- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
‘โป๊ป’พม่าต้องมีสันติภาพ
การเสด็จเยือนพม่าของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ได้รับความสนใจในวงกว้าง เนื่องจากเป็นช่วงที่พม่าเผชิญวิกฤตชาวโรฮีนจา ทำให้ลุ้นกันว่า ประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิกจะตรัสถึงปัญหาดังกล่าวหรือไม่ และตรัสอย่างไร
คำตอบปรากฏในแถลงการณ์ เมื่อวันอังคาร (28 พ.ย.) โดยโป๊ปฟรานซิสไม่ตรัสถึงชาวโรฮีนจาโดยตรง แต่ทรงแถลงครอบคลุมถึงชนกลุ่มน้อยทุกชาติพันธุ์ในพม่า ซึ่งมีนัยรวมถึงชาวโรฮีนจาด้วย
โป๊ปทรงแถลงหลังพบหารือกับนางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ และผู้นำรัฐบาลพม่า ที่กรุงเนปยีดอ ว่าอนาคตของพม่าต้องมีสันติภาพ ที่มาจากการเคารพเกียรติและสิทธิของสมาชิกทุกกลุ่มในสังคม เคารพชนกลุ่มน้อยและอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์เหล่านั้น เคารพกฎหมาย และหลักประชาธิปไตย ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนทุกกลุ่มมีความเท่าเทียมในการปฏิบัติภารกิจตามกรอบกฎหมาย
ในส่วนของศาสนา โป๊ปตรัสว่า ความแตกต่างทางศาสนา ไม่จำเป็นต้องเป็นบ่อเกิดแห่งความแตกแยก และความไม่ไว้วางใจต่อกัน แต่ควรเป็นพลังนำไปสู่ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน นำไปสู่การให้อภัย ความอดทนอดกลั้น และการสร้างชาติอย่างชาญฉลาด
ประมุขคริสตจักรโรมันคาทอลิกทรงระบุว่า ทรัพย์สมบัติยิ่งใหญ่ที่สุดของพม่าคือประชาชน ซึ่งทุกข์ทรมานมาต่อเนื่อง จากความขัดแย้งและสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนาน ก่อให้เกิดความแตกแยกอย่างลุ่มลึก
สำหรับการสร้างสันติภาพและความปรองดอง โป๊ปทรงชี้ว่า มีแนวทางเดียวที่จะหนุนให้มีความรุดหน้า นั่นคือกระทำโดยการยึดมั่นความยุติธรรม และเคารพสิทธิมนุษยชน
ส่วนศาสนา โป๊ปตรัสว่า สามารถเข้าไปมีบทบาทสำคัญ ในการเยียวยาความบอบช้ำทางจิตใจและอารมณ์ของประชาชนที่ได้รับจากความขัดแย้ง อีกทั้งสามารถช่วยกำจัดต้นตอแห่งความขัดแย้ง และเป็นสะพานเชื่อมประสานให้มีการเจรจาขึ้น
นักสังเกตการณ์มองการแถลงของโป๊ปแตกต่างกัน โดยฟิล โรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการ Human Rights Watch ประจำภูมิภาคเอเชีย ระบุว่าโป๊ปสูญเสียโอกาสที่ไม่ตรัสคำว่า “ชาวโรฮีนจา” ทำให้ชื่อนี้เสี่ยงถูกพม่าใช้กฎหมายยกเลิกอย่างถาวร
ส่วนนิโคไล ลิสโทพาดอฟ เอกอัครทูตรัสเซียประจำพม่า มองว่าเป็นข้อดีที่โป๊ปไม่ตรัสถึงชาวโรฮีนจาโดยตรง ปัญหาอยู่ที่สื่อและกลุ่มสิทธิมนุษยชนบางส่วน ที่ตั้งความหวังไว้สูง
หวังโป๊ปช่วยให้เกิดปาฏิหาริย์ในการแก้ปัญหาชาวโรฮีนจา แต่ปาฏิหาริย์ก็ไม่เกิดขึ้น
You must be logged in to post a comment Login