- เรื่องยังไม่จบPosted 1 day ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 2 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 3 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 6 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 7 days ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 1 week ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
- บทเรียนพระสายมูPosted 2 weeks ago
No Taxation Without Representation
คอลัมน์ : โดนไปบ่นไป “No Taxation Without Representation” โดย อนุดิษฐ์ นาครทรรพ (โลกวันนี้วันสุข ฉบับที่ 655 วันที่ 9-16 มีนาคม 2561)
“No Taxation Without Representation” เป็นสโลแกนที่เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่ออาณานิคมของอังกฤษในอเมริกา 13 แห่งเกิดความคับข้องใจการออกกฎหมายหลายฉบับจากรัฐสภาของอังกฤษที่ออกมาสร้างผลกระทบให้กับความเป็นอยู่ของประชาชนในอาณานิคมไม่ว่าจะเป็นกฎหมายน้ำตาล (Sugar Act) กฎหมายแสตมป์ (Stamp Act) เป็นต้น
ทั้งๆที่ทุกอาณานิคมยอมเสียภาษีให้กับประเทศแม่อย่างถูกต้อง แต่เนื้อหาของกฎหมายกลับออกมาละเมิดสิทธิมนุษยชนและปฏิเสธฐานะการเป็นชาวอังกฤษของผู้ที่อพยพมาอาศัยในอาณานิคม
เมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 คสช.ยึดอำนาจด้วยวลี “เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน” แต่วันนี้เวลาที่ใช้ตามสัญญากลับนานมากขึ้นเหมือนอยู่ในเรือกลางทะเลที่ยังไม่เห็นฝั่ง แต่ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ การเห็นพฤติกรรมที่น่ารังเกียจโกหกพกลมเอาตัวรอดไปวันๆเพื่ออยู่ในอำนาจให้นานที่สุด กับอีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกร้องให้มีการคืนอำนาจแก่ประชาชนอย่างตรงไปตรงมาและขอให้ดำเนินการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด
ดังนั้น จึงมีการเรียกร้องให้มีตัวแทนของอาณานิคมเพื่อไปทำหน้าที่ตัวแทนในการออกกฎหมายในรัฐสภาเพื่อที่จะกำหนดรายละเอียดที่ถูกต้องและเป็นธรรมให้กับชาวอาณานิคมต่อไปแต่สุดท้ายเรื่องนี้ก็ถูกปฏิเสธในที่สุด
จากการที่ประเทศอังกฤษปฏิเสธไม่ยอมรับการมีตัวแทนของอาณานิคมในสภานี่เอง จึงทำให้อาณานิคมของอังกฤษในอเมริกาไม่ยอมจ่ายภาษีให้กับสหราชอาณาจักรอีกต่อไปทำให้อังกฤษต้องส่งกำลังเข้ามาสู้รบเพื่อยึดอำนาจและนำไปสู่การเกิดสงครามกลางเมืองและการประกาศเอกราชของประเทศสหรัฐอเมริกาในที่สุด
ผมนำเรื่องนี้มาถ่ายทอดให้ฟัง เพราะเชื่อว่าการที่ประชาชนปฏิเสธการจ่ายภาษีเพราะไม่มีตัวแทนของตัวเองในรัฐสภาเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ทั้งนี้เพราะรัฐสภาที่ไม่ได้มาจากประชาชนย่อมไม่มีแรงจูงใจในการทำงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
ดังนั้น การออกกฎหมายต่างๆจึงมีแต่การเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องและเป็นไปเพื่อผู้ที่มีอำนาจเท่านั้น ไม่เว้นแม้แต่ประเทศมหาอำนาจอย่างอังกฤษที่เคยได้รับบทเรียนราคาแพงมาแล้วในอดีต
ย้อนกลับมาที่ประเทศไทย แม้ว่าการรัฐประหารโดย “ท่านผู้นำสูงสุด” จะไม่ใช่การยึดอำนาจครั้งแรก แต่การปฏิวัติครั้งนี้อาจเป็น “ครั้งแรก” ที่คสช. พร้อมกับลิ่วล้อแต่งตั้งและบริวารทั้งหลายอยู่ในตำแหน่งซึ่งทำหน้าที่แทนประชาชน“นานสุดๆ”
ล่วงเลยมาเกือบ 4 ปีแล้วที่คนไทย“หมดสิทธิ์” ส่งผ่านความคิด ความต้องการที่แท้จริง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม การปราศจากตัวแทนในฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การบริหารงบประมาณแผ่นดินที่ผ่านมาไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
โครงการต่างๆที่รัฐบาลทหารขับเคลื่อนโดยใช้หน่วยงานราชการเป็นผู้ปฏิบัติ กลายเป็นคำถามตัวโตว่า โครงการเยอะแยะมากมายเหล่านี้เป็นโครงการที่ประชาชนอยากได้หรือคสช.อยากได้กันแน่!
