- เรื่องยังไม่จบPosted 1 day ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 2 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 3 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 6 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 7 days ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 1 week ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
- บทเรียนพระสายมูPosted 2 weeks ago
วิถีอำนาจขั้วที่ 3 สังคมไทย / โดย เรืองยศ จันทรคีรี-ณัฐวุธ วัชรกุลดิลก
คอลัมน์ : กรีดกระบี่บนสายธาร
ผู้เขียน : เรืองยศ จันทรคีรี-ณัฐวุธ วัชรกุลดิลก
เราจะเรียก Challenge and Respond ของ Arnold Toynbee ว่าเป็นสมมุติฐานหรือทฤษฎีก็ตาม ถ้าจับเอามาวิเคราะห์หาคำตอบถึงทิศทางและอนาคตทางการเมืองหรือแนวโน้มอำนาจในอนาคตของการเมืองในสังคมไทยก็นับว่าน่าสนใจมากทีเดียว เพราะเมื่อเอามาเป็นสมมุติฐานหรือทฤษฎีก็จะได้คำตอบที่ค่อนข้างแตกต่างออกไปชนิดเหนือความคาดหมายทางวิชาการหรือการเมืองอย่างที่เราเคยชิน
จากการใช้ Challenge and Respond ของ Arnold Toynbee อธิบายถึงการเปลี่ยนผ่านหรือการเปลี่ยนแปลงของสังคมอำนาจไทย ทำให้ต้องยอมรับว่าถึงอย่างไรสังคมนี้จะต้องมีผู้นำซึ่งเป็นกลุ่มท้าทายกลุ่มน้อยเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานทางสังคมคือ Folkways หรือวิถีประชา
ประการต่อมาได้แก่ Morals หรือจารีตประเพณี และ Laws ซึ่งความหมายต้องมองอย่างรัดกุม เพราะนอกจากหมายถึงระเบียบกฎหมายต่างๆ อาจรวมถึงบริบทของระบบการปกครองด้วย ซึ่งทำความเข้าใจได้ไม่ยาก เพราะมันคือการเผชิญหน้าของระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยกับระบบที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยนั่นเอง
ตรงนี้หาคำตอบไม่ยากเกี่ยวกับการเผชิญหน้าท้าทายระหว่างพลังของประชาธิปไตยและที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่บางคนอาจบอกว่าเป็นการเผชิญหน้าระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการ หากถือเคร่งครัดตามทฤษฎี Challenge and Respond ก็ต้องกล่าวว่านั่นคือการเผชิญหน้ากันระหว่างระบอบประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งกับการปกครองในรูปแบบเผด็จการ
การมองอนาคตของสังคมไทยคงปฏิเสธไม่ได้ว่าจะต้องผูกอยู่กับทฤษฎี Challenge and Respond ซึ่งเป็นการมองการเปลี่ยนผ่านของประวัติศาสตร์ ในแนวความคิดของ Arnold Toynbee มีความเชื่อมั่นว่าประวัติศาสตร์หรือสังคมจะเปลี่ยนผ่านไปได้ย่อมต้องอาศัยการเปลี่ยนผ่านทางวัฒนธรรม ซึ่งหมายถึงความท้าทายที่จะเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานทางสังคม
สิ่งดังกล่าวจะบังเกิดขึ้นได้ย่อมต้องอาศัยทฤษฎี Challenge and Respond ซึ่ง Arnold Toynbee สร้างขึ้นมาภายใต้การค้นคว้าและศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของอารยธรรมกลุ่มต่างๆในโลกนี้รวม 23 อารยธรรมหลัก แต่ผู้ชำนาญการบางคนก็ระบุถึง 26 อารยธรรม
การเปลี่ยนแปลงตามทฤษฎีย่อมต้องมีกลุ่มสร้างสรรค์แนวความคิดใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มส่วนน้อยที่เป็นผู้นำการท้าทายเกิดขึ้นมา ถือเป็นสภาวะปรกติที่จะต้องเกิดขึ้นในสังคมนั้นๆ
