- เลือกงานให้โดน บริหารคนให้เป็น ตาม“ลัคนาราศี”Posted 3 hours ago
- ต่างศาสนา ต่างชาติพันธุ์ อยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างPosted 3 hours ago
- โลภ•ลวง•หลง เกมพลิกชีวิต รีแบรนด์หรือรีบอร์นPosted 3 hours ago
- กูไม่ใช่ไก่ต้มเว้ย! อย่ามาต้มกูเลย..Posted 3 hours ago
- หยุดความรุนแรง-ลวงโลกPosted 1 day ago
- อ.เบียร์ช่วยวัดสวนแก้วPosted 4 days ago
- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 5 days ago
- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 6 days ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 1 week ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 1 week ago
‘สื่อ’และ‘สาร’ยุค Social Media / โดย เรืองยศ จันทรคีรี-ณัฐวุธ วัชรกุลดิลก
คอลัมน์ : กรีดกระบี่บนสายธาร
ผู้เขียน : เรืองยศ จันทรคีรี-ณัฐวุธ วัชรกุลดิลก
โลกปัจจุบันภายใต้อิทธิพลของคอมพิวเตอร์ เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคการทำสงครามภาพลักษณ์ นอกจากนี้แล้วโลกปัจจุบันยังมีลักษณะที่ซ้อนทับกันอยู่ระหว่างโลกในคลื่นลูกที่ 2 กับโลกคลื่นลูกที่ 3 มันจึงมีลักษณะบางอย่างที่เข้าใจยากอยู่เหมือนกัน มีบางคนบอกว่าโลกปัจจุบันทำความเข้าใจได้ยากขึ้น เรื่องจริงของโลกปัจจุบันยังมีลักษณะที่หมุนวน
สถาบันทางอำนาจต่างๆเริ่มมีสภาวะ Purposeless คือดำรงอยู่อย่างไร้จุดหมาย หรือหากไม่ไร้จุดหมายก็บ่งบอกอะไรให้ชัดเจนได้ยากนอกจากระบุว่ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นี่คือทรรศนะในข้อเขียนของ Marshall McLuhan ในหนังสือ Understanding Media และ Our Global Village
นอกจากนี้เขายังเห็นว่าในสภาวะที่โลกมีแนวโน้มเป็นเช่นนี้ อีกสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับมนุษย์คือ สติสัมปชัญญะ มีเพียงปัญญาอย่างเดียวไม่พอแน่นอน แม้เทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสลับซับซ้อนมากขึ้นแค่ไหน หากสติสัมปชัญญะก็ต้องกระทำหน้าที่คอยควบคุมและเป็นหางเสือให้แก่สังคมกันต่อไป
ผลงานเขียนทั้ง 2 เล่มของ Marshall ดังกล่าว ถือเป็นงานเขียนที่มีอิทธิพลและเป็นหนังสือครูที่ต้องอ่าน เพื่อเป็นผู้รู้แจ้งแทงตลอดต่อสภาวะที่กำลังจะเกิดขึ้นมาในโลกนี้!
นี่คือข้อมูลอีกส่วนหนึ่งที่ยืนยันว่าโลกนี้นับวันจะกลายเป็นมายาทับซ้อนขึ้นเรื่อยๆจนยากแก่การทำความเข้าใจได้ ซึ่งสภาวะแวดล้อมของการมี war of icon หรือสงครามภาพลักษณ์ก็นับว่ายากแก่การทำความเข้าใจแล้ว ยิ่งมาเสริมด้วย social media ที่เชื่อมต่อโลก ยิ่งก่อความทับซ้อนและสับสนจนต้องใช้สติสัมปชัญญะจริงๆที่จะเดินฝ่าข้ามไปในโลกแห่งมายานี้ได้
มีวรรคทองของ Marshall ซึ่งกล่าวว่า “สื่อกลาง” แท้จริงแล้วคือ “ตัวสาร” ตัวสื่อคือตัวสารตามความในหนังสือ “The Medium is the Massage” นั่นคือตัวของสื่อหรือ media เริ่มมีบทบาทมากขึ้น คือตัวสื่อมีอิทธิพลทางความคิดต่อผู้คนมากขึ้น โดยตัวสื่อได้กลายเป็นสารโดยตัวของมันเองไปด้วย โดยเฉพาะสื่อในยุคดิจิตอลที่กลายเป็นสารโดยตัวของมันเองและเป็นไปอย่างรวดเร็วแพร่หลาย
