- เลือกงานให้โดน บริหารคนให้เป็น ตาม“ลัคนาราศี”Posted 4 hours ago
- ต่างศาสนา ต่างชาติพันธุ์ อยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างPosted 4 hours ago
- โลภ•ลวง•หลง เกมพลิกชีวิต รีแบรนด์หรือรีบอร์นPosted 4 hours ago
- กูไม่ใช่ไก่ต้มเว้ย! อย่ามาต้มกูเลย..Posted 4 hours ago
- หยุดความรุนแรง-ลวงโลกPosted 1 day ago
- อ.เบียร์ช่วยวัดสวนแก้วPosted 4 days ago
- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 5 days ago
- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 6 days ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 1 week ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 1 week ago
อารยธรรมครอบงำโครงสร้างส่วนบน / โดย เรืองยศ จันทรคีรี-ณัฐวุธ วัชรกุลดิลก
คอลัมน์ : กรีดกระบี่บนสายธาร
ผู้เขียน : เรืองยศ จันทรคีรี-ณัฐวุธ วัชรกุลดิลก
เราคงได้ยินเป็นประจำเกี่ยวกับคำว่า “โครงสร้างส่วนบน” ที่ครอบงำจิตสำนึกทางการเมืองและวัฒนธรรมของสังคมไทย แต่ไม่เคยมีการกล่าวให้กระจ่างชัดสักทีว่าสภาวะการครอบงำดังกล่าวคืออะไรและอธิบายอย่างเป็นรูปธรรม ผู้เขียนขออธิบายให้กระชับและเข้าใจให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้
บทความนี้ส่วนใหญ่คัดลอกมาจากผลงานของพันตำรวจโทปริญญา โภคทรัพย์ นักวิชาการอิสระที่สนใจค้นคว้าเกี่ยวกับอารยธรรมของโลก ตลอดจนบริบทของประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การค้นคว้าหัวข้อนี้ต้องย้อนหลังถึงสมัยของพุทธกาลครั้งกองทัพกรีกของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยกทัพมาและตกค้างอยู่ที่แคว้นโยนก ซึ่งต่อมาได้ขยายกลายเป็นอาณาจักรแบคเตรีย
เราจึงสรุปได้ว่า ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 4 ถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ 7 คงมีนครที่เรียกว่า “กาปิศะ” ที่ถือเป็นดินแดนเก่าแก่มากที่สุดของพระพุทธรูปศิลปะคันธารราฐ ตรงจุดนี้ยังถือว่ามีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ปาลวะ สันนิษฐานว่าเชื่อมโยงกับคติรามหรือรามาธิบดี ซึ่ง “จิตร ภูมิศักดิ์” พยายามค้นคว้าเพื่อเชื่อมโยงให้เห็นอารยธรรมระหว่างไทย-เขมรและอินเดีย
ราชวงศ์ปาลวะนับเป็นคติการเมืองตามระบอบอารยธรรมของพระเวทย์สายนอกอินเดีย ยังเป็นต้นกำเนิดของราชวงศ์ปาลวะแห่งอินเดียใต้ รวมทั้งพราหมณ์โกณฑัญญะแห่งฟูนัน ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างราชวงศ์ทั้งของเขมรและไทยโบราณ เรื่องเหล่านี้ยังเกี่ยวข้องกับคัมภีร์นาคเสน ซึ่งเป็นคัมภีร์พุทธศาสนาภาษาสันสกฤต ภิกษุจากอินเดียใต้คือ ติปิฏกจุฬาภัยเถระ เป็นผู้แปลออกมาเป็นภาษาไทย
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ. 2367-2394 มีการรื้อฟื้นและศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังอีกครั้ง ทำให้กล่าวได้ว่าอารยธรรมพุทธ-พระเวทย์คงยึดถือเป็นอารยธรรมสากลในแบบพระเวทย์ ซึ่งเริ่มอุบัติขึ้นในเอเชียกลางประมาณช่วงพุทธศตวรรษที่ 4-9
อารยธรรมพุทธ-พระเวทย์จึงนับเป็นอารยธรรมโบราณที่มีอิทธิพลครอบงำสังคมไทยตั้งแต่บัดนั้นจนถึงปัจจุบัน และยังสืบถึงราชวงศ์ไศเลนทร์และราชวงศ์พระร่วงแห่งสุโขทัย
อีกด้านหนึ่งเราอาจกล่าวได้ว่า มีนักปราชญ์และนักรบจาก 3 เผ่าพันธุ์ในสมัยพุทธกาลคือ เผ่าไอโอเนียนซึ่งเป็นผู้สร้างจักรวรรดิเปอร์เซีย เผ่าอินโดไชรัส ที่พวกอารยันเรียกว่าโยนกหรือยวน และอีกเผ่าพันธุ์ได้แก่ ตามองโกล ซึ่งจีนเรียกชาวหวื่อฉีหรือง้วยสี