แต่ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ มาตรฐานความโปร่งใสที่สังคมยอมรับได้ยาก เนื่องจากขาดกระบวนการตรวจสอบที่ชัดเจนถูกต้องและเป็นธรรมโดยกลไกที่มาจากประชาชนเจ้าของภาษีโดยตรง
คนจำนวนไม่น้อยอาจหลงลืมไปว่าผู้ที่เป็น “สปอนเซอร์” ใหญ่ให้กับผู้บริหารประเทศทุกรัฐบาลก็คือ “คนไทย” ทุกคนที่ต้องจ่ายภาษีปีละไม่ใช่น้อย ค่าใช้จ่ายใกล้ตัวที่สุดที่เราต้อง “ส่งเสีย” ให้กับรัฐบาลทุกวันก็คือ“ภาษีมูลค่าเพิ่ม” นอกนั้นยังมีภาษีโน่นนี่ยุบยับเต็มไปหมด
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจและยอมรับไม่ได้ที่รัฐบาลออกมาจัดการกับประชาชนทุกหมู่เหล่าที่ออกมาเรียกร้องด้วยความสงบเพื่อให้มีการเลือกตั้ง เพราะการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้นกับผู้สนับสนุนงบประมาณ โดยตรงแบบนี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย ถ้ารัฐบาลมีจิตสำนึกว่าประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและเป็นเจ้าของงบประมาณที่แท้จริง
ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงไม่คาดหวังว่า “ท่านผู้นำสูงสุด” และบริวารจะเข้าอกเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของคนไทย เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาเราก็ถูกฝ่ายเผด็จการ “ทวงบุญคุณ” ทุกวันอยู่แล้ว
คำอธิบายในการเข้าสู่อำนาจของรัฐบาลทหารก็คือการ “เสียสละ” เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆของประเทศด้วยความจำเป็น ถ้า “ท่านผู้นำสูงสุด” และบริวาร“ไม่เสียสละ” ป่านนี้ประเทศก็คงวุ่นวายกันไม่เลิกและประเทศไทยก็คงไม่สงบเรียบร้อยมาจนถึงทุกวันนี้
แม้ว่าข้อเท็จจริงของทุกฝ่ายจะตรงกันแต่ความเชื่อของทั้ง 2 ฝ่ายกลับตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง
เมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 คสช.ยึดอำนาจด้วยวลี “เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน” แต่วันนี้เวลาที่ใช้ตามสัญญากลับนานมากขึ้นเหมือนอยู่ในเรือกลางทะเลที่ยังไม่เห็นฝั่ง
แต่ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ การเห็นพฤติกรรมที่น่ารังเกียจโกหกพกลมเอาตัวรอดไปวันๆเพื่ออยู่ในอำนาจให้นานที่สุด
กับอีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกร้องให้มีการคืนอำนาจแก่ประชาชนอย่างตรงไปตรงมาและขอให้ดำเนินการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด
ผมแค่คิดต่อไปเล่นๆว่าในอนาคตอันใกล้นี้หากคสช.ยัง “ยืนยัน” ที่จะอยู่ในอำนาจต่อไปเรื่อยๆโดยไม่ยอมให้มีการเลือกตั้งและประชาชน “ตระหนักรู้” ว่าตัวเองโดนหลอกมาตลอดและจะไม่ได้อำนาจอธิปไตยของตัวเองคืนมาอย่างแน่นอน
เมื่อนั้นหากทุกคนยืนยันหลักการ “No Taxation Without Representation” ขึ้นมาอะไรจะเกิดขึ้น!
ผมแค่คิดเล่นๆเท่านั้นเองครับ
You must be logged in to post a comment Login