกว้างต่อเนื่อง ทำให้สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ไม่ได้ 5.ป่าไม้ถูกทำลาย 6. ความหลากหลายทางชีวภาพถูกทำลาย 7.สภาพอากาศแปรปรวนจากภาวะโลกร้อน และ 8.ประเทศกำลังพัฒนามีประชากรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลต่ออัตราการทำลายธรรมชาติที่เพิ่มตามไปด้วย
ในบทความระบุว่า ระยะ 25 ปีที่ผ่านมา นับจากนำเสนอบทความฉบับแรก มีเพียงปัญหาเดียวที่ได้รับการแก้ให้ดีขึ้น
นั่นคือการลดใช้สารสเปรย์และสารทำความเย็น ช่วยให้ชั้นโอโซนซึ่งทำหน้าที่ดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ถูกทำลายน้อยลง ขณะอีก 7 ปัญหาที่เหลือมีอัตราเลวร้ายลงกว่าเดิม
การนำเสนอข้อมูลครั้งนี้ ไม่มีข้อบังคับให้ปฏิบัติตาม เป็นการออกมาเตือนด้วยความห่วงใย เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทุกภาคส่วนตระหนักถึงภัยร้ายที่จะเกิดตามมา
ทีมนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า หากไม่ช่วยกันแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ประชาคมโลกจะเผชิญภัยพิบัติร้ายแรงในอนาคตอันใกล้
You must be logged in to post a comment Login