- เลือกงานให้โดน บริหารคนให้เป็น ตาม“ลัคนาราศี”Posted 4 hours ago
- ต่างศาสนา ต่างชาติพันธุ์ อยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างPosted 4 hours ago
- โลภ•ลวง•หลง เกมพลิกชีวิต รีแบรนด์หรือรีบอร์นPosted 4 hours ago
- กูไม่ใช่ไก่ต้มเว้ย! อย่ามาต้มกูเลย..Posted 4 hours ago
- หยุดความรุนแรง-ลวงโลกPosted 1 day ago
- อ.เบียร์ช่วยวัดสวนแก้วPosted 4 days ago
- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 5 days ago
- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 6 days ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 1 week ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 1 week ago
‘คลองไทย’อนาคตของความฝัน? / โดย เรืองยศ จันทรคีรี-ณัฐวุธ วัชรกุลดิลก
คอลัมน์ : กรีดกระบี่บนสายธาร
ผู้เขียน : เรืองยศ จันทรคีรี-ณัฐวุธ วัชรกุลดิลก
เรื่องของคลองไทยหรือคอคอดกระยังพอมีสารัตถะที่กล่าวถึงได้อย่างน่าสนใจมาก เพราะมีหลายแง่และหลากหลายมุมมองมากทีเดียว เรื่องคอคอดกระมีพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างจังหวัดชุมพรและระนองนั้นนับเป็นอีกประวัติศาสตร์ที่มีความน่าสนใจมากและมีหลากหลายมิติ
ในแง่เศรษฐกิจและการเมืองย่อมเกี่ยวข้องกับรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยเฉพาะเมื่อมีผู้พยายามปัดฝุ่นโครงการเสนอเรื่องคลองไทย โดยคาดหมายให้ พล.อ.ประยุทธ์ตัดสินใจเดินหน้าโครงการนี้ต่อไปเพื่อเชื่อม 2 มหาสมุทรคือแปซิฟิกและอินเดียเข้าหากัน ทำให้ย่นระยะทางการเดินเรือ ถือเป็นโครงการยักษ์ที่อาจสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยให้รุ่งเรืองขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกก็ได้
เรื่องคลองเชื่อมโยง 2 ฝั่งมหาสมุทรมีการนำมากล่าวถึงอีกครั้ง ไม่ใช่ในชื่อคอคอดกระ แต่เสนอใหม่ในชื่อ “คลองไทย” ซึ่งมีวิวาทะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันแล้วหลายครั้ง แต่ยังไม่ยุติ จนกลายเป็นประเด็นขึ้นมาอีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งมีประเด็นประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้กล่าวถึง ผู้เขียนในฐานะนักประวัติศาสตร์จึงขอเขียนถึงประเด็นนี้โดยเฉพาะ
ความจริงโครงการนี้เคยเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา มีแนวคิดการขุดคลองที่คอคอดกระ สืบเนื่องจากฝรั่งเศสมีแนวคิดจะเคลื่อนเรือรบจากอ่าวไทยไปยังมหาสมุทรอินเดียเพื่อผลทางยุทธศาสตร์โดยหวังว่าจะรักษาสมดุลของกองทัพเรือกับฝ่ายอังกฤษ ซึ่งมีอิทธิพลเหนือพม่าในมหาสมุทรอินเดียและพยายามแผ่อิทธิพลเข้ามาในอุษาคเนย์
การขุดคอคอดกระในสมัยนั้นมีอุปสรรคขัดขวางหลายประการ รวมทั้งอังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจในตอนนั้นก็ไม่ยินดี เพราะกลัวจะกระทบถึงสิงคโปร์และปีนังที่อังกฤษมีประโยชน์อยู่ จึงทำให้ถูกระงับไป
ความจริงถ้าไม่เดินเรือผ่านช่องแคบมะละกาก็ยังมีเส้นทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดียโดยการเดินทางทางบกหลายเส้นทาง มิใช่จะต้องผ่านตรงคอคอดกระเท่านั้น เส้นทางการขนถ่ายสินค้าหรือการเดินทางมีทางตอนบนสุดคือ ไล่มาจากเมืองมะริด กุยบุรี เพชรบุรี แล้วไปออกที่กระบุรี
เส้นทางถัดลงมาคือ เส้นทางชุมพรไปตะกั่วป่า หรือเส้นทางกระบี่ อ่าวบ้านดอน สุราษฎร์ธานี หรือจะเป็นเส้นทางล่างลงมาอีกหน่อยอย่างเส้นทางนครศรีธรรมราช ตรัง และพัทลุง ซึ่งในเวลาต่อมาเส้นทางเหล่านี้ก็ปรับลดระดับลงมากลายเป็นเพียงเส้นทางท้องถิ่นเท่านั้น
กล่าวโดยสรุปแล้วการขนสินค้าข้ามมหาสมุทรนั้นยังมีเส้นทางอยู่ล่างสุด ได้แก่เส้นทางที่เรียกว่า “โพธิ์นารายณ์” เชื่อมโยงระหว่างรัฐไทรบุรีและปัตตานี เป็นเส้นทางที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์
เส้นทางข้ามมหาสมุทรเหล่านี้เองที่เรือสำเภาขนสินค้าขึ้นฝั่งล้วนต้องขนสัมภาระหรือสินค้าบรรทุกไปบนหลังช้าง โดยลัดเลาะผ่านไปตามป่าเขาจนถึงฝั่งมหาสมุทรอีกด้านตามเส้นทางข้างต้น ขนสินค้าจากหลังช้างมาลงบนเรือสำเภาที่ต้องออกไปฝ่าคลื่นลมในมหาสมุทรต่อไป
เส้นทางข้ามมหาสมุทรเส้นล่างสุดนี้น่าสนใจในแง่ของประวัติศาสตร์รัฐไทยโบราณในยุคก่อนหน้าอาณาจักรศรีวิชัยด้วยซ้ำไป เส้นทางสายนี้มีบางหลักฐานเรียกว่า “ช่องแคบโพธิ์นารายณ์”
โดยข้อเท็จจริงนั้นเส้นทางข้ามมหาสมุทรระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกมีมานานแล้ว จึงอาจสะท้อนว่าคนสมัยก่อนมีความเข้าใจตามยุทธศาสตร์ของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ที่เคยเรียกว่า “location and location and location”
ยิ่งสถานการณ์โลกปัจุบันด้วยแล้ว ทุกอย่างเชื่อมโยงกันหมด มีการแข่งขันเต็มไปหมด แม้เราไม่คิดแข่งขันกับใคร แต่เขาก็จะแข่งขันกับเรา
อย่างไรก็ตาม เรื่องคลองไทยแม้รัฐบาลพยายามผลักดันและมีใครต่อใครเชียร์กันอยู่ก็คงไม่ใช่ง่ายนัก ปัญหาที่เห็นชัดเจนคือ ข้อแรก การเลือกแนวที่จะขุดว่าเอาจุดไหน? เพราะไม่ใช่มีเพียงแนว 5A หรือ 9A แต่ที่มีการศึกษากันมาแล้วมีถึง 10 แนว หากเอาแนวล่าสุดของผู้เขียนที่นำเสนอก็ครบโหลพอดี และยังมีอีก 2 แนวที่เริ่มมีคนเชียร์กัน นอกเหนือจากโพธิ์นารายณ์ก็มีแนวตรงกระบี่ไปออกอ่าวบ้านดอนที่สุราษฎร์ธานี
ดูแล้วเรื่องนี้ยังต้องมีวิวาทะกันอีกเยอะครับ!
You must be logged in to post a comment Login