กรณีของ The Medium is the Massage ได้สะท้อนอีกจุดแข็งของสื่อสมัยใหม่ ได้แก่ ความเร็วของสื่อ ซึ่งสามารถสร้างปัญหาต่างๆให้เกิดขึ้นตามมาได้เหมือนกัน จึงไม่แปลกที่สื่อสมัยใหม่จะมีการกดไลค์และกดแชร์กันอย่างรวดเร็ว โดยอาจไม่มีเวลาวินิจฉัยในเนื้อหาด้วยซ้ำ
การไลค์และแชร์กลายเป็นสาระหลักในสถานการณ์ war of icon ของยุคสมัยปัจจุบัน เหตุนี้จึงกลายเป็นเหตุผลที่ว่าสติและสัมปชัญญะมีบทบาทจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยสำหรับโลกของสื่อยุคใหม่ รวมถึงในอนาคตใกล้เคียง เพื่อให้ผู้บริโภคได้ตรวจสอบหรือถอดความหมายของสารให้กระจ่างแจ้งเสียก่อนที่จะกดไลค์หรือแชร์ออกไป นี่คือความจำเป็นของสติสัมปชัญญะในความหมายของการรู้ตัวและรู้แจ้งแทงตลอด
เรื่องของ Medium หรือสื่อคือสารของ Marshall หมายถึงว่าสื่อนั้นได้มีอิทธิพลมากขึ้นกว่าการเป็นเพียงสะพานหรือตัวกลางในการส่งสารเท่านั้น
เรื่องของ The Medium is the Massage คือเรื่องเดียวกับ user is generated ซึ่งสื่อจะถูกกำหนดสารมาจากผู้บริโภค เป็นวิธีสื่อสารการตลาดในแบบของ McLuhan เช่น “ส่งโค้กส่งยิ้ม” นี่คือแนวความคิดในภูมิทัศน์สำหรับโลกสมัยใหม่ของ social media
The Medium is the Massage หรือสื่อคือสาร ที่ถือเป็นวรรคทองในการเขียนหนังสือของ Marshall นั้น หมายความว่าสื่อในยุคสมัยใหม่ภายใต้อิทธิพลของคอมพิวเตอร์มีอิทธิพลกับผู้คนมากกว่าการเป็นตัวกลางหรือสะพานในการขนส่งข้อมูลข่าวสารสู่ผู้บริโภค สื่อจึงมีความหมายถึงสิ่งที่อยู่ระหว่างหรือ between เปรียบดังสะพานในการขนส่งข่าวสารข้อมูล
social media จึงมีบทบาทและความสำคัญมากในการลำเลียงข้อมูลในยุคโลกกว้างเพียงปลายนิ้ว ซึ่งมีบทบาทของอินเทอร์เน็ตครอบงำสังคมอยู่เป็นพื้นฐาน ดังนั้น การไลค์และแชร์จึงมีบทบาทอย่างสำคัญในสถานการณ์ที่สื่อคือสาร
จากทฤษฎี The Medium is the Massage ของ Marshall จึงน่าสนใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้สามารถเป็นสื่อได้ทั้งหมด
The Medium is the Massage จึงกลายเป็นแนวคิดในเชิงปรัชญาไปในที่สุด ทฤษฎีที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้นับว่าเป็นสื่อทั้งหมดจึงน่าสนใจมากทีเดียว!
จากความหมายในเชิงปรัชญาของการตลาดตรงนี้ นาฬิกาจึงสามารถเป็นสื่อได้เช่นกันในความหมายเชิงการตลาดด้านการเมืองในขณะนี้ของประเทศไทย จึงกลายเป็นสื่อที่ส่งสารออกมาถึงความโปร่งใสและการตรวจสอบ ซึ่งคงไม่แตกต่างกันกับแหวนเพชรบนนิ้วมือของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่กลายเป็นสื่อที่ส่งสารออกมาในทำนองเดียวกัน
ตามทฤษฎีสื่อสารทางการตลาดของ Marshall นั้น หัวหน้า คสช. กลายเป็นสื่อและสารไปพร้อมๆกันได้ ตลอดจนโรดแม็พการเลือกตั้งก็สามารถกลายเป็นทั้งสื่อและสารพร้อมกันไปในตัวได้เช่นเดียวกัน คือเป็นสื่อที่ส่งสารออกไปแล้วว่าคงมีการยืดการเลือกตั้งหรือยืดอำนาจออกไป
พร้อมกันก็ได้ส่งสารตามอย่างที่ Arnold Toynbee เคยกล่าวว่า ในที่สุดประเทศต่างๆคงเลี่ยงการปกครองในแบบประชาธิปไตยไม่ได้ เพียงแต่ว่าประเทศนั้นๆจะมีวุฒิภาวะของประชาธิปไตยอยู่ในคุณภาพใดเท่านั้นเอง ซึ่งของไทยอาจเป็นในแบบไทยพิมพ์ก็ได้ครับ?
You must be logged in to post a comment Login