สังคมที่มีการท้าทายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจึงถือให้เป็นสังคมตามปรกติ ตรงกันข้ามกับสังคมผิดปรกติในทรรศนะของ Arnold Toynbee ซึ่งปราศจากการท้าทายเพื่อสร้างสรรค์แนวความคิดใหม่ขึ้นมาสำหรับชักนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโดยสังคมที่ผิดปรกติ ซึ่งเห็นชัดเจน 2 ประการคือ 1.จะเป็นสังคมแบบ heirschy หรือสังคมแบบเรียงลำดับขั้น ประการที่ 2 จะผิดปรกติตรงที่มีความละเอียดหยุมหยิมของบรรดาข้อบังคับและการใช้ระเบียบกฎหมายต่างๆต่อสมาชิกในสังคม
หากมองตามทรรศนะและทฤษฎีของ Arnold Toynbee สังคมจะมีการท้าทายของกลุ่มอำนาจ 2 ฝ่าย ได้แก่ 1.กลุ่มส่วนใหญ่ หรือ Majority group กับกลุ่มส่วนน้อย หรือ Minority group ซึ่งเป็นกลุ่มที่ท้าทายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยสังคมจะมีการจัดเรียงหรือ compose แนวความคิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นสภาวะที่เหมาะสมในการ Challenge and Respond ไม่มีสภาวะแวดล้อมที่จะเหมาะสมชี้ชัดหรือกำหนดว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยดีที่สุด แต่ถือว่าระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือระบบการปกครองที่มีความเหมาะสมกับจริตของมวลมนุษย์มากที่สุด เขากล่าวว่า ความต้องการที่แท้จริงนั้น คนเรามีการเรียกร้องความต้องการสิ่งง่ายๆเพียงไม่กี่ประการ ได้แก่ ความต้องการอาหาร ความต้องการอิสระ เสรีภาพ ความต้องการความหวังของการมีชีวิตอยู่ เป็นต้น
ระบอบหรือรัฐบาลที่ไม่เป็นที่ยอมรับและถูกต่อต้านจึงมักตอบสนองความต้องการของมนุษย์ไม่ได้ และการตอบสนองสิ่งนี้มีเพียงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นที่สามารถให้การตอบสนองได้
อย่างไรก็ตาม มีโอกาสเป็นไปได้เช่นกันที่ทั้ง Minority และ Majority ไม่มีความสามารถพอที่จะสร้างความคิดใหม่ที่สร้างสรรค์หรือ creative ขึ้นมาใหม่ แปลว่ามันจะปรากฏกลุ่มที่ท้าทายขึ้นมาได้จากกลุ่มซึ่งเรียกว่า exogenous หมายถึงกลุ่มอื่นจากภายนอกนั่นเอง
ตามทฤษฎีอำนาจของ Arnold Toynbee ไม่ใช่จะมีเพียงกลุ่มอำนาจของ 2 ฝ่ายเท่านั้น หากแต่ยังมีอำนาจขั้วที่ 3 ซึ่งเป็นอำนาจภายนอกบังเกิดขึ้นได้ สิ่งที่เกิดเป็นผลติดตามมาก็จะส่งผลต่อความวิบัติเสียหายของบ้านเมืองเท่านั้นเอง นี่คือการวิเคราะห์ของปราชญ์ Arnold Toynbee ไม่ใช่ความคิดเห็นของผมนะครับ
เขียนเรื่องนี้บังเอิญเห็น พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประกาศ 2 เรื่องคือ เรื่องแรกอยากกลับคืนโรงเรียนนายร้อยเพื่อจะบอกทหารว่าความมั่นคงไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุด แต่มีความสำคัญหลายเรื่องเกี่ยวกับคนไทยและชาติบ้านเมือง อีกสิ่งท่านบอกคือ อยากตั้งกองกำลังเพื่อช่วยเหลือแนะนำคนไทยในเรื่องการทำมาหากิน
เมื่อเอาแนวคิดของ พล.อ.ชวลิตเข้าไปผสมกับมุมมองแบบของ Arnold Toynbee ผมก็หวังว่ากลุ่มอำนาจที่ 3 หรือ exogenous คงจะไม่เกิดขึ้นในสังคมไทย…ระวังครับ!!
You must be logged in to post a comment Login