นี่เป็นการกล่าวถึงรากฐานในอีกด้านหนึ่งของอารยธรรมที่เกี่ยวข้องและครอบงำด้านวัฒนธรรมและจิตสำนึกของสังคมไทยในโครงสร้างชั้นบน ซึ่งยึดถือและเกี่ยวข้องกับความศักดิ์สิทธิ์ต่างๆมาจนถึงปัจจุบันนี้
อารยธรรมพุทธ-พระเวทย์คือความคิดและความเชื่อในแบบฉบับศาสนาพราหมณ์โบราณ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ส่งเรื่องของไสยศาสตร์และโหราศาสตร์ที่งมงายมาก จึงไม่แปลกที่สังคมไทยจะมีจิตสำนึกวนเวียนอยู่กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และไสยศาสตร์ที่งมงายในทุกระดับของปัจเจก
อารยธรรมพุทธ-พระเวทย์แห่งลุ่มน้ำสินธุนี้เองคืออารยธรรมพุทธ-พระเวทย์ซึ่งเคยเป็นอารยธรรมสากลของโลก ที่ต่อมาภายหลังได้ยุบตัวลงกลายเป็นอารยธรรมพุทธ-พระเวทย์แห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา
วัฒนธรรมและจิตสำนึกที่ครอบงำสังคมไทย รวมถึงสถาบันทางการปกครอง ถูกสร้างขึ้นมาด้วยความร่วมมือของชนชั้นปกครองที่เกิดจากไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ และผสมกับกระบวนการต่างๆของความเป็นตัวตน ตลอดจนวิทยาศาสตร์ เพื่อจัดการกับอำนาจที่เข้ามาแทรกแซงภายหลัง โดยเฉพาะหลังยุคการล่าอาณานิคมของตะวันตกที่พยายามยึดครองทรัพยากรทั่วโลก
ดังนั้น ในบรรดาวิทยาการโบราณต่างๆที่เคยปรากฏมาในประวัติศาสตร์ยุคพุทธ-พระเวทย์ จึงยุบตัวกลายเป็นอารยธรรมเอกเทศประจำเผ่าพันธุ์ความเป็นไทยที่เข้าใจยาก และกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร!
ดังนั้น โลกทัศน์และจิตสำนึกความเป็นไทยที่ครอบงำอยู่ในโครงสร้างส่วนบนทางความคิดและวัฒนธรรมความเป็นไทยจึงไม่อาจหลีกหนีสภาวะที่ถูกสร้างให้เป็นภูมิลักษณ์ของความศักดิ์สิทธิ์ได้ การศึกษาประวัติศาสตร์จึงต้องยอมรับว่าด้านหนึ่งคือการศึกษาวาทกรรมเกี่ยวกับความเป็นไทยนั่นเอง
ประวัติศาสตร์จึงเกี่ยวกับวาทกรรมความเป็นชาติ (nationhood) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการต่อสู้แย่งชิงและแข่งขันที่มีมิติของความเป็นมิตรหรือศัตรูกันระหว่างชาติต่างๆ ปฏิเสธไม่ได้ว่างานประวัติศาสตร์ยังเป็นวาทกรรมที่มีการเล่นกับสภาวะของการรับรู้มาตรฐานหรือ normative reception
อาจด้วยเหตุผลนี้เองที่ปราชญ์ทางประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษคือ E.H. Carr (What is History) กล่าวว่า ก่อนที่เราจะศึกษาข้ามโลกหรือข้อเท็จจริงของประวัติศาสตร์ เราจำเป็นต้องศึกษานักประวัติศาสตร์หรือคนเขียนประวัติศาสตร์ก่อน เพราะมีอคติเกิดขึ้นได้เสมอ ทั้งความจงรักภักดี การเข้าข้าง หรือการคลั่งไคล้ใหลหลง เป็นต้น
ข้อคิดของ E.H. Carr ยังสอดคล้องกับ R.G. Collingwood ซึ่งมองว่าไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบและถูกต้องถ่องแท้ไปทั้งหมดในทุกเรื่องราวที่ถ่ายทอดออกมา ด้วยเหตุนี้งานประวัติศาสตร์ในแง่วิชาการจึงต้องมีหลายเวอร์ชั่น ต้องมีประวัติศาสตร์ทางเลือกเกิดขึ้น
เราจึงต้องศึกษาประวัติศาสตร์บนพื้นฐานความเข้าใจวาทกรรมความเป็นชาติด้วย จึงจะทำให้สามารถเข้าใจงานเขียนทางประวัติศาสตร์ได้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด
สรุปแล้วการตรวจสอบทางประวัติศาสตร์กลายเป็นเรื่องจำเป็นและพึงต้องกระทำตามความหมายและปรัชญาดั้งเดิมของคำว่า “history” ในภาษากรีก ซึ่งแปลว่า “การตรวจสอบ” นั่นเอง!
You must be logged in to post a comment Login